พักหลัง
ๆ นี้เห็นมีรูปแบบการส่งต่อข้อความแบบหนึ่งเกิดขึ้น
ก็คือการบอกว่าสิ่งที่ใครต่อใครเชื่อกันอยู่นั้นมันผิด
ที่ถูกต้องเป็นอย่างนี้
ประเภทที่เรียกว่าพอใครสักคนไปเจอเรื่องอะไรบางอย่างที่ไม่เหมือนกับที่เคยได้ยินมาหรือที่เคยเชื่อกันอยู่
ก็จะรีบแชร์ต่อว่าเป็นข้อมูลใหม่
โดยไม่ได้มีการตรวจสอบความถูกต้องของสิ่งที่ได้เห็นนั้นว่ามันถูกต้องหรือไม่
ถ้าเป็นการศึกษาประวัติศาสตร์ก็ยิ่งยากเข้าไปอีก
เพราะนอกจากต้องอ่านตัวผู้บันทึกแล้ว
ก็ยังต้องพิจารณากันอีกว่า
สิ่งที่บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรนั้นคือความจริงทั้งหมดที่ผู้บันทึกนั้นต้องการส่งต่อ
หรือมีการซ่อนข้อเท็จจริงอันอื่นที่ไม่อาจกล่าวออกมาโดยตรงได้
หรือในบางครั้งข้อมูล ณ
เวลาที่ทำการรวบรวมนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปจากสภาพความเป็นจริง
ณ เวลาที่ตีพิมพ์เอกสารฉบับดังกล่าว
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในกรณีหลังนี้คือแผนที่ต่าง
ๆ
หน่วยทำแผนที่หลักในอดีตคงหนีไม่พ้นหน่วยแผนที่ของทางทหาร
ในส่วนภูมิภาคอินโดจีนนี้ยังสามารถหาแผนที่ทหารที่จัดทำโดยกองทัพสหรัฐได้ทางอินเทอร์เน็ต
ซึ่งเป็นแผนที่ที่จัดทำเมื่อสหรัฐเริ่มเข้ามามีบทบาทในสงครามเวียดนาม
ประเทศไทยในฐานะที่ตั้งฐานทัพหลายแห่งของสหรัฐก็เลยได้รับการแผนที่ไปด้วย
แผนที่ชุดหนึ่งที่มีการจัดทำในช่วงเวลาดังกล่าวเห็นจะเป็นชุดที่มีรหัส
L509
ที่มีทั้งฉบับที่กองทัพสหรัฐจัดพิมพ์
และกรมแผนที่ทหารของไทยจัดพิมพ์ซ้ำโดยมีการให้ชื่อสถานที่เป็นภาษาไทยกำกับ
และยังมีการปรับปรุงข้อมูลบางจุดให้ตรงกับความเป็นจริง
(คงในฐานะเจ้าของพื้นที่)
โดยเฉพาะสิ่งก่อสร้างที่สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้รวดเร็วและรื้อถอนออกไปได้รวดเร็ว
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือเส้นทางรถไฟ
ดังนั้นใน Memoir
ฉบับนี้ถือเสียว่าเป็นการรวบรวมแผนที่ที่พบจากแหล่งต่าง
ๆ
ส่วนที่ว่าข้อมูลของฉบับไหนจะถูกต้องมากกว่ากันนั้นคงต้องให้ผู้อ่านพิจารณาเพิ่มเติมเอาเอง
เพราะความเห็นของผมก็ใช่ว่าจะต้องถูกต้องเสมอไป
ผมทำเพียงแค่ตั้งประเด็นคำถามเท่านั้นเอง
รูปที่
๑ แผนที่ทหารรหัส L509
จัดทำโดยกองทัพสหรัฐ
ฉบับจัดพิมพ์ครั้งแรก
(เข้าใจว่าเป็นดังนี้)
บอกว่ามีการใช้ข้อมูลตั้งแต่ปีค.ศ.
๑๙๕๒
(พ.ศ.
๒๔๙๕)
และนำมาประมวลผลในปีค.ศ.
๑๙๕๘
(พ.ศ.
๒๕๐๑)
ตัวอย่างแรกคือแผนที่ทหารชุด
L509
ที่จัดพิมพ์โดยกองทัพสหรัฐ
(รูปที่
๑ และ ๒)
บริเวณจังหวัดสระบุรี
ที่บอกว่าใช้ข้อมูลที่การเก็บรวบรวมเอาไว้ตั้งแต่ปีค.ศ.
๑๙๕๒
(พ.ศ.
๒๔๙๕)
และนำมาประมวลผลในปีค.ศ.
๑๙๕๘
(พ.ศ.
๒๕๐๑)
ในแผนที่นี้ยังปรากฏเส้นทางรถไฟเล็กสายพระพุทธบาท
(จากบ้านท่าเรือไปยังพระพุทธบาท)
โดยในเครื่องหมายในแผนที่ระบุว่าเป็นรางกว้างของ
meter
gauge (เส้นสีดำมีขีดขวาง)
แต่ในประวัติศาสตร์ที่มีบันทึกไว้นั้นเส้นทางสายนี้มีความกว้างของรางแคบกว่า
๑ เมตร
(อันที่จริงยุคนั้นมันมีข้อกำหนดด้วยว่าไม่ต้องการให้เอกชนสร้างทางรถไฟที่มีขนาดความกว้างเดียวกันกับของรถไฟหลวงด้วย)
รูปที่
๒ แผนที่ ทหารรหัส L509
จัดทำโดยกองทัพสหรัฐ
ฉบับจัดพิมพ์ครั้งแรก (รูปที่
๑)
บริเวณจังหวัดสระบุรี
ระบุว่ายังมีเส้นทางรถไฟสายพระพุทธบาท
(แนวเส้นประสีแดง)
ที่มีขนาดรางกว้าง
๑ เมตร
แผนที่ในรูปที่
๓ และ ๔ ก็เป็นแผนที่ชุด L509
เช่นกัน
แต่จัดพิมพ์ใหม่โดยกรมแผนที่ทหารของไทย
ในแผนที่ฉบับบริเวณจังหวัดสระบุรี
(รูปที่
๔)
ปรากฏว่าเส้นทางรถไฟสายพระพุทธบาทหายไปแล้ว
มีถนนปรากฏขึ้นแทน
อันนี้ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า
การอ้างอิงข้อมูลของอดีตนั้น
แม้ว่ามองดูเผิน ๆ
แล้วมันน่าจะเหมือนกัน
(เพราะใช้ข้อมูลชุดเดียวกันแต่เป็นการพิมพ์ซ้ำ)
แต่พอลงรายละเอียดไปยังผู้จัดพิมพ์แล้วกลับพบว่ามีความแตกต่างกันในบางจุด
นั่นอาจเป็นเพราะว่าผู้ที่จัดพิมพ์ใหม่
(คือกรมแผนที่ทหาร)
มีข้อมูลท้องถิ่นที่ถูกต้องมากกว่า
ก็เลยทำการปรับแก้ข้อมูลเดิมในบางจุดให้ตรงกับความเป็นจริง
กรณีของรถไฟเล็กลากไม้สายตะวันออก
(ศรีราชา)
ที่เคยนำมาแสดงให้ดูใน
Memoir
ฉบับเมื่อวันพฤหัสบดีที่
๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๑ ก็เป็นแบบเดียวกัน
(รูปที่
๓ และ ๔ ใน Memoir
ฉบับนั้น)
รูปที่
๓ แผนที่ทหารรหัส L509
จัดพิมพ์ใหม่โดยกรมแผนที่ทหารของไทย
(เป็นครั้งแรก)
รูปที่
๔ แผนที่ทหารรหัส L509
บริเวณจังหวัดสระบุรีที่จัดพิมพ์ใหม่โดยกรมแผนที่ทหารของไทย
(รูปที่
๓)
ในแผนที่นี้ไม่ปรากฏเส้นทางรถไฟสายพระพุทธบาทแล้ว
แต่ปรากฏเป็นถนนแทน
เส้นทางรถไฟย่อยอีกเส้นหนึ่งที่ปรากฏอยู่บริเวณเดียวกันคือเส้นทางรถไฟสายบ่อดินขาวที่
อ.บ้านหมอ
(Ban
Mo)
เส้นทางรถไฟอีกเส้นหนึ่งที่พบว่าข้อมูลที่ปรากฏในแผนที่ต่าง
ๆ มีความขัดแย้งก็คือสาย
หัวหวาย-ท่าตะโก
ที่จังหวัดนครสวรรค์ (รูปที่
๕-๑๐)
เดิมเส้นทางรถไฟสายนี้เป็นเส้นทางรถไฟเล็กขนฟืน
(ดู
Memoir
ปีที่
๖ ฉบับที่ ๗๓๕ วันศุกร์ที่
๒๔ มกราคม ๒๕๕๗ เรื่อง
"รถไฟสายหัวหวาย-ท่าตะโกนครสวรรค์ (ก่อนจะเลือนหายไปจากความทรงจำ ตอนที่ ๕๕)")
ที่ดูเหมือนว่ามีความพยายามที่จะปรับปรุงให้กลายเป็นรางขนาดควากว้าง
๑ เมตร แต่สุดท้ายโครงการก็ถูกยกเลิกไปและรางก็ถูกรื้อทิ้ง
รูปที่
๕ และ ๖ เป็นแผนที่ฉบับเดียวกัน
(แยกส่วนมาขยาย)
ตัวแผนที่ระบุว่าเป็น
"แผนที่ยุทธการร่วม
(ของหน่วยทางอากาศ)"
ส่วนแผนที่ในรูปที่
๗ นั้นต่อเนื่องกับแผนที่ในรูปที่
๕ และ ๖ แต่ดูเหมือนว่าจะมีการจัดทำขึ้นภายหลังประมาณ
๑๐ ปี และไม่ได้มีการระบุว่าเป็นแผนที่สำหรับ
"หน่วยทางอากาศ"
แต่กลับบอกว่าสำหรับ
"กิจการพลเรือน"
แทน
รูปที่
๕ เส้นทางรถไฟสาย หัวหวาย-ท่าตะโก
จังหวัดนครสวรรค์
คือแนวเส้นประสีแดงในกรอบสี่เหลี่ยมสีแดงด้านบน
แผนที่ชุดนี้นำมาจาก
https://911gfx.nexus.net/mapnd4703.html
มีการระบุว่าเป็น
"แผนที่ยุทธการร่วม
(ของหน่วยทางอากาศ)"
ข้อมูลภูมิประเทศมีการระบุว่าประมวลผลในเดือนสิงหาคม
ค.ศ.
๑๙๗๔
(พ.ศ.
๒๕๑๗)
และมีตราประทับเป็นภาษาไทยว่า
"ข่าวสารเกี่ยวกับการบินถูกต้องถึง
23
JANURAY 1976" (พ.ศ.
๒๕๑๙)
รูปที่
๖ แผนที่ฉบับเดียวกับรูปที่
๕ แต่เป็นภาพขยายช่วงตอนบน
แนวเส้นทางรถไฟสายนี้จะทอดไปทางตะวันออกจนตกขอบด้านขวาของรูปนี้
ก็จะวกกลับมาทางตะวันตกเพื่อกลับเข้ามายังท่าตะโกใหม่
ในแผนที่ระบุว่าเส้นทางในช่วงแรกจากหัวหวายนั้นก่อสร้างเสร็จแล้ว
(เห็นได้จากแสดงด้วยเส้นทึบ)
ส่วนเส้นทางในช่วงตอนกลางไปจนถึงท่าตะโกนั้นอยู่ระหว่างการก่อสร้าง
(เห็นได้จากการแสดงด้วยเส้นประ)
ในแผนที่นี้
หมายเลขเส้นทางหลวงที่ปรากฏระบุว่าอิงจากแผนที่ทางหลวงปีค.ศ.
๑๙๗๒
(พ.ศ.
๒๕๑๕)
รูปที่
๗ แผนที่ชุดเดียวกันกับรูปที่
๕ และ ๖ แสดงส่วนที่ตกขอบด้านขวาของรูปที่
๖ โดยมีการระบุว่าเส้นทางอยู่ระหว่างการก่อสร้าง
(นำมาจาก
https://911gfx.nexus.net/mapnd4704.html)
มีการระบุเอาไว้ว่า
"จัดทำโดยกรมแผนที่ทหาร
กองบัญชาการทหารสูงสุด
เพื่อใช้ในกิจการพลเรือน
รวบรวมในปีพ.ศ.
2526 จากข้อมูลล่าสุดที่มีอยู่"
อันที่จริงหน้าเว็บหลักที่นำแผนที่เหล่านี้มา
ดูเหมือนว่าจะใช้แผนที่ชุดเดียวกันแต่มีการจัดทำต่างเวลากัน
(มีการปรับปรุง)
ทำให้ข้อมูลระหว่างแผนที่นั้นไม่ต่อเนื่องกัน
ตัวอย่างหนึ่งที่ผมพบจากหน้าเว็บนี้ก็คือแผนที่บริเวณจังหวัดชลบุรีที่ยังปรากฏว่ามีเส้นทางรถไฟเล็กลากไม้
(ศรีราชา)
แต่ไม่ปรากฏเส้นทางรถไฟที่แยกจากฉะเชิงเทราไปยังสัตหีบ
แต่แผนที่ต่อเนื่องช่วงสัตหีบระยองนั้นกลับปรากฏว่ามีเส้นทางรถไฟสร้างเสร็จเรียบร้อยไปจนถึงท่าเรือน้ำลึกสัตหีบแล้ว
ส่วนแผนที่ในรูปที่
๘ นั้นเป็นชุดที่มีการระบุว่าเป็น
"TACTICAL
PILOTAGE CHART"
ซึ่งคงเน้นไปที่ความถูกต้องของขอบเขตการควบคุมการจราจรทางอากาศ
ดังนั้นจึงอาจไม่ให้ความสำคัญกับสิ่งก่อสร้างที่ไม่ได้เป็นจุดเด่นขนาดใหญ่บนพื้นดิน
(เช่นแนวทางรถไฟย่อยที่ไม่ใช่เส้นทางหลัก)
รูปที่
๘ แผนที่ TACTICAL
PILOTAGE CHART TPC K9-B (นำมาจาก
http://legacy.lib.utexas.edu/maps/tpc/txu-pclmaps-oclc-22834566_k-9b.jpg)
ภาพขยายส่วนบริเวณจังหวัดนครสวรรค์
ในแผนที่นี้ปรากฏแนวเส้นทางรถไฟจากหัวหวายออกไป
แต่ไปไม่ถึงท่าตะโก
อนึ่งดูเหมือนว่าแผนที่ชุดนี้จะไปที่เน้นความถูกต้องของข้อมูลการเดินอากาศมากกว่าสิ่งก่อสร้างที่ปรากฏจริงบนพื้นผิว
รูปที่
๙ เป็นรูปที่พิมพ์เผยแพร่ในหนังสือ
"แผนที่
๗๑ จังหวัดของประเทศไทย"
เรียบเรียงโดย
เจษฎา โลหะอุ่นจิต พิมพ์ที่
เอเซียการพิมพ์ ๕๓๗-๗
ถนนสันติภาพ วงเวียน ๒๒ กรกฎา
พระนคร โทร ๒๓๐๑๙ นายบุญศักดิ์
ปิยะธนาพงษ์ ผู้พิมพ์โฆษณา
พ.ศ.
๒๕๐๘
ในแผนที่ฉบับนี้ระบุเอาไว้ว่าเส้นทางรถไฟสายหัวหวาย-ท่าตะโก
กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง
และดูเหมือนแนวทางที่ลากไว้นั้นจะเป็นแนวทางคร่าว
ๆ (คือแทบจะลากตรงเชื่อมสองจุด)
รูปที่
๙ แผนที่จังหวัดนครสวรรค์จากหนังสือ
แผนที่ ๗๑ จังหวัดของประเทศไทย
เรียบเรียงโดย เจษฎา โลหะอุ่นจิต
พิมพ์ที่ เอเซียการพิมพ์
๕๓๗-๗
ถนนสันติภาพ วงเวียน ๒๒ กรกฎา
พระนคร โทร ๒๓๐๑๙ นายบุญศักดิ์
ปิยะธนาพงษ์ ผู้พิมพ์โฆษณา
พ.ศ.
๒๕๐๘
ในแผนที่ฉบับนี้บอกว่าเส้นทางรถไฟสายหัวหวาย-ท่าตะโก
(แนวเส้นประสีแดง)
อยู่ระหว่างการก่อสร้าง
นั่นแสดงว่าเอกสารที่จัดทำเผยแพร่ในเวลาเดียวกัน
อาจใช้ข้อมูลที่มีความเก่า-ใหม่แตกต่างกันได้
ดังนั้นการดูเพียงแค่เวลาที่เอกสารนั้นออกเผยแพร่
จึงไม่เพียงพอที่จะยืนยันได้ว่าข้อมูลที่เห็นนั้นตรงกับความเป็นจริงในขณะนั้น
ส่วนรูปที่
๑๐ นั้นถ่ายมาจาก
"แผนที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดข้างเคียง"
(เป็นแผนที่สำหรับติดผนัง)
ที่จัดทำโดยศูนย์แผนที่พรานนกวิทยา
ที่ติดไว้ที่ผนังห้องทำงานผม
(ตั้งแต่ปีพ.ศ.
๒๕๔๐)
แผนที่ฉบับนี้ผมซื้อมาจากงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ
แล้วก็นำมาติดไว้ที่ผนังห้องทำงาน
พอลองสังเกตดูก็พบว่ามีการระบุว่ามีเส้นทางรถไฟแยกจากหัวหวายไปยังท่าตะโก
ข้อมูลในแผนที่ฉบับนี้ปรากฏว่ามีเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์แล้ว
แผนที่ประเทศไทยอีกฉบับหนึ่ง
(ไม่ได้นำรูปมาแสดง)
จัดทำโดยศูนย์แผนที่พรานนกวิทยาเช่นกัน
และซื้อมาพร้อมกับแผนที่ฉบับในรูปที่ ๑๐ (และคิดว่าน่าจะจัดพิมพ์ในปีเดียวกันด้วย)
กลับไม่ปรากฏแนวเส้นทางรถไฟจากหัวหวายไปยังท่าตะโก
ทั้ง ๆ ที่ข้อมูลในแผนที่ฉบับนี้น่าจะเก่ากว่าอีก
เพราะว่ายังไม่มีเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ปรากฏในแผนที่
รูปที่
๑๐ นำมาจาก
"แผนที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดข้างเคียง"
(เป็นแผนที่สำหรับติดผนัง)
จัดทำโดยศูนย์แผนที่พรานนกวิทยา
แผนที่นี้มีการระบุว่ามีเส้นทางรถไฟแยกจากหัวหวายไปยังท่าตะโก
รูปที่
๑๑ เป็นแผนที่เส้นทางรถไฟขนอ้อยเข้าโรงงานน้ำตาลที่
อ.เกาะคา
จังหวัดลำปาง ที่มีปรากฏใน
"แผนที่ยุทธการร่วม
(ของหน่วยทางอากาศ)"
(รูปที่
๑๐)
แผนที่นี้ระบุว่าข้อมูลภูมิประเทศทำการประมวลผลในปีพ.ศ.
๒๕๑๖
แต่ข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับการบินถูกต้องถึง
๒๔ ตุลาคม ๒๕๑๘ นั่นแสดงว่าแผนที่ประเภทนี้
เวลาปรับปรุงความถูกต้องจะเน้นไปที่วัตถุประสงค์การใช้งาน
(คือเกี่ยวกับขอบเขตการควบคุมการจราจรทางอากาศ)
เป็นหลัก
ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยต่าง
ๆ
ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการควบคุมการจราจรทางอากาศคงไม่ได้รับการปรับแก้ไขให้ถูกต้องบ่อยนัก
Memoir
ฉบับนี้คงเป็นฉบับปิดท้ายปีพ.ศ.
๒๕๖๑
ซึ่งถ้าหากไม่มีอะไรพิเศษก็คงจะออกฉบับต่อไปหลังปีใหม่เลย
ท้ายสุดนี้ก็ขอให้ผู้ที่ติดตามอ่านหรือบังเอิญแวะผ่านเข้ามาเห็น
มีความสุข สดชื่น สมหวังในสิ่งที่ดี
ในปีหน้าก็แล้วกันครับ
สวัสดีปีใหม่ครับ :)
:) :)
รูปที่
๑๑ "แผนที่ยุทธการร่วม
(ของหน่วยทางอากาศ)"
(นำมาจาก
https://911gfx.nexus.net/mapne4707.html)
บริเวณจังหวัดลำปาง
มีตราประทับเป็นภาษาไทยว่า
"ข่าวสารเกี่ยวกับการบินถูกต้องถึง
24
OCTOBER 1975" (พ.ศ.
๒๕๑๘)
ข้อมูลภูมิประเทศในแผนที่มีการระบุว่าทำการประมวลในเดือนกันยายน
ค.ศ.
๑๙๗๓
(พ.ศ.
๒๕๑๖)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น