ผมจบมาทางด้านวิศวกรรมเคมี
แต่ตอนจบใหม่ ๆ
ต้องไปทำงานก่อสร้างโรงงานปิโตรเคมี
เลยทำให้ต้องไปเรียนรู้เรื่องต่าง
ๆ เพิ่มเติมนอกเหนือไปจากความรู้เฉพาะทางที่เรียนมาจากในภาควิชา
อันที่จริงเรื่องราวที่ต้องไปเรียนเพิ่มเติมนั้นก็ได้อาศัยพื้นฐานที่เรียนมาตั้งแต่สมัยเรียนปริญญาตรีปี
๑ ปี ๒ คือมันอยู่ในวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรมต่าง
ๆ ที่นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ทุกคนต้องเรียน
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางด้านวัสดุศาสตร์ที่เรียนทั้งโลหะ
(เน้นเหล็กเป็นหลัก)
คอนกรีต
และพลาสติก
การขึ้นรูปชิ้นงานที่มีทั้งงานช่างฝีมือ
งานกลึงและหล่อโลหะ
รวมทั้งความรู้ทางด้านกลศาสตร์
(ไม่ว่าจะเป็นสถิตยศาสตร์วิศวกรรม
(Engineering
Static) พลศาสตร์วิศวกรรม
(Engineering
Dynamics) หรือกลศาสตร์ของวัสดุ
(Mechanics
of Materials)) วิชาเขียนแบบ
รวมไปถึงวิชาพวกไฟฟ้ากำลัง
การเรียนนั้นมีทั้งหาซื้อตำรามาอ่านเอง
เรียนรู้ด้วยการสอบถามวิศวกรรุ่นพี่
และประเภทครูพักลักจำ
ที่ต้องเกริ่นเรื่องนี้ขึ้นมาก่อนก็เพราะเรื่องที่จะเขียนต่อไปมันไม่ค่อยจะเกี่ยวข้องกับงานวิศวกรเคมีเท่าใดนัก
แต่เห็นว่าวิศวกรเคมีที่ทำงานออกแบบนั้นควรจะต้องมีความรู้เอาไว้บ้าง
จะได้รู้ว่าสิ่งที่ตัวเองออกแบบบนคอมพิวเตอร์หรือบนกระดาษนั้น
สุดท้ายมันสามารถสร้างได้จริงหรือไม่
ดังนั้นเนื้อหาที่เขียนแม้ว่าจะพยายามตรวจสอบความถูกต้องแล้ว
ก็ยังอาจมีผิดพลาดได้
(ขอออกตัวไว้ก่อน)
และคงไม่สามารถเขียนลงลึกลงไปในศาสตร์ทางด้านนั้นได้
คำถามแรกเลยที่ปรากฏคือความสามารถในการรับน้ำหนักของพื้นดิน
ตรงนี้มันเกี่ยวข้องกับการออกแบบฐานราก
ตามด้วยคำถามเกี่ยวกับร้อยละการเพิ่มขึ้นของค่าความเร็วลมและแผ่นดินไหวเหนือค่าเฉลี่ย
จากนั้นเข้าสู่เรื่องฐานรากด้วยคำถามเกี่ยวกับความลึกที่น้อยที่สุดของฐานราก
(ลึกมากกว่านั้นไม่เป็นไร)
และถ้ามีการใช้เสาเข็ม
(pile)
จะออกแบบให้รับน้ำหนักได้เท่าใด
ใช้ชนิดไหน ความยาวเท่าใด
(คือความลึกที่จะจมลงไปในชั้นดิน)
ส่วนจะเป็นเข็มตอก
(driven
pile) หรือเข็มเจาะ
(bore
pile) ก็ขึ้นอยู่กับสถานที่ก่อสร้างและการออกแบบ
เสาเข็มทำหน้าที่รับน้ำหนักของโครงสร้างที่อยู่เหนือพื้นดินและถ่ายลงสู่พื้นดิน
หน้าที่หลักของเสาเข็มคือรับแรงในแนวดิ่ง
แต่อาจต้องรับแรงในแนวข้างได้ถ้าหากพื้นดินมีการเคลื่อนตัวในแนวราบ
เช่นเมื่อเกิดแผ่นดินไหว
เรื่องเสาเข็มนี้เคยเล่าไว้ใน
Memoir
ปีที่
๖ ฉบับที่ ๗๗๓ วันพุธที่ ๑๙
มีนาคม ๒๕๕๗ เรื่อง
"เก็บตกจากงานตอกเสาเข็ม"
(ก็เกือบครบปีแล้วซินะ)
หน่วย
kips
เป็นหน่วยเก่า
บางทีก็เขียนเป็น kip
เท่ากับน้ำหนัก
1000
ปอนด์
(lb)
(หรือครึ่งหนึ่งของ
short
ton โดยที่
1
short ton = 2000 ปอนด์)
ถ้าแปลงเป็นหน่วย
SI
ก็จะได้ว่า
(จาก
http://en.wikipedia.org/wiki/Kip_(unit))
1
kip = 4448.2216 newtons (N) = 4.4482216 kilonewtons (kN)
เวลาของที่ของแข็งอยู่ในของไหลจะมีแรงลอยตัวเทียบเท่ากับน้ำหนักของไหลที่มีปริมาตรเท่ากับปริมาตรของแข็งที่แทนที่ของไหลนั้น
ในกรณีที่ของไหลนั้นเป็นของเหลวเช่นน้ำ
แรงลอยตัวนี้จะมีขนาดที่มีนัยสำคัญเพราะของเหลวมีความหนาแน่นสูง
(อันที่จริงในอากาศมันก็มี
แต่น้อยมาก)
สำหรับเสาเข็มหรือฐานรากที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำใต้ดิน
จะมีแรงลอยตัวกระทำในแนวดิ่ง
(คือยกเสาเข็มขึ้น)
เทียบเท่ากับน้ำหนักของน้ำปริมาตรเท่ากับปริมาตรเสาเข็มที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำใต้ดิน
แรงนี้คือ uplift
load (ซึ่งสวนทางกับ
vertical
load หรือน้ำหนักกดลงในแนวดิ่งที่เสาเข็มแบกรับเอาไว้)
ถัดจากเสาเข็มก็เป็นเรื่องความเร็วลม
ซึ่งสำคัญต่อการออกแบบโครงสร้างที่อยู่เหนือพื้นดิน
จะเห็นว่าความเร็วลมนั้นขึ้นอยู่กับระดับความสูงจากพื้นดิน
และในบางบริเวณลักษณะภูมิประเทศยังเป็นตัวกำหนดความเร็วและทิศทางของลมด้วย
แรงลมที่กระทำต่อโครงสร้างนั้นยังขึ้นอยู่กับรูปร่างของโครงสร้าง
เช่นหอกลั่น ปล่องควันหรือ
flare
จะมีรูปร่างทรงกระบอกเรียวยาว
ในขณะที่อาคารต่าง ๆ
นั้นมักจะมีลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยม
ถัดไปก็เป็นคำถามเกี่ยวกับเรื่องแผ่นดินไหว
สำหรับประเทศไทยแล้วปัญหาเรื่องแผ่นดินไหวรุนแรงนั้นยังไม่เคยมีประวัติ
แต่จากการที่มันไม่ค่อยมีแผ่นดินไหวนั้นจึงอาจทำให้คิดว่ามัน
"จะไม่มี"
แผ่นดินไหว
ก็เลยทำให้การออกแบบโครงสร้างนั้นไม่ได้คำนึงถึงจุดนี้
พอเกิดแผ่นดินไหวขึ้นมาทีก็เลยเป็นปัญหา
(อย่างเช่นกรณีที่เกิดขึ้นที่ภาคเหนือเมื่อไม่นานมานี้)
ที่ทำให้อาคารจำนวนมากได้รับความเสียหาย
โดยเฉพาะอาคารเก่าและอาคารขนาดเล็ก
และปิดท้ายของแบบสอบถามในหน้านี้คือระดับความสูงของสิ่งก่อสร้างต่าง
ๆ ที่จะสูงกว่าระดับพื้นทาง
(paving)
แบบสอบถามระบุว่าจะใช้ระดับความสูง
(และความลาดเอียง)
ตามที่แจ้งมานี้
เว้นแต่ว่าจะมีการระบุเป็นอย่างอื่น
ต่อไปเป็นหน้า
Page
7 of 21
คำถามในหน้านี้เริ่มด้วยคำถามเกี่ยวกับความสามารถในการรับแรงของคอนกรีตที่จะใช้ในการก่อสร้างสิ่งต่าง
ๆ พึงสังเกตนะว่าคอนกรีตที่ใช้ทำอ่างเก็บน้ำจะต้องรับแรงได้มากที่สุด
(เพราะน้ำมีน้ำหนักมาก)
ส่วนคอนกรีตกันไฟ
(fireproofing)
นั้นไม่ได้มีไว้รับแรง
มันทำหน้าที่เป็นเพียงแค่ฉนวนกันความร้อนจากเปลวไฟเพื่อไม่ให้โครงสร้างโลหะร้อนจนสูญเสียความแข็งแรง
(เช่นโครงหลังคาที่เป็นเหล็ก
เสาโครงสร้างที่เป็นเหล็ก)
สารเคมีตัวหนึ่งที่ทำอันตรายกับคอนกรีตได้คือซัลเฟต
(sulphate
SO42-) บริเวณหนึ่งที่มีซัลเฟตมากคือในทะเล
สิ่งก่อสร้างที่สร้างลงไปในทะเล
หรือในบริเวณที่น้ำอาจมีความเข้มข้นซัลเฟตสูง
(เช่นใกล้ปากแม่น้ำที่มีน้ำเค็มไหลย้อนเข้าเวลาน้ำลง)
จึงจำเป็นต้องใช้คอนกรีตที่ทนต่อการกัดกร่อนของซัลเฟตในน้ำทะเลได้
(Portland
cement ประเภท
5)
ส่วนครึ่งล่างของหน้านี้เป็นคำถามเกี่ยวกับวัสดุที่จะใช้ทำผิวทางและความหนาของแต่ละชั้น
ซึ่งแบ่งย่อยไปตามบริเวณต่าง
ๆ เช่นรอบ ๆ ปั๊ม เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน
โครงสร้างรองรับท่อ (pipe
rack) บริเวณรอบแทงค์เก็บของเหลว
(inside
dike area) ทางเดิน
ถนน ที่จอดรถ ฯลฯ คำถามตรง
Slope
และความลาดเอียงเกี่ยวข้องกับการระบายของเหลวออกจากบริเวณ
(ของเหลวนั้นอาจเป็นน้ำฝน
หรือของเหลวที่รั่วไหลจากอุปกรณ์ลงสู่พื้น)
ต่อไปเป็นหน้า
Page
8 of 21
หน้านี้เริ่มด้วยคำถามเกี่ยวกับถนนและระบบระบายน้ำ
ในส่วนของถนนนั้นมีคำถามเกี่ยวกับวัสดุที่จะใช้ทำถนน
ความกว้างของผิวจราจร
และความกว้างของไหล่ทาง
(ถนนที่สร้างบนพื้นราบนั้น
ไหล่ทางมักจะใช้เป็น ทางเดินเท้า
ฝังท่อระบายน้ำ ท่อน้ำประปา
หรือสายเคเบิลต่าง ๆ
รวมไปทั้งใช้ปักเสาไฟฟ้า
ถ้าเป็นถนนที่ถมดินสูงขึ้นจากพื้นผิวด้านข้าง
ไหล่ทางยังทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ดินเคลื่อนตัวออกไปทางด้านข้างซึ่งจะทำให้ถนนทรุดได้เมื่อมีรถหนักวิ่งผ่าน)
ถนนคอนกรีต
(อ่าน
คอน-กรีต
นะ ไม่ใช่ คอ-นก-รีต)
ถ้าสร้างดีก็จะอยู่ได้ยาวนาน
เรียกว่าใช้กันจนลืม
ถนนลาดยางมะตอยจะมีอายุการใช้งาน
ต้องมีการซ่อมผิวจราจรเป็นระยะ
แต่ถนนลาดยางมะตอยมันมีข้อดีตรงที่ขุดง่าย
ซ่อมง่าย ดังนั้นในบางแห่ง
ณ ตำแหน่งที่มีท่อลอดใต้ผิวจราจรที่ท่อนั้นอาจต้องมีการซ่อมบำรุง
ผิวจราจรตรงนั้นก็จะเป็นถนนลาดยางมะตอยในขณะที่บริเวณอื่นเป็นคอนกรีต
(ใครอยู่มาบตาพุดก็ลองสังเกตดูนะครับ
ว่าผิวจราจรที่อยู่เหนือแนวท่อแก๊สที่ขึ้นจากทะเลไปยังโรงแยกแก๊สนั้นเป็นยางมะตอยหรือคอนกรีต)
OSBL
คือ
outside
battery limit ส่วน
ISBL
คือ
inside
battery limit คำว่า
Battery
limit ในที่นี้คือเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของโรงงาน
เป็นเส้นแบ่งส่วนที่ตัวโรงงานเองเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบกับส่วนที่ผู้อื่นเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ
เรื่องนี้เคยอธิบายไว้แล้วใน
Memoir
ปีที่
๗ ฉบับที่ ๙๒๘ วันพฤหัสบดีที่
๒๒ มกราคม ๒๕๕๘ เรื่อง
"ทำความรู้จักProcessDesign Questionnaire ตอนที่๓"
คำถามสุดท้ายของหน้านี้เป็นคำถามเกี่ยวกับระบบระบายน้ำว่าจะให้เป็นระบบไหน
ของที่มีอยู่เดิมนั้นสามารถนำมาใช้กับโครงการที่สร้างขึ้นใหม่ได้หรือไม่
ระบบระบายน้ำฝนในบ้านเราที่เห็นใช้กันทั่วไปก็มักจะเป็นระบบรางระบายน้ำรูปตัวยูที่มีฝาปิดด้านบนตลอดแนวราง
(ถ้ามีรถหนักทับวิ่งฝาก็จะแตกได้)
ซึ่งมักจะใช้กับระบบขนาดเล็กบนทางเท้าที่ไม่มีรถหนักวิ่งผ่าน
กับระบบท่อใต้ดินและบ่อพัก
แต่ถ้ามีที่ว่างหรือเป็นบริเวณริมรั้ว
ก็อาจทำเป็นรางรูปตัววี
(น้ำไหลได้เร็วแบบคลอง)
หน้าสุดท้ายของชุดนี้คือหน้า
Page
9 of 21
คำถามในหน้านี้เกี่ยวข้องกับรั้วที่จะสร้าง
และความต้องการพิเศษสำหรับงานโยธา
(ที่อาจจะมีเพิ่มในอนาคตหรือเพื่อการซ่อมบำรุง)
เรื่องการออกแบบรั้วโรงงานว่าจะให้เป็นแบบโปร่ง (มองจากภายนอกเห็นภายในได้) หรือเป็นแบบทึบ (ไม่ให้คนข้างนอกเห็นอะไรภายใน) ควรที่ต้องคำนึงถึงชุมชนที่อยู่รอบข้าง เพราะการปิดกั้นสายตาก็ก่อให้เกิดความอึดอัดกับผู้อยู่อาศัยในบริเวณรอบ ๆ ได้ และยังอาจก่อให้เกิดข่าวในทางไม่ดีว่าอาจมีการทำสิ่งไม่ดีอยู่ภายใน จึงต้องปิดบังไม่ให้คนภายนอกรับรู้ ซึ่งถ้าหากเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น ก็จะทำให้โรงงานมีปัญหากับชุมชนรอบข้างได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น