ในการสร้าง
calibration
curve สารที่มีปริมาณน้อย
ๆ สำหรับเครื่อง GC
นั้นเราใช้วิธีการเจือจางให้สารนั้นมีความเข้มข้นต่ำลงด้วยการใช้ตัวทำละลายที่เหมาะสม
โดยสารที่ต้องการวิเคราะห์และตัวทำละลายนั้นไม่ควรที่จะเกิดพีคซ้อนทับกัน
วิธีการหนึ่งที่เราใช้ก็คือเลือกใช้ตัวทำละลายที่มีจุดเดือดแตกต่างไปจากสารที่เราต้องการวัด
โดยถ้าสารที่ต้องการวัดนั้นมีจุดเดือดสูง
เราก็มักจะเลือกตัวทำละลายที่มีจุดเดือดต่ำกว่า
ในทางกลับกันถ้าสารที่ต้องการวัดนั้นมีจุดเดือดต่ำ
เราก็จะเลือกตัวทำละลายที่มีจุดเดือดสูงแทน
และถ้า
detector
ที่ใช้ในการวิเคราะห์นั้นไม่ตอบสนองต่อตัวทำละลายที่ใช้ก็จะเป็นการดีมาก
ด้วยเหตุนี้ในกรณีที่เราต้องการฉีดสารอินทรีย์ในปริมาณต่ำและตรวจวัดด้วย
FID
(Flame ionisation detector - FID) และถ้าสารนั้นละลายน้ำได้
เราก็จะใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย
ในกรณีที่สารที่ต้องการวัดนั้นเป็นไฮโดรคาร์บอน
เราก็จะเลือกใช้ตัวทำละลายที่มีจุดเดือดแตกต่างไปจากไฮโดรคาร์บอนที่เราต้องการวัด
ตัวอย่างเช่นสมมุติว่าเราต้องการฉีด
toluene
ในปริมาณน้อย
ๆ (จุดเดือด
111ºC)
เราก็อาจเลือกใช้แอลกอฮอล์เช่นethanol
(จุดเดือด
78ºC)
หรือ
isopropanol
(จุดเดือด
82.5ºC)
หรือ
hexane
(จุดเดือด
69ºC)
เป็นตัวทำละลาย
ซึ่งสารเหล่านี้มีจุดเดือดที่ต่ำกว่าและพีคของสารเหล่านี้จะออกมาก่อนพีค
toluene
แต่ในกรณีที่เราต้องการเจือจางที่ความเข้มข้นต่ำมากนั้น
(เช่นสัก
100
เท่า)
เราอาจพบว่าพีคของตัวทำละลายนั้นมีขนาดใหญ่มากเมื่อเทียบกับพีคของสารที่เราต้องการวัด
สิ่งที่เกิดขึ้นคือพีคของตัวทำละลายจะกว้างและพีคของสารที่ต้องการวัดนั้นจะซ้อนอยู่บนส่วนหางของพีคตัวทำละลาย
นี่คือสิ่งที่นิสิตซีเนียร์โปรเจคประสบอยู่ในช่วงที่ผ่านมาในการเจือจาง
toluene
10 เท่าด้วย
isopropanol
(รูปที่
๑)
รูปที่
๑ พีคสารละลาย toluene
เข้มข้น
10%
(vol/vol) ใน
propanol
อุณหภูมิคอลัมนเริ่มต้น
80ºC
เพิ่มขึ้นด้วยอัตรา
4ºC/min
Detector ชนิด
FID
เนื่องจากไฮโดรคาร์บอนนั้นละลายน้ำได้น้อยมาก
แถมค่าการละลายยังเปลี่ยนไปตามอุณหภูมิ
ดังนั้นการละลายไฮโดรคาร์บอนโดยตรงลงในน้ำจึงมีปัญหา
วิธีการที่เหมาะสมกว่าคือการใช้ตัวทำละลายที่ละลายได้ทั้งในน้ำและไฮโดรคาร์บอนเป็นตัวประสานเฟส(๑)
ดังเช่นในกรณีของโทลูอีนที่กล่าวมานี้เราอาจใช้
isopropanol
หรือ
ethanol
เป็นตัวประสานเพื่อช่วยให้
toluene
ละลายเข้าไปในเฟสน้ำได้
เช่นในงานที่เรากำลังจะทำต่อไปนั้น
ในการเจือจางนั้นเราจะเริ่มจากการละลาย
toluene
ใน
isopropanol
(หรือ
ethanol)
ก่อน
เช่นเราอาจนำเอา toluene
มา
0.5
ml(๒)
ใส่ลงใน
volumetric
flask ขนาด
100
ml จากนั้นเติม
isopropanol
ลงไปสักประมาณ
5
ml เขย่าให้
toluene
และ
isopropanol
ละลายเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน
จากนั้นค่อยเติมน้ำลงไปเป็นระยะ
(อย่าเติมทีเดียวจนเต็ม)
แล้วเขย่า
flask
เพื่อให้สารละลายใน
flask
นั้นละลายเป็นเนื้อเดียวกัน
ถ้าพบว่ามีการแยกชั้นเกิดขึ้นก็แสดงว่าเราเติม
isopropanol
น้อยเกินไป
ก็ให้เติม isopropanol
เพิ่มลงไปเพิ่มทีละน้อยจนกว่าสารละลายกลายเป็นเนื้อเดียวกัน
จากนั้นก็ค่อยเติมน้ำลงไปปรับปริมาตรจนได้
100
ml ซึ่งก็จะทำให้เราได้สารละลาย
toluene
เจือจาง
100
เท่า
ถ้าเราต้องการสารละลาย
toluene
เจือจางลงไปอีกเราก็เอาสารละลาย
toluene
ที่เจือจางเอาไว้แล้ว
100
เท่านี้มาเจือจางต่อ
เช่นอาจปิเปตเอาสารละลาย
toluene
เจือจาง
100
เท่ามา
5
ml ใส่ลงใน
volumetric
flask ขนาด
250
ml จากนั้นจึงเติมน้ำกลั่นลงไปปรับปริมาตรให้เป็น
250
ml เราก็จะได้สารละลาย
toluene
เจือจาง
5000
เท่า
(เราอาจจำเป็นต้องทำสารละลายเข้มข้นขนาดนี้เพราะเรากำลังจะทำการทดลองวัดค่าการละลายของ
toluene
ในน้ำ)
อีกวิธีการหนึ่งที่เราเคยใช้ก็คือใช้การปรับค่า
pH
ของน้ำด้วยกรดหรือเบสที่เหมาะสม
ตอนที่เราเตรียมสารละลายphenol
ในน้ำที่ความเข้มข้นต่ำ
ๆ เพื่อสร้าง calibration
curve ของ
GC
ก็ใช้วิธีนี้
แม้ว่าที่อุณหภูมิห้อง
phenol
จะละลายน้ำได้
แต่ก็ละลายได้ยาก แต่เนื่องจากหมู่
-OH
ของ
phenol
มีคุณสมบัติที่เป็นกรด
เราจึงใช้วิธีปรับน้ำให้กลายเป็นเบสก่อนด้วยการเติม
NH4OH
ลงไปเพื่อช่วยดึง
phenol
เข้าไปในเฟสน้ำ
เหตุผลที่เราเลือกใช้ NH4OH
ในการปรับค่า
pH
ก็เพราะมันไม่มีไอออน
(เช่น
Na+
ในกรณีที่ใช้
NaOH)
เข้าไปตกค้างในคอลัมน์
GC
เพราะมันสามารถสลายตัวออกมาเป็นแก๊สได้หมด
หมายเหตุ
(๑)
โดยหลักการแล้ว
สารที่ใช้ในการประสานเฟสจะเป็นโมเลกุลที่มีโครงสร้างส่วนที่มีขั้วและไม่มีขั้วอยู่ในโมเลกุลเดียวกัน
(๒)
ถ้าเกรงว่าจะมีปัญหาในการตวง
toluene
ปริมาตรน้อย
ๆ ก็ให้ใช้วิธีการชั่งน้ำหนัก
toluene
แทน
แล้วค่อยคำนวณปรับความเข้มข้นเป็น
mol/l)