Memoir
ฉบับก่อนหน้าที่เกี่ยวข้องกับ
memoir
ฉบับนี้มี
ปีที่
๓ ฉบับที่ ๒๖๐ วันพุธที่ ๑๖
กุมภาพันธ์ พ.ศ.
๒๕๕๔
เรื่อง "Distribution functions"
ปีที่
๓ ฉบับที่ ๒๖๑ วันศุกร์ที่
๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.
๒๕๕๔
เรื่อง "XRD - peak fitting"
ปีที่
๖ ฉบับที่ ๖๗๗ วันพุธที่ ๒
ตุลาคม พ.ศ.
๒๕๕๖
เรื่อง "เส้น Cu Kα มี ๒ เส้น (การทำวิทยานิพนธ์ภาคปฏิบัติ ตอนที่ ๕๒)"
ปีที่
๖ ฉบับที่ ๖๘๑ วันพฤหัสบดีที่
๑๐ ตุลาคม พ.ศ.
๒๕๕๖
เรื่อง "Scherrer's equation (ตอนที่ ๓)"
จากสมการ
Scherrer's
equation
เมื่อ d
- ขนาดความหนาของระนาบ
(ที่มักเอามาตีความเป็นขนาดผลึก)
λ
- ความยาวคลื่นของรังสีที่หักเห
สำหรับ Cu
Kα
λ =
1.5418 อังสตรอม
θ
- ตำแหน่งมุมหักเหของพีค
(กราฟ
XRD
จะให้ค่ามุมเป็น
2θ)
K
- Shape factor
B
- ความกว้างของพีคที่ตำแหน่งครึ่งหนึ่งของความสูง
(เรเดียน)
จากที่ได้กล่าวเอาไว้ใน
Memoir
ฉบับที่
๖๘๑ ว่าค่า B
ที่จะนำมาแทนในสมการนั้นควรได้รับการปรับแก้โดยหักการแผ่กว้างที่เกิดจากความคลาดเคลื่อนของตัวเครื่อง
(Binst)
ออกก่อน
การหาค่า Binst
ทำได้ด้วยการใช้ผลึกขนาดใหญ่ที่ควรมีพีคที่ชัดเจนหลายตำแหน่ง
สำหรับเครื่อง Bruker
D8 Advance ที่เราส่งตัวอย่างไปทดสอบนั้นมีการหาค่า
Binst
ด้วยการใช้ผลึก
corundum
และผลการวิเคราะห์ดังกล่าวก็ได้แสดงไว้ใน
Memoir
ฉบับที่
๖๗๗ แล้ว
แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือพีคที่ได้นั้นมี
2
พีคที่เกิดจากการหักเหของเส้น
Cu
Kα1
และ
Cu
Kα2
ทำให้ก่อนที่จะคำนวณค่า
Binst
ต้องแยกพีคเส้น
Cu
Kα1
ออกจากเส้น
Cu
Kα2
ก่อน
(จะใช้เส้น
Cu
Kα1
เป็นหลักเพราะให้สัญญาณที่แรงกว่า)
คำถามที่เกิดขึ้นตอนนี้คือควรใช้ฟังก์ชันใดในการแยกพีค
2
พีคที่เหลื่อมซ้อนกันนี้
เพราะจากที่ได้ลองทดสอบมากพบว่าในบางกรณีนั้นการสมมุติให้มีการกระจายตัวแบบ
Cauchy
distribution (หรือ
Lorentzian
distribution) หรือไม่ก็
Voigt
distribution (ลูกผสมระหว่าง
Cauchy
กับ
Gaussian)
ให้ผลที่ดีกว่าการสมมุติให้มีการกระจายตัวแบบ
Gaussian
distribution
แต่ก็มีบางครั้งเหมือนกันที่พบว่าการสมมุติให้มีการกระจายตัวแบบ
Gaussian
distribution ให้ผลที่ดีกว่าการสมมุติว่าการกระจายตัวเป็นแบบ
Cauchy
หรือ
Voigt
เพื่อจะตอบคำถามดังกล่าวจึงได้ทดลองนำเอาพีคที่ตำแหน่ง
2θ
ในช่วง
35.0-35.4
ไปทำการแยกพีคด้วยการใช้ฟังก์ชันทั้ง
3
รูปแบบดู
(ใช้โปรแกรม
fityk
version 0.9.8) ผลที่ได้แสดงไว้ในรูปที่
๑ ถึง ๓
รูปที่
๑ การแยกพีคโดยสมมุติให้การกระจายตัวเป็นแบบ
Lorentzian
หรือ
Cauchy
รูปบนเป็นภาพพีคทั้งพีค
รูปกลางเป็นภาพขยายส่วนฐาน
และรูปล่างเป็นภาพขยายส่วนความกว้าง
รูปที่
๒ การแยกพีคโดยสมมุติให้การกระจายตัวเป็นแบบ
Voigt
รูปบนเป็นภาพพีคทั้งพีค
รูปกลางเป็นภาพขยายส่วนฐาน
และรูปล่างเป็นภาพขยายส่วนความกว้าง
รูปที่
๓ การแยกพีคโดยสมมุติให้การกระจายตัวเป็นแบบGaussian
รูปบนเป็นภาพพีคทั้งพีค
รูปกลางเป็นภาพขยายส่วนฐาน
และรูปล่างเป็นภาพขยายส่วนความกว้าง
ในกรณีนี้จากการทดสอบพบว่า
Voigt
function ปรับเข้ากับพีคที่ได้จากการวัดได้ดีที่สุด
ไม่ว่าจะเป็นบริเวณส่วนฐาน
ความสูงของพีค หรือความกว้างบริเวณตอนกลาง
(FWHM
- full width at half maximum) ในส่วนของ
Cauchy
function นั้นแม้ว่าจะปรับเข้ากับส่วนฐานพีคได้ดี
แต่ก็ให้ความสูงที่มากเกินไปเล็กน้อย
และความกว้างที่แคบไปเล็กน้อย
แต่สำหรับ
Gaussian
function
นั้นในกรณีนี้พบว่าฟังก์ชันไม่สามารถปรับเข้ากับข้อมูลส่วนฐานพีคได้
และยังให้พีคที่ต่ำกว่าพีคจริง
ในขณะที่ความกว้างนั้นกว้างกว่าความกว้างจริงเล็กน้อยด้วย
ดังนั้นจึงเห็นว่าค่า
FWHM
ที่จะนำมาเป็นค่า
Binst
นั้นควรได้มาจากการแยกพีคด้วยการใช้
Voigt
function โดยค่าตัวเลขได้นำมาแสดงไว้ในตารางที่
๑ และ ๒ ส่วนกราฟนั้นแสดงไว้ในรูปที่
๓
แต่ที่มีปัญหาอยู่ตอนนี้ก็คือ
เวลาที่วัดตัวอย่างนั้นเรากลับเห็นพีคปรากฏเพียงพีคเดียวที่เสมือนกับการหักเหที่เกิดจากรังสีเอ็กซ์ที่ค่าความยาวคลื่นเฉลี่ย
(0.15418
nm) ดังนั้นจึงไม่สามารถนำค่า
Binst
ที่นำมาแสดงใน
Memoir
ฉบับนี้ไปใช้ได้ทันที
ควรต้องไปทำการหาค่า Binst
ใหม่จากสัญญาณที่ได้มาจากการหักเหของคลื่น
x-ray
ที่มีความยาวคลื่นค่าเฉลี่ย
(0.15418
nm) หรือไม่ก็นำค่าที่วัดได้จากตัวอย่างนั้นไปทำการแยกพีค
(deconvolution)
เพื่อแยกออกเป็นส่วนที่เกิดจากเส้น
Cu
Kα1
และ
Cu
Kα2
ก่อน
แล้วจึงค่อยนำค่าในตารางเหล่านี้ไปใช้
รูปที่
๔ ค่า FWHM
ของเครื่อง
x-ray
diffractometer Bruker D8
Advance ที่กลุ่มเราส่งตัวอย่างไปวิเคราะห์
รูปบนเป็นค่าที่คำนวณได้จากเส้น
Cu
Kα1
ส่วนรูปล่างเป็นค่าที่คำนวณได้จากเส้น
Cu
Kα2
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น