เขาบอกกับผมตอนที่ผมแวะไปเยี่ยมเขาที่เยอรมัน
ตอนที่เขาไปทำวิจัยอยู่ที่นั่น
ผมเรียนโท-เอกในระบบอังกฤษ
ซึ่งเขาก็ "ไม่สอนอะไรเลย"
ถ้ามองตามแบบการสอนของประเทศเรา
แต่เขาสอนแบบการตั้งประเด็นคำถามให้ไปหาคำตอบ
ค่อย ๆ
ชี้ให้เราเห็นว่าความรู้ของเรายังมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์อยู่ที่ไหน
ตรงไหนเป็นจุดที่ทำให้คนอื่นเขาโต้เราแย้งได้
เราก็ต้องไปเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อหักล้างข้อโต้แย้งเหล่านั้น
เขาจบเอกด้วย
paper
เดียวครับ
ด้วยฝีมือของเขาเองล้วน ๆ
และการที่เขาได้ไปทำวิจัยที่เยอรมันก็เป็นฝีมือของเขาเองล้วน
ๆ เช่นกัน
ก่อนเขาไปทำ
post
doc ที่ญี่ปุ่นทางด้าน
Ziegler-Natta
catalyst ซึ่งเขาก็ไม่เคยเรียนมาก่อน
เขาแวะมาหาผม ผมก็ตอบเขาไปสั้น
ๆ ว่าในมุมมองของผมมันเป็นเรื่องปฏิกิริยาระหว่างกรด-เบสของลิวอิส
โดยไอออนบวกของโลหะนั้นเป็นเสมือนกับกรดลิวอิส
(รับคู่อิเล็กตรอน)
โอเลฟินส์ตรงพันธะคู่
(มี
pi
อิเล็กตรอน)
เป็นเสมือนเบสลิวอิส
Ligand
ต่าง
ๆ ที่ไปล้อมรอบไอออนบวกของโลหะเป็นเสมือนตัวปรับความแรง
(strength)
ของกรดลิวอิสและควบคุมทิศทางของโมเลกุลที่จะหันเข้าหา
เมื่อวานตอนราว
ๆ สี่โมงเย็นเขาแวะมาหาอีกครั้ง
เอาปลาหมึกมาฝาก
มาเพื่อบอกว่าจะบินไปญี่ปุ่นในคืนวันพรุ่งนี้
(ซึ่งก็คืออีกไม่กี่ชั่วโมงนับจากนี้)
เนื่องจากเขาได้งานเป็นอาจารย์
(ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์)
ที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น
เราได้คุยกันสั้น ๆ
ไม่นานเพราะเขาต้องไปรับคุณแม่ต่อ
(คนใกล้เวลาเดินทางมักจะวุ่นวายจนนาทีสุดท้ายเสมอครับ
ถือว่าเป็นเรื่องปรกติ)
เขาเข้าเรียนเอกในปีการศึกษา
2546
ครับ
รุ่นนั้นผมรับนิสิต 4
คน
เป็นป.โท
สายตรง 2
คน
สายอ้อม 1
คน
และจากตรีเข้าเอก คือตัวเขาเอง
1
คน
เขาเป็นนิสิตป.เอกคนเดียวที่ผมเคยสอน
(ผมรับเขาเป็นคนแรก
และหลังจากนั้นผมก็ไม่เคยรับนิสิตป.เอกอีกเลย)
รูปที่นำมาแสดงเป็นรูปวันรับปริญญาเมื่อวันที่
14
กรกฎาคม
2548
ที่เหลือยังไม่จบคือตัวเขาเองกับเพื่อนอีกคน
(เพราะเรียนเอกมันใช้เวลานาน
และโทสายอ้อมก็ใช้เวลานานกว่าโทสายตรง)
นิสิตในกลุ่มนี้เขาเป็นคนสุดท้ายที่รับปริญญา
และดูเหมือนว่าจะเป็นคนสุดท้ายที่จะแต่งงานด้วย
หวังว่าคราวหน้าตอนกลับมาเยี่ยมเมืองไทยคงมาพร้อมกับข่าวดีนะครับ
ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพนะครับ
ยังไงก็โผล่หน้ามาให้เห็นทาง
facebook
บ้างก็ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น