"There
are three kinds of lies: lies, damned lies, and statistics."
ข้อความข้างต้นใครจะเป็นคนเริ่มกล่าวเอาไว้ก็ไม่รู้
ประวัติของประโยคนี้ใน
wikipedia
ก็บอกเอาไว้ว่ามีมาตั้งแต่ศตวรรษที่
๑๙ แล้ว ถ้านับถึงปัจจุบันที่เป็นศตรวรรษที่
๒๑ มันก็มีอายุยืนยาวมากว่าร้อยปี
แถมยังคงเป็นจริงอีก
เดือนที่แล้ว
(๒๓
เมษายน)
เขียนเรื่องเกี่ยวกับ
COVID-19 ไว้ในเรื่อง
"เมื่อพิจารณาแยกตามช่วงอายุ"
มาวันนี้อยากจะนำเสนอมุมมองอีกมุมหนึ่ง
คือแทนที่จะพิจารณาเฉพาะตัวเลขรวม
ก็จะลองพิจารณาในแง่ของอัตราส่วนต่อจำนวนประชากรทั้งหมดดูบ้าง
โดยตัวเลขต่าง ๆ นำมาจาก
https://www.worldometers.info/coronavirus/เมื่อเวลาประมาณ ๑๒.๔๕
น. ของวันนี้
ที่ต้องระบุวันเวลาด้วยก็เพราะ
ตัวเลขมันเปลี่ยนตลอดเวลา
รูปที่ ๑
รายชื่อประเทศที่อยู่ใน
๑๗ อันดับแรกเรียงตามจำนวนผู้ป่วยจากมากไปน้อย
บ้านเรามักจะโดนกล่าวหาจากคนในบ้านเราด้วยกันเองและจากต่างชาติว่า
ที่เห็นว่าตัวเลขผู้ป่วยน้อยเพราะตรวจน้อยใช่ไหม
จริงอยู่ที่ว่าจำนวน "ผู้ป่วย"
นั้นอาจทำให้ต่ำได้ด้วยการไม่ตรวจ
แต่จำนวน "ผู้เสียชีวิต"
นั้นยากที่จะแต่ง
เพราะมันมีหลักฐานชัดเจน
และช่วงเวลาที่ผ่านมา
ถ้าสังเกตจากแหล่งข่าวของชาติตะวันตกเองก็เห็นได้ว่า
หลายประเทศทางตะวันก็ทำการ
"แต่งตัวเลข"
ทั้งผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตให้ต่ำกว่าความเป็นจริง
วิธีการที่เขาทำก็ไม่ยากอะไร
บอกว่าถ้าอาการไม่หนักก็ไม่ต้องมาโรงพยาบาล
และถึงมีอาการหนักแต่มีอายุมากแล้วก็ไม่ต้องมา
เพราะโอกาสรอดต่ำ
สุดท้ายก็ตายกันคาบ้านพักคนชราแบบไม่ได้รับการตรวจว่าเป็นหรือไม่
ดังนั้นยอดตายตรงนี้ก็เลยไม่ถูกนำมารวม
รูปที่ ๒
รายชื่อประเทศที่อยู่ในอันดับที่
๑๗-๓๖
เรียงตามจำนวนผู้ป่วยจากมากไปน้อย
หลายประเทศที่เห็นว่ามีผู้ป่วยไม่มาก
แต่ถ้าเทียบกับจำนวนประชากรในประเทศที่เขามีอยู่ก็ถือว่าเยอะนะครับ
อย่างเข่นประเทศสวีเดน
(อันดับที่
๒๔ ในรูปที่ ๒)
ที่มีใครต่อใครชื่นชมกันเรื่องปล่อยให้อยู่กันอย่างอิสระ
ไม่ต้องมีการขังคนไว้ในบ้าน
แต่จำนวนผู้ป่วยต่อประชากร
๑ บ้านคนอยู่ที่สามพันกว่า
และอัตราการตายสูงถึง ๓๘๐
คนต่อประชากรหนึ่งล้านคน
ในขณะที่สหรัฐอเมริกาที่เป็นประเทศที่มีจำนวนผู้เสียชีวิตมาที่สุดนั้น
มีอัตราการตายเพียงแค่ ๒๘๗
คนต่อประชากรหนึ่งล้านคน
เรียกว่ายังต่ำกว่าสวีเดนอยู่เยอะ
อันที่จริงในอเมริกาเขายังมีการแยกอัตราการตายตามสีผิวอีก
ทำให้เห็นว่าคนผิวดำมีอัตราการตายที่สูงกว่าคนผิวขาวมาก
จนกระทั่งอดีตประธานาธิบดีต้องออกมาโวยวายถึงเรื่องความไม่เท่าเทียมกันในสังคม
ทีนี้ลองมาดูกรณีของออสเตรเลียดูบ้าง
(อันดับที่
๕๖ ในรูปที่ ๓)
มีอัตราการป่วยอยู่ในระดับเดียวกันกับสหรัฐอเมริกาคือ
๒๗๘ คนต่อประชากรหนึ่งล้านคน
แต่มีอัตราการตายเพียงแค่
๔ คนต่อประชากรหนึ่งล้านคน
ซึ่งจะว่าไปแล้วอัตราการตายของออสเตรเลียก็ยังสูงกว่าของประเทศไทย
(อันดับที่
๗๒ ในรูปที่ ๓)
ถึง ๕ เท่า
เพราะไทยมีอัตราการตายเพียงแค่
๐.๘
คนต่อประชากรหนึ่งล้านคนเท่านั้นเอง
แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่วายมีอดีตเจ้าหน้าที่สถานฑูตออสเตรเลียประจำประเทศไทยมาวิจารณ์ระบบสาธารณสุขของไทยว่าที่เห็นว่ามีคนป่วยน้อยเพราะตรวจน้อย
อีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจก็คือจากผลการจัดอันดับด้านความพร้อมของระบบสาธารณสุขของประเทศต่าง
ๆ ที่เห็นว่าประเทศชาติตะวันตกนั้นอยู่ในอันดับต้น
ๆ ของโลกทั้งนั้น
แต่ทำไมเมื่อเกิดเหตุการณ์นี้จึงไม่สามารถรับมือได้
สิ่งที่น่าพิจารณาก็คือในเมื่อตัวบ่งชี้ที่ใช้วัดและทำนาย
กับผลลัพธ์ที่เป็นจริงนั้นมันแตกต่างกัน
มันมีอะไรที่ผิดผลาดตรงไหน
การเก็บผลลัพธ์นั้นทำไม่ครอบคลุมหรือไม่
หรือตัวบ่งชี้ที่ใช้นั้นมีไม่ครอบคลุมหรือไม่
หรือให้ความสำคัญกับตัวบ่งชี้ที่ไม่สำคัญมากเกินไป
ในขณะที่ไม่ให้ความสำคัญกับตัวบ่งชี้ที่สำคัญในความเป็นจริง
หรือไม่มีการนำปัจจัยบางอย่างมาเป็นตัวบ่งชี้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งโอกาสในการเข้าถึงระบบสาธารณสุข
เพราะจำนวนหมอต่อประชากรทั้งหมดมันไม่มีความหมาย
ถ้าหากว่าในความเป็นจริงนั้นมีได้เฉพาะประชากรที่มีรายได้สูง
(พอที่จะจ่ายค่าประกันสังคมได้)
เท่านั้นจึงจะเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้
ดังนั้นมันอาจต้องพิจารณาจำนวนประชากรที่มีสิทธิเข้าถึงบริการทางการแพทย์ต่อจำนวนประชากรทั้งหมดแทน
รูปที่ ๓
รายชื่อประเทศที่อยู่ในอันดับที่
๕๖-๗๔
เรียงตามจำนวนผู้ป่วยจากมากไปน้อย
ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่
๗๒
ผมเองมีความรู้สึกว่าในขณะนี้ชาติตะวันตกหลายชาติกำลังเกิดวิกฤตด้าน
"ความรู้สึกว่าตนเองเหนือกว่าผู้อื่นในทุก
ๆ ด้าน"
เพราะเหตุการณ์นี้ทำให้เห็นว่าประเทศที่เขามองมาตลอด
(แม้ว่าจะไม่พูดออกมาโดยตรง
แต่ใช้การออกข่าวหรือให้สัมภาษณ์แบบกระทบกระทั่งก็ตาม)
สามารถทำได้ดีกว่าพวกเขา
ดังจะเห็นได้จากว่าแม้ว่าสถานการณ์ในประเทศเขาเองนั้นย่ำแย่กว่าประเทศที่ยังไม่พัฒนา
แทนที่จะตั้งสมาธิว่าจะทำอย่างไรให้ประเทศตัวเองผ่านวิกฤตไปได้
กลับเที่ยวมาออกข่าวว่าประเทศอื่นที่ดูดีกว่าประเทศเขานั้นเป็นเพราะปกปิดตัวเลขใช่ไหม
และที่แย่ก็คือมีคนบ้านเราเองจำนวนหนึ่งก็เป็นไปกับเขาด้วย
จะเรียกว่าเห็นฝรั่งเป็นพระเจ้าก็ได้
ท่านจะว่าอะไรก็ถูกเสมอ
เคยมีคนโวยวายว่าทำไม่บ้านเราไม่ตรวจเยอะ
ๆ
ผมก็ต้องอธิบายว่าการตรวจนี้มันไม่ง่ายเหมือนการตรวจตั้งครรภ์ที่ใครก็ได้เดินเข้าร้านขายยาแล้วซื้อชุดตรวจมาทำการตรวจเองที่บ้าน
ไม่กี่นาทีก็รู้ผล
เริ่มแรกบ้านเราเองมีแลปมาตรฐานเพียงแลปเดียวที่ตรวจได้ก็คือของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
แลปที่อื่นจะทำการตรวจได้ก็ต้องผ่านการรับรองมาตรฐานจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ก่อน
การรับรองมาตรฐานนั้นมันรวมทั้ง
สถานที่ เครื่องมือ วัสดุสิ้นเปลือง
และคนตรวจ
และที่สำคัญก็คือคนตรวจที่ไม่สามารถจัดซื้อได้
แต่ต้องใช้การฝึกฝน
ใครสอบผ่านก็มีสิทธิ์ทำงาน
ใครสอบไม่ผ่านก็ไม่มีสิทธิ์
ถึงกระนั้นก็ตามก็ยังมีโอกาสที่จะเกิดผิดพลาดได้
เช่นกรณีที่เกิดที่ยะลาจำนวน
๔๐ ราย ที่สุดท้ายต้องมีการตรวจยืนยันถึง
๓ แลปเพื่อจะบอกว่าผลตรวจแลปแรกนั้นมีปัญหา
ซึ่งจะว่าไปแล้วตรงนี้มันก็ไม่ใช่เรื่องผิดปรกติใด
ๆ
มันเป็นหนึ่งในขั้นตอนการทำงานอยู่แล้วที่เมื่อเห็นผลที่ได้นั้นมันแปลก
ๆ ก็ต้องตรวจสอบซ้ำ
อยู่บ้านได้ดูข่าวจากสำนักข่าวต่าง
ๆ สิ่งหนึ่งที่เป็นประเทศไทยแตกต่างไปจากประเทศอื่นก็คือ
เราใช้บุคคลากรทางการแพทย์
(แถมเป็นจิตแพทย์อีกต่างหาก)
ในการขอความร่วมมือจากประชาชนในการฝ่าวิกฤตนี้ไปด้วยกัน
ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ
นั้นจะเป็นนักการเมืองที่เป็นคนออกโทรทัศน์
แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่วายมีคนเอาการเมืองมายุ่ง
#เราจะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน
#ประเทศไทยต้องชนะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น