ในส่วนคำนำของหนังสือ
"บันทึกการเดินทางสู่ลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน
ประเทศสยาม"
ที่นายเฮอร์เบิร์ท
วาริงตัน สมิท (Herbert
Warington Smyth) เขียนบันทึกไว้ในปีพ.ศ.
๒๔๓๕
ที่กรมศิลปากรจัดพิมพ์เผยแพร่นั้น
ให้ประวัติของนายสมิทเอาไว้ว่า
เป็นนักธรณีวิทยาชาวอังกฤษที่ได้รับการว่าจ้างจากรัฐบาลสยามให้เข้ามารับราชการในกรมราชโลหกิจและภูมิวิทยา
โดยรับหน้าที่เป็นผู้ช่วยเจ้ากรม
(คือนายวอลเตอร์
เดอ มุลเลอร์ (W.
De Muller) ชาวเยอรมัน)
ตั้งแต่พ.ศ.
๒๔๓๔
และภายหลังได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้ากรมต่อจากนายมุลเลอร์ระหว่างปีพ.ศ.
๒๔๓๘
-
๒๔๓๙
รูปที่
๑ บันทึกของ Herbert
Warington Smyth
ที่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยและจัดพิมพ์โดยกรมศิลปากรที่ผมมีอยู่
เล่มซ้าย "บันทึกการเดินทางสู่แม่น้ำโขงตอนบน
ประเทศสยาม (Notes
of a journey on the upper Mekong, Siam)" พิมพ์เผยแพร่เมื่อปีพ.ศ.
๒๕๔๔
เล่มกลาง "ห้าปีในสยาม
เล่ม ๑ (Five
years in siam vol. 1)" พิมพ์เผยแพร่เมื่อปีพ.ศ.
๒๕๔๔
และเล่มขวา "ห้าปีในสยาม
เล่ม ๒ (Five
years in siam vol. 2)" พิมพ์เผยแพร่เมื่อปีพ.ศ.
๒๕๕๙
นายสมิทเป็นชาวต่างชาติผู้หนึ่งที่มีโอกาสได้เดินทางไปแบบที่อาจเรียกได้ว่าเกือบทั่วสยาม
(ในบันทีกของเขาขาดก็แต่ดินแดนทางภาคตะวันตก)
หนังสือ
"Five
years in Siam"
ของเขาไม่ได้บอกเล่าแต่เรื่องทางธรณีวิทยาเพียงด้านเดียว
แต่ยังประกอบไปด้วยนานาสาระที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์บ้านเมืองและชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านตามท้องถิ่นต่าง
ๆ ที่เขาได้เดินทางผ่านไป
นอกจากนี้ด้วยความที่เขามีความสามารถในการวาดภาพ
ภาพเขียนของเขาจึงอาจถือได้ว่าเป็นการบันทึกสิ่งต่าง
ๆ ที่เขาไปพบเห็น ไม่ว่าจะเป็น
บุคคล สิ่งของ สถานที่
หรือสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ
แม้ว่าในยุคของเขานั้นเริ่มมีการถ่ายภาพแล้วก็ตาม
แต่ถ้าต้องแบกอุปกรณ์ถ่ายภาพติดตัวตลอดการเดินทางที่กินระยะเวลานานและไม่ได้เต็มไปด้วยความสะดวกสบายตลอดเส้นทาง
ก็คงไม่ใช่เรื่องที่สะดวกนัก
แต่ถึงกระนั้นภาพวาดของเขาก็ได้ช่วยให้เราได้เห็นภาพสิ่งต่าง
ๆ ที่อยู่ภายนอกพระนครในยุคสมัยนั้น
ที่ชาวต่างฃาติส่วนใหญ่ยังคงพำนักพักอาศัยอยู่ในเขตพระนครเป็นหลัก
รูปที่
๒ ภาพอาศรมฤๅษีที่ศรีราชาที่ปรากฏในหน้า
๑๙๐ ของหนังสือ "ห้าปีในสยาม
เล่ม ๒"
ในบันทึกของนายสมิทไม่ได้กล่าวไว้แน่ชัดว่าการเดินทางไปยังจันทบุรีและตราดนั้นเริ่มเมื่อใด
แค่คงหลังจากที่ได้กลับมาถึงกรุงเทพในปีพ.ศ.
๒๔๓๗
หลังการเดินทางสำรวจชายฝั่งทะเลทั้งทางด้านตะวันออกและตะวันตกของภาคใต้
การเดินทางตามชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกนี้เป็นการเดินทางด้วยเรือ
มีบันทึกกล่าวถึงสถานที่ต่าง
ๆ ริมทะเล ไม่ว่าจะเป็น
บางปลาสร้อย อ่างหิน
(น่าจะเป็นอ่างศิลา)
แหลมแท่น
สีชัง ศรีราชา แหลมกระบัง
(น่าจะเป็นแหลมฉบัง)
เกาะคราม
แสมสาร ไปเรื่อย ๆ จนถึงจันทบูรณ์
ตราด และคาบสมุทรกัมพูชา
ในหน้า
๑๙๐ ของหนังสือ "ห้าปีในสยาม
เล่ม ๒"
ฉบับที่แปลโดยกรมศิลปากรนั้น
มีรูปที่ชื่อว่า "อาศรมฤๅษีที่ศรีราชา"
โดยมีคำบรรยายที่แปลจากบันทึกของนายสมิทว่า
"เราหยุดเรือที่บางพระเพื่อรับเอาความแห้งและความอบอุ่นของแสงแดดยามเย็น
และในตอนเช้าตรู่วันต่อมาเราก็ได้ออกเดินทางต่อมาตามชายฝั่งทะเลผ่านเจดีย์องค์เล็ก
ๆ ที่สวยงามและวัดแห่งหนึ่งนอกเมืองศรีราชา
มันเคยเป็นที่พักของฤๅษีชราผู้สันโดษ
ซึ่งชื่อเสียงในด้านความศักดิ์สิทธิ์ของท่านนั้นขจรขจายไปไกล
แต่ท่านก็ไม่ได้ดูน่าเลื่อมใสเท่าไหร่นัก
เพราะว่าคงไม่มีใครที่อาศัยอยู่ที่นั่นแล้วจะสามารถเป็นอย่างอื่นไปได้นอกจากจะเป็นนักบุญ"
ดูจากคำบรรยายและรูปประกอบแล้ว
สถานที่แห่งนี้ก็ควรที่จะเป็น
"เกาะลอย"
ที่รู้จักกันในปัจจุบัน
(หมายเหตุ
:
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานสะกดว่า
ฤษี หรือ ฤๅษี
ไม่ได้ใช้สระอา "า"
เหมือนดังที่ปรากฏในหนังสือแปล)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น