เนื้อหาในเอกสารฉบับนี้เป็นการบันทึกการประชุมย่อยเมื่อช่วงเช้าวันนี้
เรื่องปัญหาการหาพื้นที่พีค
NH3
จากเครื่อง
GC-2014
ECD & PDD
๑.
การปรับความปริมาณ
NH3
ที่ฉีดเข้าคอลัมน์ในการสร้าง
calibration
curve
๑.๑
"ปริมาณ"
ในที่นี้คือผลคูณระหว่าง
"ความเข้มข้น"
กับ
"ปริมาตร"
๑.๒
ในการสร้าง calibration
curve นั้นเราต้องฉีดสารที่ทราบ
"ปริมาณ"
ที่แน่นอน
ที่ "ปริมาณ"
ต่าง
ๆ กัน เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างสัญญาณ
(พื้นที่พีค)
กับ
"ปริมาณ"
สารที่ฉีด
๑.๓
ในกรณีของเครื่อง GC-2014
ECD & PDD ที่เราใช้นั้น
การปรับความปริมาณ NH3
ที่ฉีดเข้าคอลัมน์ในการสร้าง
calibration
curve เราใช้วิธีการเปลี่ยน
"ความเข้มข้น"
ของ
NH3
ในแก๊ส
และเปลี่ยน "ปริมาตร"
ของ
sampling
loop
๑.๔
เรามี sampling
loop อยู่สองขนาดคือ
0.1
ml และ
0.5
ml ที่ใช้ในการสร้าง
calibration
curve แต่ในการวิเคราะห์ตัวอย่างนั้นเราจะใช้ขนาด
0.5
ml เท่านั้น
๑.๕
เราสร้างจุดแรกของ calibration
curve ได้โดยใช้แก๊ส
NH3
เข้มข้น
120
ppm และ
sampling
loop ขนาด
0.5
ml
๑.๖
จากนั้นเราสร้างจุดที่สองของ
calibration
curve ได้โดยยังคงใช้แก๊ส
NH3
เข้มข้น
120
ppm แต่เปลี่ยนขนาด
sampling
loop เป็นขนาด
0.1
ml ซึ่งการฉีดแก๊สเข้มข้น
120
ppm ปริมาตร
0.1
ml จะเทียบเท่ากับการฉีดแก๊สเข้มข้น
24
ppm ปริมาตร
0.5
ml
๑.๗
ในการสร้างจุดที่สามและจุดที่สี่นั้น
เดิมผมแนะนำให้ทำซ้ำแบบข้อ
๑.๕
และ ๑.๖
แต่ให้ปรับความเข้มข้นของ
NH3
เป็น
80
ppm ซึ่งก็จะทำให้ได้จุดเทียบเท่ากับการฉีดแก๊สเข้มข้น
80
ppm ปริมาตร
0.5
ml และการฉีดแก๊สเข้มข้น
16
ppm ปริมาตร
0.5
ml
๑.๘
จากการตรวจสอบข้อมูลที่ได้จากการฉีดตามแบบข้อ
๑.๗
นั้น ผมสงสัยว่าข้อมูลอาจจะมีปัญหา
และอาจต้องทำการตรวจสอบใหม่
๑.๙
ปัญหาที่ผมสงสัยคือในการปรับความเข้มข้น
NH3
เป็น
80
ppm นั้น
เราจำเป็นต้องลดอัตราการไหลของ
NH3
ให้ต่ำลงไปอีก
แต่การทำงานของ mass
flow controller
นั้นอาจจะควบคุมการไหลได้ไม่ดีในช่วงที่ใกล้ปิดเต็มที่หรือใกล้เปิดเต็มที่
๑.๑๐
mass
flow controller ที่เราใช้กับ
NH3
นั้นควบคุมการไหลในช่วง
0-10
และเราได้เคยสร้าง
calibration
curve เอาไว้ในช่วง
1-5
ในการทดลองตามปรกติที่ความเข้มข้น
NH3
120 นั้น
เราตั้ง mass
flow controller ไว้ที่ไม่ถึง
1.1
ซึ่งเรียกว่าอยู่ติดขอบเขตล่างสุดของ
calibration
curve ที่เราสร้าง
และอาจอยู่ที่ขอบเขตล่างสุดที่
mass
flow controller ยังคงทำงานได้ดี
๑.๑๑
ดังนั้นเมื่อเราลดอัตราการไหลของ
NH3
ลงเพื่อให้ได้ความเข้มข้น
NH3
80 ppm เราต้องตั้งค่าที่
mass
flow controller ให้ต่ำกว่า
1.0
ซึ่งทำให้ผมสงสัยว่าอาจจะมีปัญหาในการควบคุมอัตราการไหลได้
๑.๑๒
ดังนั้นเพื่อเป็นการทดสอบหรือหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าว
ผมจึงเสนอให้ใช้วิธีการปรับความเข้มข้นของ
NH3
ที่ฉีดแทน
แต่ให้ใช้ sampling
loop ขนาด
0.1
ml ในการฉีด
๑.๑๓
เช่นอาจปรับความเข้มข้นของ
NH3
ในแก๊สเป็น
240
ppm และฉีดด้วย
sampling
loop ขนาด
0.1
ml ซึ่งจะเทียบเท่ากับการฉีดแก๊ส
NH3
เข้มข้น
48
ppm ด้วย
sampling
loop ขนาด
0.5
ml
๑.๑๔
ในทำนองเดียวกันถ้าเราทำตามแบบข้อ
๑.๑๓
แต่เปลี่ยนความเข้มข้น NH3
เป็น
360
ppm และฉีดด้วย
sampling
loop ขนาด
0.1
ml ซึ่งจะเทียบเท่ากับการฉีดแก๊ส
NH3
เข้มข้น
72
ppm ด้วย
sampling
loop ขนาด
0.5
ml ดังนั้นเราก็จะได้จุดข้อมูลเทียบเท่ากับการฉีด
NH3
ปริมาตร
0.5
ml ที่ความเข้มข้น
NH3
4 จุดด้วยกันคือ
24
48 72 และ
120
ppm
๑.๑๕
เมื่อนำข้อมูลที่ได้จากข้อ
๑.๗
ไปเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ได้ในข้อ
๑.๑๔
ก็น่าจะทำให้เราบอกได้ว่าจุดข้อมูล
16
และ
80
ppm นั้นมีปัญหาหรือไม่
๒.
การคำนวณพื้นที่พีค
NH3
จากโครมาโทแกรม
บันทึกนี้เป็นการปรับเปลี่ยนวิธีการลากเส้น
base
line และการทำ
peak
fitting ทดแทนวิธีการที่ได้กล่าวไว้ใน
Memoir
ปีที่
๔ ฉบับที่ ๔๐๗ วันพฤหัสบดีที่
๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ เรื่อง
"GC-2014
ECD & PDD ตอนที่
๑๘ การคำนวณพื้นที่พีค NH3"
โดยขอให้ทดลองใช้วิธีการที่จะกล่าวต่อไปนี้แทน
๒ก
ตำแหน่งการลาก base
line
๒.๑
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
ด้วยการลากเส้น base
line ตามวิธีการที่กล่าวในบันทึกฉบับที่
๔๐๗ และทำ peak
fitting พีค
NH3
นั้นพบว่าพีค
NH3
ที่ได้จากการทำ
peak
fitting จะสิ้นสุดที่เวลาประมาณ
2.45
นาที
๒.๒
ในกรณีที่ความเข้มข้น NH3
ต่ำนั้น
พบว่าการลากเส้น base
line และการทำ
peak
fitting ตามวิธีการกล่าวในบันทึกฉบับที่
๔๐๗ จะให้พื้นที่พีคของ NH3
ค่อนข้างสูง
รูปที่
๑ แนวลากเส้น base
line ของพีค
NH3
โดยเปลี่ยนตำแหน่งเวลาขอบเขตด้านขวาจากเดิมที่
3.5
นาทีเป็น
2.45
นาทีตรงตำแหน่งลูกศรสีน้ำเงิน
(โปรแกรมที่ใช้คือ
fityk
0.9.8)
ส่วนขอบเขตซ้ายยังคงอยู่ที่ตำแหน่งสัญญาณเริ่มวกกลับตรงลูกศรสีเขียว
๒.๓
ดังนั้นจึงขอปรับเปลี่ยนตำแหน่งจุดลากเส้น
base
line โดยที่ขอบเขตด้านขวาของพีค
NH3
ยังคงเป็นตำแหน่งที่สัญญาณเริ่มมีการวกกลับเหมือนเดิม
แต่ขอบเขตด้านขวาให้เปลี่ยนเป็นตำแหน่งที่เวลา
2.45
นาที
(รูปที่
๑)
๒.๔
หลังจากที่ตัด base
line เรียบร้อยแล้ว
ให้เติมพีคที่ 1
เข้าไปก่อนด้วยคำสั่ง
auto-add
โดยใช้ฟังก์ชัน
SplitGaussian
จากนั้นกดปุ่ม
Starting
fitting 1 ครั้ง
(รูปที่
๒)
รูปที่
๒ หลังการเติมพีคที่ 1
และกดปุ่ม
Starting
fitting 1 ครั้ง
เส้นสีเหลืองคือสัญญาณรวม
จุดสีเขียวคือข้อมูลดิบ
พีคที่ใส่เข้าไปเป็นเส้นสีแดง
แต่ในขณะนี้โดยเส้นสัญญาณรวม
(เส้นสีเหลือง)
ทับอยู่
๒.๕
เติมพีคที่ 2
ด้วยคำสั่ง
auto-add
โดยใช้ฟังก์ชัน
SplitGaussian
และกดปุ่ม
Starting
fitting 1 ครั้ง
(รูปที่
๓)
รูปที่
๓ หลังการเติมพีคที่ 2
และกดปุ่ม
Starting
fitting 1 ครั้ง
เส้นสีเหลืองคือสัญญาณรวม
จุดสีเขียวคือข้อมูลดิบ
เส้นสีแดงคือพีคแต่ละพีคที่เติมเข้าไป
๒.๖
เติมพีคที่ 3
ด้วยคำสั่ง
auto-add
โดยใช้ฟังก์ชัน
SplitGaussian
และกดปุ่ม
Starting
fitting 1 ครั้ง
(รูปที่
๔)
รูปที่
๔ หลังการเติมพีคที่ 3
และกดปุ่ม
Starting
fitting 1 ครั้ง
จะเห็นว่าบริเวณในกรอบสีส้มนั้นยังมีความแตกต่างจากข้อมูลดิบอยู่มาก
๒.๗
เติมพีคที่ 4
ด้วยคำสั่ง
auto-add
โดยใช้ฟังก์ชัน
SplitGaussian
และกดปุ่ม
Starting
fitting 1 ครั้ง
(รูปที่
๕)
รูปที่
๕ หลังการเติมพีคที่ 4
และกดปุ่ม
Starting
fitting 1 ครั้ง
ที่นี้จะเห็นว่าสัญญาณรวมในบริเวณกรอบสีส้มจะเข้าได้ดีกับข้อมูลดิบแล้ว
๒.๘
พีคที่ ๔
ที่เติมเข้าไปนี้ผมคิดว่าเป็นสัญญาณส่วนต้นของพีคที่อยู่ถัดจากพีค
NH3
โดยสังเกตจากการลดลงของช่วงหางพีค
NH3
ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับจะโป่งนูนขึ้นเล็กน้อย
ทำให้สงสัยว่าสัญญาณช่วงท้ายของโครมาโทแกรมช่วงที่เราตัดมานั้นเป็นสัญญาณช่วงท้ายของพีค
NH3
ที่ซ้อนทับอยู่กับสัญญาณช่วงต้นของพีคที่อยู่ถัดไป
ดังนั้นในการทำ peak
fitting จึงควรต้องทำการ
fit
peak เข้ากับสัญญาณรวมก่อน
จากนั้นจึงตัดสัญญาณที่คิดว่าเป็นสัญญาณส่วนต้นของพีคที่อยู่ถัดไป
(พีคที่
4
ที่เติมเข้าไป)
ออก
๒.๙
หลังจากที่ทำตามขั้นตอนในข้อ
๒.๗
แล้ว ให้ทำการลบพีคที่ 4
ออก
จะได้ผลรวมสัญญาณของ 3
พีคแรก
(เส้นกราฟสีเหลืองในรูปที่
๖)
ซึ่งผมเห็นว่าการลาดลงในช่วงเวลาตั้งแต่
2.3
นาทีเป็นต้นไปของเส้นสีเหลือง
(พีคที่ได้จากการทำ
peak
fitting)
มีลักษณะที่เป็นธรรมชาติใกล้เคียงกับพีคปรกติที่ไม่ซ้อนทับกับพีคอื่น
(ตามแนวเส้นประสีน้ำเงิน)
มากกว่าพีคข้อมูลดิบ
(จุดสีเขียวที่ลดลงตามแนวเส้นประสีเขียว)
๒.๑๐
พื้นที่พีค NH3
คำนวณโดยเอาพื้นที่พีคย่อยทั้ง
3
มารวมกัน
ซึ่งในตัวอย่างนี้คือ (132869
+ 7927.33 + 12689.1 = 153485.43)
รูปที่
๖ หลังการตัดพีคที่ 4
ออก
๓.
การสร้าง
calibration
curve
๓.๑
เมื่อตอนเช้าผมได้กล่าวถึงข้อสงสัยของผมเอาไว้ว่า
ที่ปริมาณ NH3
เป็นศูนย์นั้น
พื้นที่พีค NH3
ที่ได้จาก
GC
นั้นจะเป็นศูนย์ด้วยหรือไม่
๓.๒
การที่ปริมาณ NH3
เป็นศูนย์นั้นเกิดได้สองกรณี
กรณีแรกเกิดจากการที่เราไม่ป้อน
NH3
เข้าระบบ
ซึ่งในกรณีนี้ผมคิดว่าพื้นที่พีค
NH3
ที่ได้จาก
GC
ควรมีค่าเป็นศูนย์
๓.๓
กรณีที่สองเกิดจากการที่เราป้อน
NH3
เข้าระบบ
และ NH3
ถูกใช้ไปจนหมด
ในกรณีนี้ถ้าหาก NH3
ของเรานั้นมีสารปนเปื้อน
(ซึ่งสารปนเปื้อนนั้นไม่ทำปฏิกิริยาและมาพร้อมกับ
NH3
ในถัง)
และพีคสารปนเปื้อนดังกล่าวซ้อนทับกับพีค
NH3
เราก็อาจเป็นพื้นที่พีคไม่เป็นศูนย์ก็ได้
(คือสัญญาณจาก
NH3
หมดไป
แต่สัญญาณจากสารปนเปื้อนยังคงอยู่)
๓.๔
แต่เท่าที่สังเกตจากการทำ
peak
fitting ที่ความเข้มข้นต่างกันนั้น
ผมคิดว่าที่ปริมาณ NH3
เป็นศูนย์นั้น
พื้นที่พีค NH3
ที่ได้จาก
GC
ควรจะเป็นศูนย์ด้วย
๓.๕
ในการทำ curve
fitting ของกราฟระหว่างพื้นที่พีคกับความเข้มข้น
NH3
นั้น
ไม่จำเป็นต้องเป็นกราฟเส้นตรง
แต่ถ้าพิจารณาแล้วคิดว่าการใช้กราฟเส้นตรงที่ยังคับให้ผ่านจุดศูนย์ดูแล้วไม่เข้ากับข้อมูล
ก็ให้ทดลองใช้ฟังก์ชัน
polynomial
อันดับ
2
ดูก็ได้
(โดยบังคับให้ผ่านจุดศูนย์)
เรื่องงานในฉบับนี้คงพอแค่นี้ก่อน
แล้วค่อยว่ากันใหม่อีกที