เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนชนิดท่อสองชั้นเป็นเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนที่มีโครงสร้างเรียบง่าย
แบบที่ง่ายที่สุดที่เคยเห็นตัวช่างเชื่อมท่อก็ทำกันเองหน้างานได้ด้วยการเอาท่อเล็กสอดเข้าไปในท่อใหญ่
(โดยให้ท่อเล็กนั้นยาวกว่าท่อใหญ่)
เอา
cap
ของท่อใหญ่มาเจาะรูตรงกลางให้ท่อเล็กสอดผ่านได้พอดี
ทำการเจาะรูบนผิวท่อใหญ่ที่ปลายคนละด้านโดยให้รูเจาะนั้นอยู่ฝั่งตรงข้ามกัน
จากนั้นก็ทำการเชื่อม cap
เข้ากับผิวด้านนอกของท่อเล็กและปลายท่อใหญ่
เชื่อมต่อข้อต่อสำหรับให้ของเหลวเข้า-ออกในท่อใหญ่
ก็เป็นอันเสร็จ
ที่เคยเห็นนั้นเป็นท่อสำหรับลำเลียงของเหลวที่หนืดหรือแข็งตัวได้ง่ายที่อุณหภูมิต่ำ
จึงจำเป็นต้องทำให้ท่อร้อนตลอดเวลา
การทำ steam
tracing ไม่สามารถให้ความร้อนที่เพียงพอได้
เขาก็เลยออกแบบท่อนั้นเป็นท่อให้เป็นครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนชนิดท่อสองชั้นที่วางต่อ
ๆ กันไปตามแนวเดินท่อ
เอาไอน้ำเข้าทางด้านบน
และเอาไอน้ำที่ควบแน่น
(steam
condensate ออกทางด้านล่าง)
(ดังรูปบนในรูปที่
๑)
การเดินท่อแบบนี้ไปตาม
pipe
rack จะเดินท่อเป็นระยะทางยาวไกล
ๆ ก็ไม่เป็นไร
(การทำ
steam
tracing นั้นไอน้ำจะไหลอยู่ในท่อเล็กที่พันรอบท่อใหญ่
ความร้อนจากไอน้ำควบแน่นจะต้องไหลผ่านผนังท่อเล็ก
ผ่านจุดสัมผัสระหว่างผนังท่อเล็กและผนังท่อใหญ่
ผ่านผนังท่อใหญ่
ก่อนส่งผ่านให้กับของเหลวที่ไหลอยู่ในท่อใหญ่
แต่ในกรณีของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนชนิดท่อสองชั้นนั้น
ไอน้ำที่ควบแน่นส่งผ่านความร้อนให้กับผนังท่อชั้นในโดยตรง
และพื้นที่ถ่ายเทความร้อนให้กับผนังท่อชั้นในก็สูงกว่าด้วย)
ในกรณีที่ต้องการใช้เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนชนิดท่อสองชั้นทำหน้าที่เป็นหน่วยแลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างสองสาย
ก็สามารถนำเอาท่อสองชั้นดังกล่าวมาวางเรียงซ้อนกันหลาย
ๆ ชั้นซ้อนกันสูงขึ้นไปและ/หรือมาต่อขนานกันทางด้านข้างหลาย
ๆ แถว
ในกรณีเช่นนี้เครื่องแลกเปลี่ยนควาร้อนชนิดท่อสองชั้นมีข้อดีคือสามารถทำการเพิ่มหรือลดพื้นที่ถ่ายเทความร้อนได้ง่ายด้วยการเพิ่มจำนวนท่อที่ต่อซ้อนกัน
ไม่เหมือนกับกรณีของ shell
and tube heat exchanger ที่ไม่สามารถทำแบบเดียวกันนี้ได้
รูปที่
๑ เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบท่อสองชั้น
(Double
Pipe Heat Exchanger) อาจเป็นการเรียงต่อยาวไปเรื่อย
ๆ ตามแนวท่อที่เดิน (รูปบน)
หรือนำมาซ้อนกันโดยให้มีการไหลวน
(รูปล่าง)
ข้อเสียอย่างหนึ่งของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนชนิดท่อสองชั้นคือไม่สามารถทำความสะอาดช่องทางการไหลในส่วน
shell
(ระหว่างท่อด้านและด้านนอก)
ด้วยวิธีทางกลได้
(เช่นการขัดหรือฉีดด้วยน้ำความดันสูง)
เพราะส่วนปิดหัว-ท้ายของท่อนอกต้องถูกเชื่อมยึดเข้ากับผนังด้านนอกของท่อในเพื่อป้องกันการรั่วซึม
ถ้าจะล้างก็คงต้องใช้วิธีทางเคมี
(เอาสารเคมีเข้าไปละลายออกมา)
ดังนั้นจึงควรเลือกของเหลวที่สะอาดให้ไหลด้าน
shell
รูปที่
๒ เป็นตัวอย่างของ Data
Sheet สำหรับ
Double
Pipe Heat Exchanger ที่เป็นเอกสารเก่าอายุก็กว่า
๓๐ ปีแล้ว
แต่ก็เชื่อว่ายังเป็นประโยชน์สำหรับวิศวกรมือใหม่ในปัจจุบัน
จะได้มองเห็นรายละเอียดอื่น
ๆ นอกเหนือไปจากตำราเรียน
(ที่มักจะสอนกันเฉพาะการคำนวณหาขนาดพื้นที่แลกเปลี่ยนความร้อน)
โดยจะขอบรรยายเป็นบรรทัด
ๆ ไป (เอาเท่าที่พอจะรู้นะ
เพราะผมเองก็ไม่ได้รู้รายละเอียดไปซะทุกบรรทัดเหมือนกัน)
บรรทัดที่
1
และ
2
เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับ
ลูกค้า ชื่ออุปกรณ์ ที่ตั้งโรงงาน
และผู้ผลิตเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน
บรรทัดที่
3-5
เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับหน้าที่การงานของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน
ว่าใช้งานกับหน่วยใด
วางในแนวนอนหรือแนวดิ่ง
ขนาน การเชื่อมต่อ
(หลายชุดต่อแบบขนานหรือต่อแบบอนุกรม)
พื้นที่แลกเปลี่ยนความร้อนทั้งหมด
พื้นที่แลกเปลี่ยนความร้อนต่อหน่วย
(หน่วยในที่นี้อาจเป็นเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนชนิดท่อสองชั้นเพียงท่อเดียว
หรือเป็นชุดของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนชนิดท่อสองชั้นหลายท่อที่ต่อเชื่อมกันอยู่)
บรรทัดที่
7-26
เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับของเหลวที่ไหลอยู่ในส่วน
Shell
คือภายในท่อด้านนอกและส่วน
Tube
คือภายในท่อด้านใน
ไม่ว่าจะเป็นชนิดของไหล
(เป็นไปได้ทั้งของเหลวและแก๊ส)
อัตราการไหล
อุณหภูมิเข้า-ออก
ความถ่วงจำเพาะ ความหนืด
น้ำหนักโมเลกุลทั้งส่วนที่เป็นไอและของเหลวที่ควบแน่น
ความร้อนจำเพาะ ค่าการนำความร้อน
ค่าความร้อนแฝง ความดันด้านขาเข้า
ความเร็วเชิงเส้นในการไหล
ค่าความดันลด และค่าปัจจัยความสกปรก
(fouling
factor)
บรรทัดที่
27-28
เป็นข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณความร้อนที่ทำการแลกเปลี่ยน
และอัตราการถ่ายเทความร้อน
บรรทัดที่
29-37
เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้าง
ไม่ว่าจะเป็นค่าความดันสำหรับการออกแบบและการทดสอบ
อุณหภูมิที่ใช้ในการออกแบบ
จำนวนเที่ยวการไหลผ่านของแต่ละชุด
ระดับการกัดกร่อนที่ยอมรับได้
ชนิด รูปแบบ และตำแหน่งติดตั้งจุดต่อท่อ
บรรทัดที่
38-40
เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับท่อเส้นใน
ไม่ว่าจะเป็น ขนาด ความหนา
ความยาว ระยะห่าง มีครีบด้วยหรือไม่
(ช่วยเพิ่มพื้นที่ถ่ายเทความร้อนกับของไหลที่อยู่ในท่อเส้นนอก)
และวัสดุที่ใช้
บรรทัดที่
41-42
เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับท่อเส้นนอก
ไม่ว่าจะเป็น ขนาด ความหนา
ความยาว แต่จะไม่มีครีบเหมือนท่อเส้นใน
บรรทัดที่
43-44
อันนี้ไม่แน่ใจ
แต่สงสัยว่าคงเป็นกรณีที่มีการนำมาเรียงซ้อนและต่อเข้าด้วยกัน
บรรทัดที่
45
เกี่ยวกับมาตรฐานที่จะใช้ในการออกแบบ
บรรทัดที่
46
เกี่ยวกับน้ำหนักเปล่า
(สำคัญสำหรับการขนส่ง)
และน้ำหนักเมื่อมีน้ำเติมเต็ม
(สำคัญสำหรับการออกแบบฐานรองรับน้ำหนักอุปกรณ์)
รูปที่
๒ ตัวอย่าง Data
sheet สำหรับเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนชนิดท่อสองชั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น