เมื่อวานเป็นอีกวันหนึ่งที่ได้ขึ้นไปใช้อาคารนี้เป็นครั้งที่สองเพื่อทำการสอบ
ผมได้มีโอกาสขึ้นไปทำงานบนอาคารนี้เป็นครั้งแรกตอนไปคุมสอบกลางภาค
อาคารนี้สร้างขึ้นเนื่องในโอกาสหน่วยงานมีอายุครบรอบ
๑๐๐ ปี ส่วนจะเปิดใช้งานได้เต็มที่นั้นจะเป็นเมื่อใดก็ไม่รู้
รู้แต่ว่าผ่านงาน ๑๐๐
ปีมาปีกว่าแล้วก็ยังเปิดใช้อยู่เพียงแค่บางชั้น
เฉพาะที่เป็นชั้นห้องเรียนกับด้านล่างอาคารที่เป็นลานโล่ง
ๆ ให้นั่งเล่นได้เท่านั้น
ตัวอาคารมีลิฟต์และบันไดขึ้นลงอยู่สองด้าน
ที่เห็นเปิดใช้ให้คนขึ้น-ลงไปยังห้องเรียนชั้น
๕ ได้คือด้านทิศตะวันตก
ส่วนด้านทิศตะวันออก
(ด้านติดถนนใหญ่)
ยังไม่เปิดให้ใช้
อันที่จริงเรื่องนี้ผมสังเกตเห็นตั้งแต่ตอนไปคุมสอบกลางภาคแล้ว
คือได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ไปคุมสอบที่ห้องสอบห้องหนึ่งที่อยู่ที่ชั้น
๕ ของอาคาร
ซึ่งห้องนี้มันอยู่ทางด้านทิศตะวันออกติดกับทางขึ้นลงด้านทิศตะวันออก
ตอนไปคุมสอบก็ใช้ลิฟต์ด้านทิศตะวันตกขึ้นไปยัง
"ชั้น
๕"
แต่พอเดินมายังห้องสอบ
เห็นป้ายบอกชั้นที่อยู่หน้าลิฟต์ด้านตะวันออกบอกว่าชั้นนี้เป็น
"ชั้น
๖"
รูปที่
๑ (บน)
ตัวเลขบอกชั้นอาคารหน้าลิฟต์ด้านทิศตะวันตก
(ล่าง)
ตัวเลขบอกชั้นอาคารหน้าลิฟต์ด้านทิศตะวันออก
เรื่องชั้นอาคารที่อยู่ที่ระดับความสูงเดียวกัน
(หมายถึงถ้าเดินจากฟากหนึ่งไปยังอีกฟากหนึ่งจะเป็นเสมือนกับการเดินไปตามพื้นราบโดยไม่ต้องขึ้นลงบันได)
แต่มีเลขหมายชั้นที่แตกต่างกันก็เคยเจอเหมือนกันตอนเรียนอยู่ต่างประเทศ
แต่นั่นเป็นเพราะมันเป็นคนละอาคารกัน
ที่สร้างอยู่บนภูมิประเทศที่มีระดับความสูงที่แตกต่างกัน
แต่มีทางเดินเชื่อมต่อกันจนทำให้คนที่เดินอยู่ภายในรู้สึกเสมือนว่ามันเป็นอาคารเดียวกัน
เช่นชั้นล่างสุดของอาคารที่สร้างบนภูมิประเทศที่สูงกว่าอาจจะไปอยู่ในระดับเดียวกันกับชั้นสองของอาคารที่สร้างอยู่บนระดับภูมิประเทศที่ต่ำกว่า
แต่กรณีที่ยกมานี้เป็นกรณีของอาคารเดียวกัน
ระยะจากด้านทิศตะวันตกไปยังด้านทิศตะวันออกก็ไม่ได้ยาวเท่าใด
ประมาณสัก ๕๐ เมตรเห็นจะได้
ไม่รู้เหมือนกันว่าเป็นเพราะแนวความคิดใหม่ในการออกแบบอาคารหรือไม่
อันนี้เป็นกรณีของชั้นอาคารเดียวกันแต่ใช้ชื่อเรียกต่างกัน
ก่อนหน้านี้ก็เคยเล่าเรื่องของคนละห้องกัน
อยู่ชั้นเดียวกัน
แต่ใช้เลขห้องเดียวกัน
ส่วนเป็นห้องไหนอยู่ที่อาคารไหนนั้นก็ไปดูได้ที่
Memoir
ปีที่
๔ ฉบับที่ ๓๕๘ วันอังคารที่
๒๗ กันยายน ๒๕๕๔ เรื่อง
"ห้องไหนกันแน่"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น