วันพฤหัสบดีที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2560

พืชที่ใช้ในการทดลองการสกัดด้วยตัวทำละลาย (ปฏิบัติการเคมี นิสิตวิศวกรรมเคมีปี ๒) MO Memoir : Thursday 12 October 2560

ถ้าไม่ได้ทำการทดลองนี้ก็คงไม่รู้ว่าสารพัดพืชที่ขึ้นอยู่รอบบ้านที่เอามาใช้ประโยชน์ได้นั้นมีจำนวนเท่าใด ทุกชนิดที่นำมาให้นิสิตทำการทดลอง (ยกเว้นกาบหอยแครง) ก็ล้วนแต่เดินเก็บเอารอบบ้านตอนเช้าก่อนมาทำงาน ที่เลือกมาทำการทดลองก็เลือกเอามาแต่ชนิดที่ใบใช้นำมาทำอาหารหรือยาได้ (เพราะต้องการทำการทดลองการสกัดสารจากใบ) พวกที่ใช้ประโยชน์จาก ผล ราก หรือหัว ก็ยังมีอีก สำหรับคนที่ชอบสวนสวย ๆ ไม่รกรุงรัง ถ้ามาเห็นต้นไม้ขึ้นรอบบ้านผมก็คงจะบ่นว่ารกน่าดู (และมันก็เป็นอย่างนั้นจริง ๆ ไม่เช่นนั้นคงไม่ได้เจองูเขียวเป็นประจำ) แต่จะว่าไปแล้วมันก็ช่วยอะไรหลาย ๆ อย่างไม่ว่าจะเป็นการประหยัดค่าอาหาร และยังช่วยให้ลูก ๆ ได้รู้จักพืชหลากหลายชนิดที่เด็กที่ใช้ชีวิตอยู่ในเมืองใหญ่ยากที่จะได้สัมผัสกับของจริงหรือแม้แต่จะเคยได้ยินชื่อ
 
การทดลองนี้เป็นการทดลองครั้งแรกที่ลองทำขึ้นซึ่งก่อนหน้านี้ไม่เคยมี (และเป็นการทดลองที่เกิดขึ้นกระทันหันซะด้วย ไม่เช่นนั้นตารางสอนจะว่างโดยไม่มีการเรียนการสอน) และในปีต่อไปจะมีอีกหรือไม่ก็ไม่รู้เหมือนกัน และเนื่องจากในแต่ละวันมีการทดลองกับพืชเพียงไม่กี่ชนิด ทำให้นิสิตที่เข้ามาทำการทดลองในวันใดวันหนึ่งก็ได้เห็นแต่พืชในวันที่ตนเองเข้ามาทำการทดลองในวันนั้น ดังนั้นMemoir ฉบับนี้ก็เลยขอรวบรวมรูปถ่ายพืชชนิดต่าง ๆ ที่นำมาให้นิสิตทำการทดลองกันตั้งแต่วันจันทร์จนถึงวันนี้ โดยกะว่าจะแจกจ่ายให้กับนิสิตปี ๒ ทุกคน เพื่อที่จะได้เห็นบ้างว่าเพื่อน ๆ ได้ทำการทดลองกับพืชชนิดใดไปบ้าง


ดอกเข็มคงไม่ต้องถ่ายรูปมาให้ดูนะว่าหน้าตามันเป็นอย่างใด

มันเทศ


ตดหมูตดหมา


ตำแยแมว


ชะพลู


มะตูมแขก


(ซ้าย) เสลดพังพอนตัวเมีย (ขวา) กาบหอยแครง


ยอ


กะเพรา


ตำลึงตัวผู้


ตำลึงตัวเมีย


ผักหวานบ้าน


ชะมวง


มันปู

ไม่มีความคิดเห็น: