ในตอนที่
๔ (ฉบับวันที่๑ มีนาคม)
นั้นกล่าวไว้ว่า
pyrolysis
heater ของ
Lummus
ที่ใช้ขดท่อรูปแบบ
SRT-III
นั้น
ตัว pyrolysis
heater แต่ละตัวจะมีขดท่อดังกล่าวอยู่ด้วยกัน
๖ ขดท่อ รูปที่ ๗
แสดงการติดตั้งขดท่อดังกล่าวในแนวดิ่งบนผนังสองด้านที่หันเข้าหากันด้านละ
๓ ขดท่อ
โดยมีตัวเตาให้ความร้อนติดตั้งอยู่ข้างผนังเรียงจากบนลงล่าง
พึงสังเกตตำแหน่งการติดตั้งหัวเตาจะเห็นว่าจะเน้นการให้การให้ความร้อนตรงท่อด้านขาเข้าที่ประกอบด้วยท่อขนาดเล็ก
๔ ท่อ และท่อด้านขาออกที่เป็นท่อใหญ่เพียงท่อเดียว
ถ้าวัตถุประสงค์ของ
pyrolysis
heater คือการให้ความร้อนแก่สายป้อน
(feed)
อย่างรวดเร็ว
วัตถุประสงค์ของ transfer
line exchanger (TLE) ก็จะตรงข้ามกันคือลดอุณหภูมิของสายผลิตภัณฑ์
(product)
ที่ออกมาจาก
pyrolysis
furnace ให้ลดต่ำลงอย่างรวดเร็วเพื่อป้องกันและ/หรือลดการเกิด
ปฏิกิริยาการสลายตัวของผลิตภัณฑ์
ปฏิกิริยาการควบแน่น
(condensation)
ที่ทำให้เกิดเป็นโมเลกุลที่ใหญ่ขึ้น
และปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรซ์เซชัน
(polymerisation)
ที่ทำให้เกิด
coke
ส่วนความร้อนที่ดึงออกมานั้นก็จะนำไปใช้ในการต้มน้ำ
(ที่อยู่ทางด้าน
shell
ของ
TLE)
เพื่อผลิตไอน้ำความดันสูง
(ไอน้ำที่เกิดขึ้นที่นี้เป็นไอน้ำอิ่มตัวหรือ
saturated
steam)
คำถามที่ตามมาก็คืออุณหภูมิแก๊สด้านขาออกของ
TLE
ควรลดต่ำลงเหลือเท่าใด
มีอะไรเป็นข้อกำหนดหรือไม่
คำตอบก็คืออุณหภูมิแก๊สที่ออกมาจาก
TLE
ถูกกำหนดโดยอุณหภูมิที่เริ่มทำให้เกิดการควบแน่นของผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในแก๊สที่ออกมาจาก
pyrolysis
heater โดยอุณหภูมิแก๊สที่ออกมาจาก
TLE
นั้นจะต้องไม่ต่ำจนทำให้เกิดการควบแน่นขึ้นที่
TLE
ส่วนจะลดต่ำลงได้เท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตโอเลฟินส์
อุณหภูมิของแก๊สที่ออกจาก
TLE
จะเป็นตัวกำหนดความดันของไอน้ำความดันสูงที่จะผลิตได้
เพราะอุณหภูมิทางด้าน shell
นั้นเป็นอุณหภูมิจุดเดือดของน้ำ
ณ ความดันที่กำหนด
ในกรณีที่ใช้อีเทนเป็นวัตถุดิบนั้น
จะเกิดไฮโดรคาร์บอนหนัก
(พวกที่มีจำนวนอะตอมคาร์บอนตั้งแต่
5
อะตอมขึ้นไปหรือที่เรียกว่า
C5)
ในปริมาณไม่มาก
ดังนั้นจะสามารถลดอุณหภูมิของแก๊สที่ออกจาก
TLE
ได้ต่ำถึงประมาณ
315ºC
ซึ่งจะผลิตไอน้ำที่ความดันสูงประมาณ
51
bars ได้
แต่ถ้าใช้แนฟทาเป็นวัตถุดิบ
จะมีไฮโดรคาร์บอนตั้งแต่
C5
ขึ้นไปเพิ่มมากขึ้น
ดังนั้นจะสามารถลดอุณหภูมิแก๊สออกจาก
TLE
ได้ต่ำลงเพียงประมาณ
370ºC
(ถ้าต่ำกว่านี้จะเกิดการควบแน่นเกิดขึ้น)
ซึ่งจะผลิตไอน้ำที่ความดันสูงประมาณ
123
bars ได้
(แต่ในความเป็นจริงอาจผลิตไอน้ำที่ความดันต่ำกว่านี้ได้ด้วยการควบคุมความดันด้าน
shell
ของ
TLE)
และถ้าใช้
gas
oil เป็นวัตถุดิบก็จะมีอุณหภูมิแก๊สด้านขาออกจาก
TLE
สูงเพิ่มขึ้นไปอีก
เนื่องจากมีไฮโดรคาร์บอนหนักในปริมาณที่มากขึ้นไปอีก
ไอน้ำอิ่มตัวที่เกิดขึ้นที่
TLE
จะถูกส่งกลับไปยัง
steam
drum (อาจถือว่าน้ำที่
steam
drum มีอุณหภูมิเดียวกันกับไอน้ำที่เดือดออกมาจาก
TLE)
และไอน้ำที่ออกมาจาก
steam
drum
สามารถนำไปเพิ่มอุณหภูมิให้กลายเป็นไอน้ำร้อนยิ่งยวดด้วยการส่งไปรับความร้อนที่
convection
zone ของ
pyrolysis
heater (ดูรูปที่
๘ และ ๙)
โดยปรกติน้ำที่ป้อนเข้าสู่หม้อไอน้ำ
(ที่เรียกว่า
boiler
feed water หรือ
BFW)
นั้นจะมีเกลือแร่ต่าง
ๆ ละลายอยู่
ส่วนจะยอมให้มีมากน้อยเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับความดันของไอน้ำที่ต้องการผลิต
ยิ่งผลิตไอน้ำความดันสูงมากขึ้นก็ยิ่งต้องควบคุมปริมาณเกลือแร่ต่าง
ๆ ให้น้อยลงไปอีก
แต่เมื่อน้ำเดือดเป็นไอน้ำ
เกลือแร่ที่ละลายอยู่ไม่ได้ระเหยตามไปด้วย
ยังคงค้างอยู่ในหม้อต้ม
ทำให้เมื่อต้มน้ำไปเรื่อย
ๆ ความเข้มข้นของเกลือแร่ในน้ำที่อยู่ในหม้อต้มจะเพิ่มสูงขึ้น
เพื่อรักษาระดับปริมาณเกลือแร่ที่ละลายอยู่นี้ไม่ให้สูงมากเกินไปจึงจำเป็นต้องมีการระบายน้ำในหม้อต้มทิ้งเสียบ้าง
ที่เรียกว่าการ "Blowdown"
รูปที่ ๗ รูปแบบการจัดเรียงขดท่อแบบ SRT-III บนผนังด้านหนึ่งของ pyrolysis heater ที่ประกอบด้วยขดท่อแบบ SRT-III จำนวน ๓ ชุด (ดังนั้นรวมผนังทั้งสองด้านจะมีขดท่อจำนวน ๖ ชุด) กรอบที่เหลี่ยมที่เห็นในรูปคือตำแหน่งติดตั้ง burner (ให้ความร้อนจากทางด้านข้างผนัง) พึงสังเกตว่าการติดตั้ง burner จะเน้นไปตรงท่อต้นทาง (ที่ประกอบด้วยท่อเล็ก ๔ ท่อ) เพื่อทำให้สารตั้งต้นแตกตัวเป็นผลิตภัณฑ์โดยเร็ว และท่อด้านขาออก (ที่ประกอบด้วยท่อใหญ่เพียงท่อเดียว) ที่เป็นส่วนที่มีอัตราการไหลโดยปริมาตรที่สูง (ดังนั้นเวลารับความร้อนจึงสั้นกว่าด้านขาเข้า)
รูปที่ ๘ แสดงการออกแบบในส่วนของการนำความร้อนกลับ (ส่วน convection zone) ที่มีทั้งการอุ่นในสารตั้งต้นมีอุณหภูมิสูงขึ้น ใช้ในการอุ่นน้ำก่อนป้อนเข้าหม้อไอน้ำให้ร้อน (สาย BFW - Boiler feed water) และสายผลิตไอน้ำร้อนยิ่งยวด
รูปที่ ๗ รูปแบบการจัดเรียงขดท่อแบบ SRT-III บนผนังด้านหนึ่งของ pyrolysis heater ที่ประกอบด้วยขดท่อแบบ SRT-III จำนวน ๓ ชุด (ดังนั้นรวมผนังทั้งสองด้านจะมีขดท่อจำนวน ๖ ชุด) กรอบที่เหลี่ยมที่เห็นในรูปคือตำแหน่งติดตั้ง burner (ให้ความร้อนจากทางด้านข้างผนัง) พึงสังเกตว่าการติดตั้ง burner จะเน้นไปตรงท่อต้นทาง (ที่ประกอบด้วยท่อเล็ก ๔ ท่อ) เพื่อทำให้สารตั้งต้นแตกตัวเป็นผลิตภัณฑ์โดยเร็ว และท่อด้านขาออก (ที่ประกอบด้วยท่อใหญ่เพียงท่อเดียว) ที่เป็นส่วนที่มีอัตราการไหลโดยปริมาตรที่สูง (ดังนั้นเวลารับความร้อนจึงสั้นกว่าด้านขาเข้า)
รูปที่ ๘ แสดงการออกแบบในส่วนของการนำความร้อนกลับ (ส่วน convection zone) ที่มีทั้งการอุ่นในสารตั้งต้นมีอุณหภูมิสูงขึ้น ใช้ในการอุ่นน้ำก่อนป้อนเข้าหม้อไอน้ำให้ร้อน (สาย BFW - Boiler feed water) และสายผลิตไอน้ำร้อนยิ่งยวด
การ
blowdown
นี้มีทั้งการทำอย่างต่อเนื่อง
(ที่เรียกว่า
continuous
blowdown) เพื่อใช้ควบคุมปริมาณของแข็งที่ละลายอยู่
(ที่เรียกว่า
Total
dissolved solid หรือ
TDS)
และการ
blowdown
เป็นครั้งคราว
(ที่เรียกว่า
intermittent
blowdown)
ที่ทำเพื่อระบายผลิตภัณฑ์ที่สามารถทำให้เกิดการกัดกร่อนและของแข็งที่ตกตะกอนอยู่ภายใน
ในเอกสารการอบรมของบริษัท
Lummus
กล่าวไว้ว่าเพื่อให้การทำงานนั้นเป็นไปอย่างราบรื่น
(เช่น
ได้โอเลฟินส์ในปริมาณมาก
ผลิตข้างเคียงในปริมาณต่ำ
เกิด coke
ต่ำ
เดินเครื่องต่อเนื่องได้นานโดยไม่ต้องทำความสะอาดบ่อยครั้ง
ฯลฯ)
จำเป็นต้องมีการควบคุมพารามิเตอร์ต่อไปนี้ได้แก่
-
อุณหภูมิแก๊สร้อนที่ออกมาจากขดท่อของ
pyrolysis
heater (เรียกว่า
coil
outlet temperature หรือ
COT)
-
อัตราส่วนระหว่างไอน้ำที่ใช้ในการเจือจางสายป้อนต่อปริมาณไฮโดรคาร์บอนที่ป้อนเข้าไป
-
อัตราการให้ความร้อน
-
ความดันด้านขาออกจากขดท่อของ
pyrolysis
heater (เรียกว่า
coil
outlet pressure)
-
อัตราการ
blowdown
และ
-
ประสิทธิภาพการเผาไหม้
ก่อนที่จะไปต่อ
ขอปูพื้นฐานศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาที่ใช้ในทางวิศวกรรมเคมีกันสักหน่อย
(เพื่อให้ผู้ที่ไม่ได้เรียนมาทางด้านวิศวกรรมเคมีสามารถเข้าใจสิ่งที่จะเขียนต่อไป)
ค่า
"Conversion"
หรือค่าปริมาณการเกิดปฏิกิริยา
คิดจากปริมาณสารตั้งต้นที่เกิดปฏิกิริยาต่อปริมาณสารตั้งต้นทั้งหมดที่ป้อนเข้าสู่ระบบ
เช่นค่า conversion
70%
หมายความว่าสารตั้งต้นที่ป้อนเข้าไปนั้นเกิดปฏิกิริยาไปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง
ๆ เพียง 70%
อีก
30%
ไม่เกิดปฏิกิริยา
ค่า conversion
100% หมายว่าสารตั้งต้นที่ป้อนเข้าสู่ระบบนั้นเกิดปฏิกิริยาสมบูรณ์
ค่า
"Selectivity"
หรือค่าการเลือกเกิด
คือสัดส่วนของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดที่เกิดขึ้นต่อปริมาณสารตั้งต้น
"ที่ทำปฏิกิริยาไป"
(ไม่ได้คิดจากสารตั้งต้นทั้งหมดป้อนเข้าระบบ
เช่นป้อนสารตั้งต้นเข้าระบบ
100
หน่วย
ทำปฏิกิริยาไป 80
หน่วย
ได้ผลิตภัณฑ์ A
60 หน่วย
ดังนั้น
ค่า
conversion
คือ
80/100
=0.8 หรือคิดเป็นเปอร์เซนต์ได้
=
80%
ค่า
selectivity
ของผลิตภัณฑ์
A
คือ
60/80
= 0.75 หรือคิดเป็นเปอร์เซนต์ได้
=
75%
ค่า
"Yield"
หรือปริมาณผลิตภัณฑ์ที่ได้จริงต่อสารตั้งต้น
"ทั้งหมด"
ที่ป้อนเข้าสู่ระบบ
ค่านี้เป็นผลคูณระหว่างค่า
conversion
และค่า
selectivity
ดังเช่นจากตัวอย่างที่ยกมาข้างบนจะได้ว่า
ค่า
yield
ของผลิตภัณฑ์
A
= 0.8 x 0.75 = 0.6 หรือคิดเป็นเปอร์เซนต์ได้
60%
ทีนี้เราลองมาพิจารณาประเด็นต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการทำปฏิกิริยา
(ก)
การเพิ่มอุณหภูมิแก๊สร้อนที่ออกมาจากขดท่อของ
pyrolysis
heater (COT) ทำให้ค่า
conversion
เพิ่มสูงขึ้น
แต่ก็ตามมาด้วยการเกิด coke
มากขึ้น
(ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นที่ต้องการ
ที่เป็นผลจากการสลายตัวของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ)
ซึ่งทำให้ต้องมีการหยุดการเดินเครื่องเพื่อกำจัด
coke
บ่อยครั้งขึ้น)
และยังทำให้ปริมาณโพรพิลีนและบิวทาไดอีนที่ได้นั้นลดลงไปด้วย
การเพิ่ม COT
นั้นอาจทำโดยเพิ่มการให้ความร้อน
หรือเพิ่มเวลารับความร้อน
(ลดอัตราการไหลของสายป้อน)
ตรงนี้ต้องขออธิบายเพิ่มเติมนิดนึง
อุณหภูมิของการเกิดปฏิกิริยาคืออุณหภูมิในขณะที่แก๊สไหลอยู่ในขดท่อ
แต่เนื่องจากเราไม่สามารถวัดอุณหภูมิแก๊สใน
radiation
zone ได้
(อุณหภูมิภายนอกท่อสูงกว่าภายในต่อ
อุปกรณ์วัดต้องเจอกับความร้อนสูงมาก)
จึงต้องมาวัดอุณหภูมิแก๊สร้อนด้านขาออกแทน
(บริเวณที่อุณหภูมิสิ่งแวดล้อมนอกท่อเย็นกว่าอุณหภูมิแก๊สภายในท่อ)
กล่าวคือถ้าแก๊สที่ไหลออกมานั้นมีอุณหภูมิสูงก็แปลว่าอุณหภูมิแก๊สร้อนภายในขดท่อนั้นสูงตามไปด้วย
(ข)
ค่า
conversion
ที่สูง
จะลดภาระของหน่วยแยกสารตั้งต้นที่ยังไม่ทำปฏิกิริยาและผลิตภัณฑ์ออกจากกัน
เพื่อนำสารตั้งต้นนั้นกลับมาใช้ใหม่
(ลดค่าใช้จ่าย)
แต่ค่า
selectivity
ของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการนั้นลดต่ำลง
(ลดรายได้)
แต่ที่ค่า
conversion
ต่ำ
ภาระของหน่วยแยกสารตั้งต้นที่ยังไม่ทำปฏิกิริยาและผลิตภัณฑ์ออกจากกัน
เพื่อนำสารตั้งต้นนั้นกลับมาใช้ใหม่จะมีมากขึ้น
(เพิ่มค่าใช้จ่าย)
แต่ค่า
selectivity
ของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการนั้นสูง
(มีการสูญเสียน้อย)
(ค)
เอทิลีน
โพรพิลีน และบิวทาไดอีน
ต่างเป็นเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการของตลาด
แต่ความต้องการและราคาขายนั้นแตกต่างกัน
คำถามที่ตามมาก็คือควรจะได้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้แต่ละตัวในสัดส่วนเท่าใดเพื่อให้ได้ปริมาณตรงกับความต้องการและได้รายรับมากที่สุด
(ง)
ที่อุณหภูมิสูง
สารตั้งต้นจะสลายตัวไปเป็นผลิตภัณฑ์
(ทั้งแบบที่ต้องการและไม่ต้องการ)
ได้มาก
(เรียกว่าได้กำลังการผลิตสูง)
แต่จะเกิดผลิตภัณฑ์ที่ไม่ต้องการ
(พวกไฮโดรคาร์บอนหนักและ
coke)
ใน
"ปริมาณ"
มาก
คำว่า "ปริมาณ"
ตรงนี้บางครั้งก็ต้องพิจารณาให้ดีว่าเป็นปริมาณที่เกิดขึ้น
"ต่อหน่วยเวลา"
หรือ
"ต่อหน่วยสารตั้งต้นที่ทำปฏิกิริยาไป
-
คือค่า
yield"
สิ่งที่ทางวิศวกรรมเคมีต้องการคือถ้าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ
เราต้องการได้ค่า yield
ของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการสูง
โดยมีค่า yield
ของผลิตภัณฑ์ที่ไม่ต้องการต่ำ
(จ)
โดยปรกติแล้วปฏิกิริยา
pyrolysis
ของอีเทนนั้น
ผลิตภัณฑ์แรกที่เกิดคือเอทิลีน
จากนั้นเอทิลีนจะสลายตัวต่อไป
ค่าการเลือกเกิดเอทิลีนจะมีค่ามากที่ค่า
conversion
ของอีเทนต่ำ
(ค่า
conversion
คือค่าสัดส่วนของสารตั้งต้นที่ทำปฏิกิริยาไป
ต่อปริมาณสารตั้งต้นที่ป้อนเข้าระบบ)
และค่าการเลือกเกิดเอทิลีนจะไม่เพิ่มขึ้นที่ค่า
conversion
ของอีเทนสูง
(ดูรูปที่
๑ ใน Memoir
ฉบับวันอังคารที่๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙)
ปฏิกิริยา
pyrolysis
ของแนฟทาและโดยเฉพาะไฮโดรคาร์บอนหนักนั้นแตกต่างออกไป
เพราะเอทิลีนไม่ได้เป็นผลิตภัณฑ์ตัวแรกที่เกิด
ปฏิกิริยาเริ่มจากการตัดสายโซ่โมเลกุลไฮโดรคาร์บอนที่เป็นสายโซ่ยาวให้สั้นลงก่อน
จากนั้นจึงค่อยตัดสายโซ่สั้นเหล่านั้นแตกออกเป็นเอทิลีนอีกทีหนึ่ง
ดังนั้นถ้าอุณหภูมิต่ำเกินไป
จะไม่สามารถทำให้สายโซ่สั้นที่เกิดขึ้นนั้นสลายตัวเป็นเอทิลีนได้
แต่ถ้าอุณหภูมิสูงเกินไปก็จะทำให้เอทิลีนสลายตัวต่อไปได้อีก
(ฉ)
ในกรณีของการใช้อีเทนเป็นสารตั้งต้น
การใช้อุณหภูมิต่ำจะได้เอทิลีนในปริมาณต่ำ
และสามารถเดินเครื่องได้ต่อเนื่องยาวนานกว่า
ดังนั้นถ้าคิดระยะเวลาจากเริ่มเดินเครื่องไปจนถึงการหยุดเดินเครื่องเพื่อกำจัด
coke
มันก็เกิดคำถามว่าอุณหภูมิใดจะให้ความคุ้มค่ามากที่สุด
ช่วงระยะเวลาที่เดินเครื่องถือได้ว่าคือช่วงเวลาที่ก่อให้เกิดรายได้
ในขณะที่ช่วงระยะเวลาที่ต้องหยุดเดินเครื่องเพื่อกำจัด
coke
คือช่วงระยะเวลาที่เป็นรายจ่าย
ปริมาณผลิตภัณฑ์ที่ได้เป็นผลคูณระหว่างอัตราการเกิดผลิตภัณฑ์และระยะเวลาการเดินเครื่อง
ที่อุณหภูมิสูง
อัตราการเกิดปฏิกิริยาจะมีค่าสูงแต่ระยะเวลาการเดินเครื่องจะมีค่าต่ำ
ที่อุณหภูมิต่ำ
อัตราการเกิดปฏิกิริยาจะมีค่าต่ำแต่ระยะเวลาการเดินเครื่องจะมากกว่า
คำถามที่ตามมากก็คือสมมุติว่าในรอบระยะเวลาการผลิตที่เท่ากันเช่น
1
ปี
ถ้าใช้อุณหภูมิสูงต้องมีการหยุดเดินเครื่องเพื่อกำจัด
coke
5 ครั้ง
แต่ถ้าใช้อุณหภูมิต่ำจะมีการหยุดเดินเครื่องเพื่อกำจัด
coke
4 ครั้ง
แล้วการทำงานรูปแบบไหนจะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่ากัน
แต่ทั้งนี้อุณหภูมิที่ใช้จะต้องไม่เกินความสามารถของโลหะที่ใช้ทำท่อที่สามารถทนได้
แค่พารามิเตอร์แรกก็คงจะพอมองเห็นแล้วนะครับว่าการหาจุดที่
"เหมาะสม"
ของการทำงานนั้น
มันจำเป็นหาความสมดุลของเงื่อนไขต่าง
ๆ มากมายแค่ไหน เรื่องนี้ยังมีต่ออีก
ยังไม่จบง่าย ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น