"รวมบทความชุดที่
๒ นี้ก็ยังคงเป็นการนำบทความต่าง
ๆ ที่เผยแพร่อยู่ใน blog
"MO
Memoir : Memoir of metal oxide catalyst research group"
(www.tamagozzilla.blogspot.com)
โดยได้คัดเลือกเอาประสบการณ์ความรู้เกี่ยวกับงานช่างด้านต่าง
ๆ (ไม่รวมในส่วนของงานวิศวกรรมเคมีโดยตรง)
มารวบรวมไว้ด้วยกัน
"วิศวกรทำได้ทุกอย่าง
ยกเว้น ....
ข้อสอบ"
เป็นคำพูดเล่น
ๆ ที่แต่ก่อนจะได้ยินกันเป็นประจำ
การเรียนวิศวกรรมศาสตร์สมัยที่ผมเรียนนั้น
ใครที่เรียนวิศวกรรมศาสตร์สาขาวิชาไหนก็จำเป็นต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญในศาสตร์สาขาด้านนั้น
แต่มันไม่ได้หมายความว่าไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในวิศวกรรมศาสตร์สาขาอื่น
เพราะงานทางวิศวกรรมนั้นมันเป็นงานที่ต้องมีความร่วมมือประสานกัน
ไม่ได้มองกันเพียงแค่
"ทำเพียงแค่สร้างให้เสร็จ"
แต่ยังต้องคำนึงไปถึงการใช้งานจริงในสภาพการณ์ต่าง
ๆ ที่อาจต้องประสบ และการซ่อมบำรุง
แต่ในปัจจุบันไม่รู้ว่าความคิดที่ว่า
"ฉันเรียนสาขานี้
ฉันไม่จำเป็นต้องรู้ในสาขาที่ฉันไม่ได้เรียน"
มันเกิดขึ้นเมื่อใด
มันไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับตัวผู้เรียน
แต่มันเกิดขึ้นกับตัวผู้สอนด้วย
และก็ดูเหมือนว่ามันจะมีเพิ่มมากขึ้นทุกที
และเริ่มหนักข้อขึ้นเรื่อย
ๆ จนถึงขั้นที่ว่า
"ฉันทำวิจัยเรื่องนี้
ดังนั้นเรื่องที่ฉันไม่ได้ทำวิจัยไม่จำเป็นต้องไปเรียนรู้"
การที่วิศวกรสักคนต้องมีความรู้เรื่องใดบ้างนั้นมันไม่ได้ขึ้นอยู่เพียงแค่
"ฉันเรียนมาแค่นี้
ดังนั้นเรื่องที่ฉันไม่ได้เรียน
ฉันไม่รู้ก็ไม่เป็นไร"
แต่มันขึ้นอยู่กับว่าในหน้าที่การงานที่ต้องทำ
(หรืออาจต้องไปประสบ)
นั้น
คุณต้องไปพบเจอกับอะไร
งานบางอย่างอาจไม่ต้องลงมือทำเอง
แต่ก็ควรต้องมีความรู้พื้นฐานบ้างเพื่อที่จะได้สื่อสารกับผู้อื่นที่ทำงานด้านนั้นได้เข้าใจ
สำหรับผู้ที่จบการศึกษาไม่ว่าจะเป็นในสาขาใดแล้ว
นอกจากความรู้ในด้านสาขาที่ร่ำเรียนมา
อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่ควรต้องมีคือ
"ความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ด้วยตนเอง"
โดยเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันและงานในหน้าที่
แต่มันไม่ได้หมายความแบบว่าคนจบบัญชี
ทำงานบัญชีให้บริษัทก่อสร้าง
จะต้องสามารถออกแบบโครงสร้างได้
แต่อย่างน้อยเขาควรรู้ว่าเวลาที่วิศวกรสั่งสิ่งของต่าง
ๆ มันเป็นสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับงานอะไร"
ข้อความข้างบนนำมาจากคำนำของรวมบทความชุดที่
๒ ที่ต้องเรียกว่าจิปาถะก็คงเป็นเพราะเป็นการรวมบทความเรื่องราวต่าง
ๆ ทาง ไฟฟ้า เครื่องกล โยธา
สำรวจ และการบริหาร
ในมุมมองของวิศวกรเคมีผู้หนึ่ง
ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดบทความฉบับ
pdf
จากลิงค์ข้างล่างได้เลยครับ
ดาวน์โหลดไฟล์ได้ที่ลิงก์นี้ MO Memoir รวมบทความชุดที่ ๒ จิปาถะงานช่าง (ปรับปรุงครั้งที่ ๒ พฤหัสบดีที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น