Memoir
ฉบับนี้เป็นตอนต่อเนื่องจากฉบับปีที่
๖ ฉบับที่ ๖๕๗ วันจันทร์ที่
๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๖ เรื่อง
"ChemiSorb 2750 : การวัดพื้นที่ผิวแบบ Single point BET"
ตามคู่มือของเครื่องข้อ
12
หน้า
3-18
นั้น
กล่าวให้ใช้ปุ่ม "Flow
Set Test" ปรับอัตราการไหลของ
carrier
gas ให้อยู่ที่
15
SCCM (standard cubic centimetre per minute) แต่ถ้าดูจาก
scale
ของ
flowmeter
จะเห็นว่า
scale
อัตราการไหลนั้นไม่ได้แปรผันแบบเป็นเส้นตรง
(linear)
กล่าวคือช่วงที่อัตราการไหลต่ำนั้นลูกลอยจะเปลี่ยนระดับได้มากแม้ว่าอัตรการไหลจะเปลี่ยนแปลงไม่มาก
แต่ที่อัตราการไหลสูงขึ้นลูกลอยจะเปลี่ยนระดับไม่มากแม้ว่าอัตราการไหลจะเปลี่ยนมาก
(ดูรูปที่
๑ ข้างล่าง)
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ต้องใช้ความระมัดระวังในการตั้งอัตราการไหล
รูปที่
๑ ตำแหน่งลูกลอยของ flowmeter
ที่ใช้สำหรับสังเกตอัตราการไหลของ
carrier
gas
flowmeter
ของเครื่องที่แสดงในรูปที่
๑ มันไม่มีขีด 15
SCCM แต่มีขีด
14
กับ
16
SCCM ดังนั้นที่ค่าอัตราการไหล
15
SCCM ลูกลอยจะไม่อยู่ตรงกลางระหว่างขีด
14
กับขีด
16
แต่จะอยู่ค่อนไปทางขีด
16
ในเช้าวันจันทร์ที่เราทำการทดสอบกันนั้นผมปรับให้ลูกลอยไปจ่ออยู่ใต้ขีด
16
(ตรงลูกศรสีเขียวชี้)
มาวันนี้เห็นสาวน้อยเมืองวัดป่ามะม่วงใช้เครื่องดังกล่าว
เขาบอกผมว่าทดลองฉีด N2
1 ml ได้ค่าตัวเลขออกมาเพียง
1.86
กับ
1.88
(เฉลี่ย
1.87
ซึ่งต่ำกว่าค่าที่เราได้เมื่อเราทดลองในวันจันทร์)
ผมก็เลยมาดูอัตราการไหลของ
carrier
gas ก็พบว่ามันอยู่ที่ขีด
14
(ตรงลูกศรสีแดงชี้)
ผมก็เลยบอกเขาไปว่าไม่เป็นไร
ให้ใช้ค่าที่วัดได้ในแต่ละครั้งเป็นตัวปรับค่าพื้นที่ผิวที่เครื่องแสดง
เพื่อให้ได้ค่าพื้นที่ผิวที่แท้จริง
ผลที่ออกมาก็คือตอนเช้าวันจันทร์ที่เราทดสอบนั้นเราได้ค่าตัวเลขออกมาที่
2.00
เมื่อนำมาปรับกับค่าที่สาวน้อยบ้านสวนวัดเอาไว้คือ
76
ก็จะได้พื้นที่ผิวที่ควรเป็นคือ
76*(2.84/2.00)
= 107.9 m2/g
แต่มาวันนี้สาวน้อยเมืองวัดป่ามะม่วงนำตัวอย่างเดียวกันนั้นที่เคยวิเคราะห์ไว้มาวัดใหม่ได้ค่าตัวเลขออกมา
71
ดังนั้นเมื่อเอาค่าตัวเลข
calibrate
ที่วัดได้ในวันนี้มาปรับก็จะได้ค่าพื้นที่ผิวที่ควรเป็นคือ
71*(2.84/1.87)
= 107.8 m2/g หรือแตกต่างกันเพียง
0.1
m2/g เท่านั้นเอง
(เรียกได้ว่าคลาดเคลื่อนไม่ถึง
0.1%)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น