ในอดีตนั้น
สถานีต้นทางรถไฟฝั่งธนบุรีที่เห็นปรากฏในแผนที่เก่าของกรุงเทพ
(เอาเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่สองก็แล้วกัน
วันหลังจะเอาภาพมาให้ดู)
มีอยู่ด้วยกัน
๓ สถานีคือ
(๑)
สถานีธนบุรี
ซึ่งอยู่ตรงปากคลองบางกอกน้อย
ฝั่งตรงข้ามมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
แต่ปัจจุบันโดยทางโรงพยาบาลศิริราชนำพื้นที่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำไปใช้ในกิจการของโรงพยาบาล
สถานีนี้เป็นต้นทางของรถไฟสายใต้บางขบวน
โดยจะไปบรรจบกับทางรถไฟที่มาจากสะพานพระราม
๖ ที่ชุมทางตลิ่งชัน
(๒)
สถานีคลองสาน
อยู่ใกล้แม่น้ำเจ้าพระยาตรงคลองสาน
เดิมเป็นต้นทางรถไฟสายแม่กลอง
ซึ่งเริ่มจากคลองสานไปยังมหาชัย
(แม่น้ำท่าจีน)
จ.
สมุทรสาคร
จากนั้นต้องข้ามแม่น้ำท่าจีนไปยังฝั่งตรงข้าม
เพื่อขึ้นรถไฟต่อไปยังสถานีแม่กลอง
(แม่น้ำแม่กลอง)
จ.
สมุทรสงคราม
ปัจจุบันสถานีนี้ถูกรื้อออกไป
ทำให้ปัจจุบันเส้นทางรถไฟสายนี้เริ่มต้นที่สถานีวงเวียนใหญ่
(๓)
สถานีต้นทางรถไฟเล็กสายบางบัวทอง
(หรือรถไฟสายเจ้าคุณวรพงษ์)
สถานีนี้ชื่ออะไรผมก็ไม่รู้
รู้แต่ว่ามันมีต้นทางอยู่ที่บริเวณวัดบวรมงคล
(เดิมชื่อวัดลิงขบ)
เป็นเส้นทางรถไฟเล็กไป
อ.
บางบัวทอง
จ.
ปทุมธานี
เส้นทางรถไฟสายนี้ถูกรื้อทิ้งไปช่วงสงครามโลกครั้งที่สองไม่นาน
จุดเริ่มต้นของเส้นทางรถไฟสายนี้ปัจจุบันคือซอยจรัญสนิทวงศ์
๔๖ (ซอยพระยาวรพงษ์)
ไปยังซอยฝั่งตรงข้ามคือจรัญสนิทวงศ์
๕๗ ไปตัดกับทางรถไฟสายใต้ที่ชุมทางบางบำหรุ
(สถานีนี้ยุคสมัยหนึ่งได้เป็นชุมทาง
เพราะเป็นจุดที่มีทางแยกสำหรับรถไฟขนถ่านหินไปส่งยังโรงจักรพระนครเหนือ)
และไปตามแนวถนนเทอดพระเกียรติและบางกรวย-ไทรน้อยในปัจจุบัน
ในปีพ.ศ.
๒๕๑๑
ทางการรถไฟแห่งประเทศไทยมีโครงการที่จะเชื่อมทางรถไฟสายแม่กลองกับทางรถไฟสายใต้เข้าด้วยกัน
เพื่อให้การขนส่งสินค้าและผู้โดยสารเป็นไปโดยสะดวกยิ่งขึ้น
ทางรัฐบาลโดยจอมพล ถนอม
กิติขจร นายกรัฐมนตรี
ในสมัยนั้นจึงได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน
ในท้องที่อำเภอตลิ่งชัน
อำเภอภาษีเจริญ อำเภอหนองแขม
และอำเภอบางขุนเทียน
จังหวัดธนบุรี พ.ศ.
๒๕๑๑
โดยลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ
หน้า ๑ เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๑๐๙
ราชกิจจานุเบกษา ๒๒ พฤศจิกายน
๒๕๑๑
โดยแนวทางรถไฟที่วางไว้ในแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาเริ่มจากทางรถไฟสายใต้ที่สถานีชุมทางตลิ่งชัน
ไปบรรจบทางรถไฟสายแม่กลองที่สถานีรางโพและที่หยุดรถบางบอน
พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวกำหนดอายุไว้
๕ ปี ดังนั้นปัจจุบันจึงถือว่าหมดสภาพบังคับใช้ไปนานแล้ว
สุดท้าย
การสร้างทางรถไฟสายดังกล่าวก็ไม่ได้เกิดขึ้น
แต่จะมีการเวนคืนที่ดินเกิดขึ้นเปล่า
อันนี้ผมไม่รู้
แต่สงสัยอยู่เหมือนกันว่าอาจจะเกิด
เพราะเมื่อเทียบดูกับแผนที่กรุงเทพในปัจจุบันแล้วจะเห็นว่าแนวทางเวนคืนเพื่อทำทางรถไฟที่วางแผนไว้ในปีพ.ศ.
๒๕๑๑
นั้น ปัจจุบันคือบริเวณแนวถนนกาญจนาภิเษก
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวงแหวนตะวันตกนั่นเอง
รูปที่
๑
แผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน
เพื่อสร้างทางรถไฟเชื่อมต่อสายใต้กับสายแม่กลอง
แต่สุดท้ายเส้นทางรถไฟสายนี้ก็ไม่ได้สร้าง
กลายเป็นถนนกาญจนาภิเษกไป
เนื่องจากแผนที่มันยาวกว่าหน้ากระดาษ
A4
ก็เลยต้องขอตัดออกเป็น
๒ ส่วน ส่วนต่อด้านทิศใต้นั้นอยู่ในรูปที่
๒
รูปที่
๒ ช่วงต่อจากรูปที่ ๑
(ผมเป็น memoir นี้มันมีพิมพ์ตก ก็เลยพิมพ์แก้ไขนิดหน่อย ปรากฏว่ามันย้่ายที่จาก ๒๙ สิงหาคมมาเป็นวันนี้เลย)
(ผมเป็น memoir นี้มันมีพิมพ์ตก ก็เลยพิมพ์แก้ไขนิดหน่อย ปรากฏว่ามันย้่ายที่จาก ๒๙ สิงหาคมมาเป็นวันนี้เลย)