ใน
Memoir
ฉบับวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๕
ได้กล่าวถึงการเกิดและเสถียรภาพของ
carbocation
คราวนี้ลองมาดูกันว่า
carbocation
นั้นสามารถเกิดปฏิกิริยาใดได้บ้าง
carbocation
ที่เกิดขึ้นนั้นอาจเกิดปฏิกิริยาได้
๕ รูปแบบคือ Charge
isomerization, Skeletal isomerization, Hydride transfer, Alkyl
transfer และ
Carbon-carbon
bond formation and breaking
ปฏิกิริยาทั้ง
๕ ในย่อหน้าข้างต้นนั้นเป็นปฏิกิริยาที่มีโอกาสที่จะเกิด
แต่ไม่ได้หมายความว่าแต่ละ
carbocation
มีโอกาสที่จะเกิดปฏิกิริยาดังกล่าวเท่า
ๆ กัน
เราลองมาดูกันทีละปฏิกิริยา
๑.
Charge isomerisation
ปฏิกิริยานี้เกิดขึ้นโดยการแลกเปลี่ยนตำแหน่งระหว่างอะตอม
H
ของอะตอม
C
ที่อยู่เคียงข้างกับอะตอม
C
ที่มีประจุบวก
(หรืออาจเรียกว่า
hydrogen
shift) เช่นในกรณีของ
n-heptane
ประจุบวกที่เกิดขึ้นสามารถเคลื่อนไปมาตามสายโซ่คาร์บอนได้ดังแสดงในรูปที่
๑ ข้างล่าง
รูปที่
๑ Charge
isomerisation ของ
carbenium
ion ที่เกิดจาก
n-heptane
และ
enthalpy
of formation (∆Hf)
(ข้อมูล
∆Hf
นำมาจากตารางที่
2.3
ในหน้า18
ของหนังสือ)
จากค่า
∆Hf
จะเห็นว่าถ้าเริ่มแรกเกิด
carbenium
ion ที่ปลายโซ่คาร์บอน
และ carbenium
ion นั้นอยู่อย่างอิสระ
โอกาสที่ประจุบวกที่เกิดขึ้นจะไปอยู่ที่อะตอม
C
ตัวที่
2-4
จะมีมากกว่าที่จะอยู่ที่อะตอม
C
ตัวที่
1
(ตัวที่อยู่ที่ปลายโซ่)
ทั้งนี้เป็นเพราะเมื่อประจุบวกเคลื่อนตัวไปอยู่บริเวณตอนกลางสายโซ่
(โครงสร้าง
(B)
(C) และ
(D))
หมู่อัลคิลที่อยู่ทั้งสองข้างของอะตอม
C
ที่มีประจุบวกจะจ่ายอิเล็กตรอนให้กับอะตอม
C
ที่มีประจุบวก
ทำให้ carbenium
ion มีเสถียรภาพมากขึ้น
แต่ถ้าหากเริ่มแรกเกิดcarbenium
ion ที่ปลายโซ่คาร์บอน
และ carbenium
ion นั้นยึดเกาะติดอยู่กับพื้นผิว
เช่นในกรณีของการเติมโปรตอนให้กับ
α-olefin
(olefin ที่มีพันธะ
C=C
อยู่ที่ปลายโซ่
อีกชื่อคือ 1-olefin)
ด้วย
BrÖnsted
acid site หรือการดึงหมู่
-OH
ออกจาก
primary
alcoholด้วย
Lewis
acid site ไอออนลบ
(anion)
ที่อยู่บนพื้นผิวก็สามารถดึงให้ประจุบวกนั้นอยู่ที่อะตอม
C
ที่ปลายโซ่ได้
ทำให้เกิดปฏิกิริยาที่ปลายสายโซ่คาร์บอนได้
(รูปที่
๒)
รูปที่
๒ การเกิด carbenium
ion จาก
(ซ้าย)
α-olefin
บน
BrÖnsted
acid site และ
(ขวา)
primary alcohol บน
Lewis
acid site ของพื้นผิวของแข็ง
อะตอม O
นั้นมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวอยู่
จึงสามารถจ่ายอิเล็กตรอนนี้เพื่อเข้าไปดึงประจุ
+
ให้อยู่ที่ปลายสายโซ่คาร์บอนได้
๒.
Skeletal isomerisation
ปฏิกิริยานี้เป็นปฏิกิริยาที่สายโซ่คาร์บอนเกิดการเรียงตัวใหม่
ทำให้ได้โมเลกุลที่มีกิ่งก้านมากขึ้น
(หรือเกิด
methyl
shift) อัตราการเกิด
methyl
shift นี้ต่ำกว่าอัตราการเกิด
hydrogen
shift ในข้อ
๑ อยู่ประมาณ 1000
เท่า
ปฏิกิริยานี้เป็นปฏิกิริยาสำคัญในการผลิต
branched
alkane จาก
n-alkane
รูปที่
๓ Skeletal
isomerisation ของ
n-octane
๓.
Hydride transfer
เป็นปฏิกิริยาที่
carbenium
ion โมเลกุลหนึ่ง
ไปดึง H
ออกจากอีกโมเลกุลหนึ่งในรูปของ
H-
(hydride) ทำให้ตัวมันเองหมดความเป็นไอออน
และโมเลกุลที่ถูกดึงหมู่
H-
ออกกลายเป็น
carbenium
ion แทน
ปฏิกิริยานี้แทนได้ด้วยสมการ
R1-H
+ R2+ -->
R1+ + R2-H
ได้มีการแสดงให้เห็นว่าปฏิกิริยานี้เกิดขึ้นเร็วมาก
และอัตราการดึง secondary
hydrogen ด้วย
tertiary
carbenium ion นั้นมีค่าประมาณได้ว่าพอ
ๆ กันสำหรับทุก n-alkane
ปฏิกิริยา
tertiary-tertiary
hydride transfer นั้นเกิดได้เร็วกว่าปฏิกิริยา
tertiary-secondary
hydride transfer ซึ่งก็เกิดได้เร็วกว่าปฏิกิริยา
secondary-primary
hydride transfer (ดูรูปที่
๔)
tertiary-tertiary
hydride transfer
tertiary-secondary
hydride transfer
secondary-primary
hydride transfer
รูปที่
๔ ตัวอย่างปฏิกิริยา hydride
transfer
๔.
Alkyl transfer
ปฏิกิริยานี้แทนได้ด้วยสมการ
R1+
+ R2-R3 -->
R1-R2 + R3+
คาดว่าปฏิกิริยานี้มีส่วนเกี่ยวข้องในปฏิกิริยา
disproportionation
เช่นปฏิกิริยาระหว่าง
toluene
2 โมเลกุล
ที่มีการย้ายหมู่ methyl
-CH3 จาก
toluene
โมเลกุลหนึ่งไปให้กับ
toluene
อีกโมเลกุลหนึ่ง
ทำให้โมเลกุล toluene
ที่สูญเสียหมู่
-CH3
กลายเป็น
benzene
ส่วนโมเลกุล
toluene
ที่รับหมู่
-CH3
ไปจะกลายเป็น
xylene
ถ้าเป็นการส่งผ่านหมู่
alkyl
ระหว่างสองโมเลกุลที่แตกต่างกัน
จะเรียกว่าเป็นปฏิกิริยา
transalkylation
เช่นปฏิกิริยาระหว่าง
toluene
กับ
trimethyl
benzene ที่ทำให้ได้
xylene
สองโมเลกุล
(รูปที่
๕)
รูปที่
๕ (บน)
ปฏิกิริยา
disproportionation
ระหว่าง
toluene
สองโมเลกุล
(ล่าง)
ปฏิกิริยา
transalkylation
ระหว่าง
tolueneและ
trimethylbenzene
๕.
Carbon-carbon bond formation
and breaking
ปฏิกิริยาการตัดพันธะ
C-C
เป็นปฏิกิริยาสำคัญของกระบวนการ
catalytic
cracking
ซึ่งเป็นกระบวนการทำให้ไฮโดรคาร์บอนโมเลกุลใหญ่แตกออกเป็นโมเลกุลเล็กลง
ส่วนปฏิกิริยาการสร้างพันธะ
C-C
เป็นปฏิกิริยาสำคัญในกระบวนการ
alkylation
และ
polymerisation
บางชนิด
(พวก
ionic
polymerisation)
แม้ว่าตอนนี้หัวข้องานจะยังไม่ลงตัว
ถ้าโครงการไม่ล้มไปก่อนก็เชื่อว่าคงต้องใช้พื้นฐานในเรื่องนี้แน่นอน
หมายเหตุ
ปฏิกิริยาทั้ง
๕ ปฏิกิริยาที่กล่าวถึงในบันทึกนี้อิงมาจากบทที่
๒ เรื่อง Fundamentals
of Carbocation Behavior ในหนังสือ
Catalytic
Cracking : Catalysts, Chemistry, and Kinetics โดย
Bohdan
W. Wojciechowski และ
Avelino
Corma สำนักพิมพ์
Marcel
Dekker, Inc. ปีค.ศ.
๑๙๘๖
(พ.ศ.
๒๕๒๙)
ส่วนรูปต่าง
ๆ นั้นวาดขึ้นมาใหม่ทั้งหมดเพื่อให้มองเห็นภาพได้ง่ายขึ้น