ถ้าใช้รูปแบบการแผ่กระจายของราก
ก็คงจะแบ่งไม้ยืนต้นออกได้เป็น
๒ พวกคือ พวกที่รากเน้นแผ่ลงลึก
และพวกที่รากเน้นแผ่กว้างไปตามผิวดิน
สำหรับคนที่ทำไร่แล้ว
การมีไม้ยืนต้นแบบที่รากเน้นแผ่นลงลึกนั้นเป็นสิ่งที่ยอมรับได้
(เราถึงมีการปลูกยูคาลิปต้สตามคันนา
เพื่อเอาไม้มาใช้ทำกระดาษ)
แต่เขาจะไม่ชอบไม้ยืนต้นที่รากเน้นแผ่ปกคลุมพื้นดิน
เพราะรากที่แผ่ปกคลุมผิวดินนั้นมันก่อปัญหาเวลาที่ต้องพรวนดิน
แต่ถ้าพิจารณาในแง่ของการยึดเหนี่ยวหน้าดินแล้วและทนต่อแรงพายุแล้ว
รากเน้นแผ่ไปบนผิวดินดูเหมือนจะทำหน้าที่เหล่านี้ได้ดีกว่า
ต้นโพธิ์และต้นไทรก็เป็นไม้ยืนต้นจำพวกที่รากเน้นแผ่ไปตามผิวดิน
ต้นโพธิ์ไม่เคยเห็นใครเขาเอามาขายและมีคนซื้อไปปลูก
แต่ต้นไทรนี่จะเห็นบ่อยกว่า
ข้อได้เปรียบของต้นไทรน่าจะอยู่ตรงที่มันมีรากอากาศที่แตกออกมาจากกิ่ง
และเมื่อรากนี้ลงสัมผัสกับพื้นดินมันก็จะกลายเป็นลำต้นโตขึ้นมาใหม่
ช่วยในการพยุงกิ่งที่แผ่ออกไปทางด้านข้างไม่ให้หักโค่นลงมา
กิ่งต้นไทรจึงสามารถแผ่ปกคลุมบริเวณพื้นที่กว้างได้
ถ้าหากรอบโคนต้นนั้นมีผิวดินที่รากอากาศสามารถลงถึงได้
อย่างเช่นที่ไทรงาม อ.พิมาย
จ.นครราชสีมา
ด้วยเหตุที่ว่าทั้งต้นโพธิ์และต้นไทรต่างมีกิ่งที่แผ่กว้างให้ร่มเงาจากแสดงแดด
ไม่โค่นล้มจากแรงลมพายุได้ง่าย
(แต่จะมีกิ่งหักจากปลวกกินหรือเปล่านั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง)
โดยเฉพาะต้นไทรมีใบที่ดกหนาตลอดทั้งปี
แถมยังมีลูกไม้เป็นอาหารให้กับสัตว์เล็กสัตว์น้อยอีก
จึงไม่แปลกที่ต้นโพธิ์และต้นไทรจะเป็นที่พักพิงอาศัยที่สำคัญของสัตว์เล็กสัตว์น้อยเหล่านั้น
ด้วยเหตุนี้จึงมีคนนำเอาต้นโพธิ์และต้นไทรมาเปรียบเทียบกับผู้ใหญ่ที่เป็นที่พึ่งพิงของผู้น้อยว่าเสมือนเป็น
"ร่มโพธิ์
ร่มไทร"
เคยมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า
รูปแบบการเผยแพร่ศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์นั้นแตกต่างกัน
ในยุคสมัยของการล่าอาณานิคมนั้นก็มีการใช้การเผยแพร่ศาสนาคริสต์เป็นเครื่องบังหน้า
ด้วยการใช้ข้ออ้างว่าดินแดนที่ไม่เชื่อเหมือนตนนั้นเป็นดินแดนล้าหลัง
ต้องได้รับการจัดการ
ดังนั้นจึงไม่แปลกที่จะเห็นประวัติการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ไปยังดินแดนต่าง
ๆ
เต็มไปด้วยความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับคนที่ยังยึดถือความเชื่อเดิมของท้องถิ่น
แต่มันก็มีข้อดีที่ตรงว่าเมื่อความเชื่อเดิมถูกทำลายไป
มันไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งกับความเชื่อทางศาสนาที่นำเข้ามาทีหลัง
ในกรณีของศาสนาพุทธนั้นแตกต่างกัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาพทางบ้านเรา
คือถ้าเห็นว่าความเชื่อเดิมนั้นบางส่วนก็ดีอยู่แล้ว
สอดคล้องกับความเชื่อในศาสนาพุทธ
ก็จะใช้วิธีนำเอาศาสนาพุทธไปวางไว้เหนือความเชื่อเดิม
เช่นด้วยการให้ผี สาง นางไม้
เจ้าป่า เจ้าเขา ฯลฯ
ในความเชื่อเดิมนั้น
ยังต้องให้ความเคารพต่อพระภิกษุผู้ทรงศีล
(หรือการให้มีเห้งเจียที่แม้แต่เง็กเซียนฮ่องเต้ยังไม่สามารถปราบได้
ต้องใช้พระยูไล (พระพุทธเจ้าในหลักมหายาน)
มาช่วยปราบให้
เพื่อต้องการสื่อให้เห็นว่าพระพุทธเจ้านั้นมีอำนาจยิ่งใหญ่กว่าเง็กเซียนฮ่องเต้)
วิธีการนี้มีข้อดีตรงที่ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งที่รุนแรงกับท้องถิ่นที่นำศาสนาพุทธเข้าไปเผยแพร่
แต่มันก็ให้เกิดปัญหาด้านความเชื่อในระยะยาวอย่างที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน
ตรงที่แทนที่พระจะสอนให้ฆราวาสให้ความเคารพแก่พระพุทธเจ้าเป็นหลัก
แต่กลับสอนให้กราบไหว้โน้นไหว้นี่ที่มันไม่ใช่หลักคำสอนของศาสนาพุทธเพื่อผลประโยชน์จากรายได้เข้าวัด
ฆราวาสจะ
เชื่อ เคารพ นับถือ กราบไหว้
สิ่งใดก็ตาม หรือสอนต่อ ๆ
กันมา ในสิ่งที่ไม่ได้อยู่ในคำสอนของศาสนาพุทธ
แต่ถ้าสิ่งนั้นเป็นไปในทิศทางเดียวกับศาสนาพุทธ
(คือสอนให้คนละกิเลส
ทำแต่ความดี ไม่เบียดเบียนกัน)
ศาสนาพุทธก็จะไม่เข้าไปแทรกแซง
เพียงแต่ตัวพระภิกษุซึ่งโดยหน้าที่นั้นควรที่จะใช้คำสอนโน้มน้าวให้คนเหล่านั้นหันมาให้ความเคารพในคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นหลัก
แทนการไปหาสิ่งเหล่านั้นมาตั้งในวัด
เพื่อให้คนแห่เข้ามากราบไหว้บูชาเพื่อขอโชคลาภ
ความมั่งคั่งร่ำรวย
แทนที่จะหาความสงบและความเพียงพอ
ตามหลักคำสอนของศาสนาพุทธ
รูปที่
๑ ไทรต้นนี้อยู่หน้าคณะรัฐศาสตร์มานานเท่าใดแล้วก็ไม่รู้
จำได้แต่ว่าไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้
เวลาที่เดินผ่านตรงนี้ไปกินข้าวเที่ยง
ก็ยังได้อาศัยร่มเงาของต้นไทรต้นนี้ช่วยบดบังแสงแดดจากดวงอาทิตย์
ไม่กี่วันก่อนได้คุยกับคนที่ทำงานอยู่แถวนั้นเขาบอกว่า
มีคนมาบอกว่าต้นมันโดนปลวกขึ้น
จำเป็นต้องตัดแต่ง
แต่เห็นสภาพหลังการตัดแต่งแล้วหลายต่อหลายคนก็รู้สึกว่า
ถ้าจะทำกันถึงขนานนี้
ก็ทำไมไม่โคนเสียเลย
จะได้ไม่ต้องมาทำการตัดใหม่อีกครั้ง
(สงสัยเหมือนกันว่าจะรอดไหมเนี่ย)
สองภาพที่เอามาให้ดูในวันนี้ถ่ายเอาไว้เมื่อวันศุกร์ที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา
รูปที่
๒ ต้นไทรต้นนี้อยู่หลังโรงอาหารคณะรัฐศาสตร์เดิมกับตึกนิวเคลียร์
ด้านนี้เป็นด้านทิศตะวันออก
เก้าอี้นั่งตัวนี้ตอนบ่าย
ๆ จะมีร่มเงาแดดที่ดีมาก
แถมเป็นมุมสงบเสียอีก
แต่พอมีความจำเป็นที่ต้องมีการย้ายบ้านมาอยู่ที่นี่
(เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานนี้เอง)
ผมว่าใครมานั่งก็คงจะรู้สึกเสียวสันหลังอยู่เหมือนกัน
โดยเฉพาะเวลาเย็น ๆ หรือพลบค่ำ
(แต่โดยปรกติก็ไม่เห็นมีใครมานั่งอยู่แล้ว)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น