ฝนชะช่อมะม่วง
น.
ฝนที่ตกเล็กน้อยประปรายในเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม
ซึ่งเป็นระยะที่มะม่วงออกช่อพอดี,
ฝนชะลาน
ก็เรียก.
ฝนชะลาน
น.
ฝนชะช่อมะม่วง
ชาวนาเรียก ฝนชะลาน
เพราะมักตกในเวลาที่ยังนวดข้าวไม่เสร็จ.
นิยมของคำทั้งสองผมเอามาจากพจนานุกรม
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.
๒๕๒๕
หน้า ๕๖๘
ตอนเด็ก
ๆ เวลาเรียนวิชาภูมิศาสตร์นั้น
คุณครูจะสอนว่าในหน้าหนาวประเทศไทยจะได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจากประเทศจีน
ในหน้าฝนจะได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากทะเลอันดามัน
แต่เวลาที่มีพายุดีเปรสชั่นเข้าประเทศทีไร
มันมาทางตะวันออกทุกที
แล้วตำราก็ไม่เห็นกล่าวถึงเลย
เรื่องพายุมาทางตะวันออกนี้ขอพักเอาไว้ก่อน
กลับมาเรื่องฝนที่จั่วหัวเรื่องเอาไว้ก่อนดีกว่า
ในช่วงหน้าหนาว
(เริ่มเดือนพฤศจิกายน)
แกนของโลกด้านซีกโลกเหนือจะเอนออกจากดวงอาทิตย์
กลางวันจะสั้นกว่ากลางคืน
แสงอาทิตย์จะตกเฉียงกับพื้นผิวโลกมากขึ้น
ทำให้ซีกโลกด้านเหนือมีอากาศเย็นลง
ในแถบบ้านเราจะมีการเกิดหย่อมความกดอากาศสูง
(พวกที่มีความดันสูงกว่าความดันบรรยากาศปรกติ)
ขึ้นในประเทศจีน
ซึ่งถ้ามีกำลังแรงมากก็จะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศที่อยู่ต่ำกว่า
เช่นประเทศไทย ได้
หย่อมความกดอากาศสูงนี้เป็นอากาศที่แห้งและเย็น
ในช่วงหน้าร้อนแกนของโลกด้านซีกโลกเหนือจะเอาเข้าหาดวงอาทิตย์
กลางวันจะยาวกว่ากลางคืน
แสงอาทิตย์ตกทำมุมใกล้กับมุมฉากมากขึ้น
อากาศก็เลยร้อน
เวลาพื้นดินร้อนจากแสงแดดที่ตกกระทบ
มันก็เพียงแค่ทำให้เกิดอากาศร้อนลอยตัวขึ้น
แต่เวลาทะเลหรือมหาสมุทรได้รับความร้อนจากแสงแดด
น้ำจะระเหยขึ้นเป็นไอน้ำลอยขึ้นไปสะสมในชั้นบรรยากาศ
พอมันสะสมมากขึ้นเรื่อย
ๆ มันก็รวมกันเป็นก้อนเมฆ
พอได้ขนาดมากพอมันก็เลยตกกลายเป็นฝน
ซึ่งกว่าจะสะสมได้มากพอก็ต้องรอจนถึงตอนเย็น
รูปที่
๑ (ซ้าย)
หน้าหนาวของซีกโลกด้านเหนือ
ขั้วโลกด้านเหนือหันออกจากดวงอาทิตย์
(ขาว)
แต่พอถึงหน้าร้อนของซีกโลกด้านเหนือ
โลกจะหันขั้วโลกด้านเหนือเข้าหาดวงอาทิตย์
ดังนั้นจึงอย่าแปลกใจที่ว่าในบางช่วงของปี
ตอนเช้าจะดูอากาศดี
แต่ตอนบ่ายหรือค่ำจะมีฝนตก
เพราะต้องใช้เวลาทั้งกลางวันในการต้มน้ำทะเลให้กลายเป็นไอด้วยแสงอาทิตย์
ซึ่งกว่าจะได้ไอน้ำมากพอเป็นเมฆฝนได้
ก็ตกเย็นพอดี
ลมที่พัดจากทะเลทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นลมที่ร้อนชื้น
ในขณะที่ลมที่พัดมาจากจีนเป็นลมที่แห้งและเย็น
เมื่อลมทั้งสองมาปะทะกันก็จะเกิดเป็นพายุฝนฝ้าคะนองหรือมีลูกเห็บตก
(ไอน้ำพอเจอความเย็นมันก็กลายเป็นหยดน้ำแค่นั้นเอง)
ในช่วงเปลี่ยนจากฤดูฝนเป็นฤดูหนาวนั้น
ช่วงแรก ๆ จะเกิดขึ้นทางตอนเหนือของประเทศไทยก่อน
แต่พอหย่อมความกดอากาศสูงมีกำลังแรงขึ้นเรื่อย
ๆ
แนวปะทะระหว่างลมตะวันออกเฉียงเหนือและลมตะวันตกเฉียงใต้ก็จะเคลื่อนลงใต้
จนไปทำให้เกิดเป็นแนวฝนตกหนักและคลื่นลมแรงในภาคใต้ของประเทศ
แต่พอเปลี่ยนจากฤดูหนาวเป็นฤดูร้อน
หย่อมความกดอากาศสูงจากประเทศจีนมีกำลังอ่อนลง
แนวปะทะระหว่างลมตะวันออกเฉียงเหนือและลมตะวันตกเฉียงใต้ก็จะเคลื่อนขึ้นเหนือ
ทำให้เกิดเป็นพายุฤดูร้อนและพายุลูกเห็บ
ซึ่งมักเกิดขึ้นประมาณช่วงนี้ของทุกปี
บังเอิญช่วงนี้มะม่วงกำลังออกดอกซะด้วย
ที่หวาดเสียวคือกลัวว่ากิ่งมะม่วงจะหัก
ทำให้อดกินมะม่วง
ดอกมะม่วงนั้น
บางทีมันออกทั้งต้นและอาจไม่เป็นผลเลย
กลายเป็นใบไปหมด
แต่ก่อนจะเห็นชาวสวน
(หรือที่บ้านผมเอง)
เวลาจะทำให้มะม่วงออกดอกเป็นผลเยอะ
ๆ ก็จะใช้วิธี "รมควัน"
ต้นมะม่วง
โดยการเอาใบไม้มาสุมกองใต้โคนต้น
และก่อไฟเผาให้เป็นควัน
(อย่าให้เป็นเปลวไฟร้อนนะ
แทนที่จะได้กินจะกลายเป็นว่ามะม่วงจะตายซะก่อน)
เลือกทิศทางลมให้ควันลอยเข้าหาต้นมะม่วง
ไม่รู้เหมือนกันว่าเป็นการให้ปุ๋ยทางใบหรือเปล่า
เพราะคิดว่าในควันคงมีคาร์บอนไดออกไซด์เยอะ
และยังอาจมีแก๊สตัวอื่นที่เกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ที่อาจมีผลต่อการติดผลของมะม่วงก็ได้
(ที่ผมรู้ก็คือเอทิลีนกับอะเซทิลีนเร่งการสุกของผลไม้)
แต่ที่รู้แน่
ๆ ก็คือมันใช้ได้ผล
ตอนเด็ก
ๆ
ก็เคยได้ผู้ใหญ่อธิบายว่าการรมควันเป็นการหลอกให้ต้นไม้รู้สึกว่ามันใกล้ตาย
มันจะได้ออกผลเพื่อที่จะขยายพันธ์ต่อไป
อันนี้ก็ไม่รู้ว่าเป็นเหตุผลเดียวกับการที่ห้ามรดน้ำต้นไม้หรือเปล่า
เพราะว่ามีพืชบางชนิดเหมือนกันถ้าเราอยากให้มันออกดอกออกผลก็จำเป็นต้องหยุดการรดน้ำ
เพราะถ้ารดน้ำมันทุกวันจะทำให้มันออกแต่ใบ
ใครที่รอบบ้านมีพื้นที่พอปลูกไม้ใหญ่ได้
ผมเชื่อว่าสำหรับบ้านส่วนใหญ่แล้วต้นมะม่วงมักจะต้องอยู่ในรายชื่อแรก
ๆ ที่จะเอามาปลูก
จนผมคิดว่าเราน่าจะเอาต้นมะม่วงเป็นต้นไม้ประจำชาตินะ
ทีนี้ก็ถึงเวลาของฝนที่มาทางตะวันออกบ้าง
พื้นน้ำที่กว้างใหญ่ทางด้านตะวันออกของคาบสมุทรอินโดจีนคือทะเลจีนใต้และมหาสมุทรแปซิฟิก
แต่เนื่องจากมหาสมุทรแปซิฟิกมีขนาดกว้างใหญ่กว่า
ดังนั้นจึงมีการเกิดการระเหยของน้ำที่มากกว่าและเกิดการรวมตัวเป็นก้อนเมฆได้ง่ายกว่า
ด้วยเหตุนี้เวลาที่เกิดพายุจึงมักจะเกิดในมหาสมุทรแปซิฟิกก่อน
โดยเกิดทางทิศตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์
ในทางอุตุนิยมวิทยานั้นจำแนกความรุนแรงของพายุโดยใช้
"ความเร็วลม"
เป็นหลัก
ซึ่งพายุที่มีความเร็วลมสูงมากไม่จำเป็นต้องทำให้ฝนตกหนักมาก
และพายุที่ทำให้ฝนตกหนักมากก็ไม่จำเป็นต้องมีความเร็วลมสูงมาก
ด้วยการใช้เกณฑ์ความเร็วลมดังกล่าว
ทำให้จำแนกพายุออกเป็นประเภทได้เป็น
๓ ประเภทคือ
พายุดีเปรสชั่น
(Depression)
คือพายุที่มีความเร็วลมต่ำกว่า
63
km/hr (หรือ
34
knots)
พายุโซนร้อน
(Tropical
storm) คือพายุที่มีความเร็วลมระหว่าง
63
- 118 km/hr
พายุไต้ฝุ่น
(Typhoon)
คือพายุที่มีความเร็วลมสูงกว่า
118
km/hr (หรือ
64
knots)
พายุดีเปรสชั่นเมื่ออ่อนกำลังลงจะกลายเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ
ซึ่งก็ยังทำให้ฝนตกได้อยู่
เริ่มแรกนั้นจะเกิดเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำก่อน
เมื่อมีกำลังแรงขึ้นก็จะกลายเป็นพายุดีเปรสชั่น
และถ้ามีกำลังแรงขึ้นไปอีกก็จะกลายเป็นพายุโซนร้อน
พอระดับความแรงถึงขั้นพายุโซนร้อนเมื่อใดก็จะมีการตั้งชื่อให้กับพายุนั้น
การตั้งชื่อพายุนั้นจะมีชื่อเป็นตัวเลขกำกับ
และชื่อเรียก
ชื่อที่เป็นตัวเลขจะนำหน้าด้วยเลขสี่ตัวแรกที่เป็นเลขปีค.ศ.
และเลขสองตัวหลังที่บอกว่าเป็นพายุลูกที่เท่าใดของปีค.ศ.นั้น
เช่นพายุ 200621
DURIAN คือพายุลูกที่
21
ที่เกิดในปีค.ศ.
2006 มีชื่อว่า
"ทุเรียน"
ความรุนแรงของพายุจะขึ้นอยู่กับว่าอยู่ในทะเลนานเท่าใด
และอยู่ในเขตร้อนนานเท่าใด
ถ้าอยู่ในทะเลเป็นเวลานานและอยู่ในเขตร้อนเป็นเวลานาน
พายุก็จะมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น
(เพราะมีน้ำระเหยเข้าไปเติมได้เรื่อย
ๆ)
แต่ถ้าขึ้นบกเมื่อไรก็จะอ่อนกำลังลง
พายุที่เกิดทางด้านทิศตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์จะเคลื่อนตัวมาทางตะวันตก
แต่เนื่องจากการที่โลกหมุนจึงทำให้เกิดแรงแรงโคริโอลิส
(Coriolis
force)
ซึ่งทำให้พายุที่เกิดขึ้นใกล้เส้นศูนย์สูตรนั้นเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกพร้อม
ๆ กับการเฉียงขึ้นไปทางด้านทิศเหนือ
จนเกิดการวกกลับเป็นการเคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อเคลื่อนไปทางประเทศญี่ปุ่น
ถ้าพายุนั้นเกิดใกล้ประเทศฟิลิปปินส์
ก็มักจะเคลื่อนที่เข้าประเทศฟิลิปินส์เป็นประเทศแรก
แต่ถ้าเกิดห่างออกไป
พายุลูกนั้นก็มันจะเคลื่อนตัวโค้งออกไปจากประเทศฟิลิปปินส์และอาจไปเข้าประเทศญี่ปุ่นแทน
แต่ถ้าเกิดที่เส้นรุ้งสูงขึ้นไปก็อาจจะไม่เข้าฝั่งเลยก็ได้
การเคลื่อนที่ของพายุที่เคลื่อนผ่านประเทศฟิลิปปินส์เข้ามาทางคาบสมุทรอินโดจีนนั้นยังได้รับอิทธิพลจากหย่อมความกดอากาศสูงจากประเทศจีน
ถ้าหย่อมความกดอากาศสูงจากประเทศจีนมีกำลังแรง
หย่อมความกดอากาศสูงนั้นก็จะกดไม่ให้พายุเคลื่อนที่ขึ้นเหนือไปได้
พายุลูกนั้นก็จะดูเหมือนกับเคลื่อนที่ไปทางตะวันออก
โดยอาจค่อนไปทางทิศเหนือเล็กน้อย
ซึ่งก็มักจะเข้าประเทศเวียดนาม
และสลายตัวเป็นพายุดีเปรสชั่นและหย่อมความกดอากาศต่ำตามลำดับ
พายุพวกนี้มักจะส่งผลกระทบต่อฝนตกในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
แต่ถ้าหย่อมความกดอากาศสูงจากประเทศจีนมีกำลังต่ำ
พายุก็จะเคลื่อนที่ขึ้นเหนือได้มากขึ้น
และอาจไปขึ้นฝั่งที่เกาะไหหลำหรือประเทศจีนตอนใต้แทน
ซึ่งพวกนี้มักไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย
พายุที่ขึ้นฝั่งทางภาคใต้ของประเทศไทยได้นั้นมักจะเกิดในทะเลจีนใต้และเกิดใกล้เส้นศูนย์สูตร
พายุเหล่านี้จึงสามารถอ้อมใต้แหลมญวนมาขึ้นฝั่งที่ภาคใต้ของประเทศไทยได้
รูปที่
๒ เส้นทางเดินพายุที่เข้าภาคใต้ของประเทศไทย
๓ ลูกคือ ปีพ.ศ.
๒๕๐๕
พายุ 196225
HARRIET เข้าที่แหลมตะลุมพุก
ปีพ.ศ.
๒๕๑๕
พายุ 197229
SALLY เข้าที่ชุมพรผ่านไปทางระนอง
และปีพ.ศ.
๒๕๓๒
พายุ 198929
GAY เข้าที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ภาพจาก www.digital-typhoon.org
รูปที่
๒ เป็นเส้นทางเดินของพายุที่เคยเข้าภาคใต้ประเทศไทย
๓ ลูกคือ HARRIET
ที่ขึ้นฝั่งที่แหลมตะลุมพุกเมื่อปีพ.ศ.
๒๕๐๕
พายุ SALLY
ที่เข้าที่จังหวัดชุมพรในปีพ.ศ.
๒๕๑๕
และพายุไต้ฝุ่น GAY
ที่ขึ้นฝั่งที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในปีพ.ศ.
๒๕๓๒
จะเห็นว่าพายุเหล่านี้เกิดในทะเลจีนใต้ทั้งสิ้น
ภาพเส้นทางเดินพายุในรูปที่
๒ และรูปอื่น ๆ ใน Memoir
นี้ผมเอามาจาก
www.digital-typhoon.org
ซึ่งต้องไปคลิกที่ฐานข้อมูลของเว็บดังกล่าว
แล้วให้เขาวาดรูปขึ้นมา
(ถ้าไปค้นหารูปในเว็บจะไม่เจอ
ต้องใช้วิธีค้นฐานข้อมูลพายุที่เคยเกิดในบริเวณดังกล่าว)
จุดสีน้ำเงินเป็นแนวทางเดินของหย่อมความกดอาศต่ำหรือพายุดีเปรสชั่น
พอทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อน
(มีชื่อเรียกแล้ว)
เขาก็จะเปลี่ยนเป็นจุดสีเขียว
พอทวีกำลังขึ้นไปอีกเป็นภายุไต้ฝุ่นก็จะเปลี่ยนเป็นจุดสีเหลืองและจุดสีแดงตามลำดับ
ในทางกลับกันพอพายุอ่อนกำลังลงก็จะถอยกลับจากสีแดง
เป็นสีเหลือง เขียว และน้ำเงิน
พวกนี้เขาจะมีฐานข้อมูลความกดอากาศที่ศูนย์กลางพายุ
ณ ตำแหน่งต่าง ๆ ที่พายุเคลื่อนที่ไป
แต่ถ้าเป็นฐานข้อมูลรุ่นเก่าเขาจะไม่มีข้อมูลการเปลี่ยนแปลงความกดอากาศ
จะมีแต่เฉพาะข้อมูลความกดอากาศต่ำสุด
ดังนั้นพอมันเริ่มเป็นพายุเขาก็จะแทนที่ด้วยจุดสีฟ้า
ปีพ.ศ.
๒๕๓๘
เป็นอีกปีหนึ่งที่มีน้ำท่วมหนัก
ว่ากันว่าปริมาณน้ำมากเหมือนปีพ.ศ.
๒๕๕๔
แต่ระดับน้ำที่ท่วมนั้นต่ำกว่ากันเยอะมาก
พื้นที่ที่โดนน้ำท่วมในกรุงเทพนั้นกินบริเวณกว้าง
แต่รถเก๋งก็ยังวิ่งได้
ในปีนั้นมีพายุเกิดขึ้นทั้งหมดในย่านมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลจีนใต้
๒๓ ลูก
แต่มีเพียงไม่กี่ลูกเท่านั้นที่เคลื่อนที่มาถึงตอนใต้ของจีนหรือตอนเหนืองของเวียดนาม
รูปที่
๓ เส้นทางพายุที่เกิดในมหาสมุทรแปซิฟิกในปีพ.ศ.
๒๕๓๘
(๒๓
ลูก)
ภาพจาก
www.digital-typhoon.org
พายุจะเกิดทางด้านตะวันออก
และเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกพร้อมกับค่อย
ๆ เบนขึ้นเหนือไปเรื่อย ๆ
(ทิศตามเข็มนาฬิกา)
พายุที่ก่อตัวทางด้านตะวันออกของเส้นแวงที่
135
องศาตะวันออกมักจะมีความรุนแรงในระดับไต้ฝุ่น
เนื่องจากมีเวลาอยู่ในทะเลนาน
แต่พายุเหล่านี้มักจะไปขึ้นฝั่งทางประเทศจีนหรือประเทศญี่ปุ่น
น้อยรายที่จะมาถึงเวียดนาม
ช่วงเดือนที่แล้วได้ยินข่าวคนพูดกันว่าปีนี้จะมีพายุเข้าประเทศไทยไทย
๒๐ ลูก ผมได้ยินแล้วก็งง
เพราะสถิติที่ผ่านมานั้นบริเวณบ้านเรานั้นมีพายุเกิดขึ้นเฉลี่ยเพียง
๒๐ กว่าลูกต่อปีเท่านั้นเอง
และบางปีก็เกิดน้อยมาก
เช่นปีพ.ศ.
๒๕๕๓
ที่มีการเกิดพายุเพียง ๑๔
ลูกเท่านั้นเอง
เรียกว่าน้อยเป็นประวัติการณ์เลย
ในที่นี้ก็เลยถือโอกาสค้นข้อมูลย้อนหลังจากเว็บ
www.digital-typhoon.org
เอามาให้ดูว่า
ตั้งแต่ปีพ.ศ.
๒๕๔๙
(ที่มีน้ำท่วมเหมือนกัน)
จนถึงปีพ.ศ.
๒๕๕๔
นั้น บริเวณแถวบ้านเรามีพายุเกิดขึ้นกี่ลูก
(รูปที่
๔ ถึง ๙)
รูปที่
๔ เส้นทางพายุที่เกิดในมหาสมุทรแปซิฟิกในปีพ.ศ.
๒๕๔๙
(๒๓
ลูก)
ภาพจาก
www.digital-typhoon.org
รูปที่
๕ เส้นทางพายุที่เกิดในมหาสมุทรแปซิฟิกในปีพ.ศ.
๒๕๕๐
(๒๔
ลูก)
ภาพจาก
www.digital-typhoon.org
รูปที่
๖ เส้นทางพายุที่เกิดในมหาสมุทรแปซิฟิกในปีพ.ศ.
๒๕๕๑
(๒๒
ลูก)
ภาพจาก
www.digital-typhoon.org
รูปที่
๗ เส้นทางพายุที่เกิดในมหาสมุทรแปซิฟิกในปีพ.ศ.
๒๕๕๒
(๒๒
ลูก)
ภาพจาก
www.digital-typhoon.org
รูปที่
๘ เส้นทางพายุที่เกิดในมหาสมุทรแปซิฟิกในปีพ.ศ.
๒๕๕๓
(๑๔
ลูก)
ภาพจาก
www.digital-typhoon.org
รูปที่
๙ เส้นทางพายุที่เกิดในมหาสมุทรแปซิฟิกในปีพ.ศ.
๒๕๕๔
(๒๑
ลูก)
ภาพจาก
www.digital-typhoon.org
ถ้าดูรูปที่
๗ เทียบกับรูปที่ ๙ จะเห็นว่าในปีพ.ศ.
๒๕๕๒
มีพายุที่เข้ามาถึงฝั่งประเทศเวียดนามมากกว่าปีพ.ศ.
๒๕๕๔
เสียอีก
ซึ่งพายุเหล่านี้จะส่งผลต่อฝนตกในภาคเหนือและภาคอีสานตอนบน
แต่ปีพ.ศ.
๒๕๕๒
เราไม่มีปัญหาน้ำท่วม
ดังนั้นผมจึงเชื่อว่าปัญหาเรื่องน้ำท่วมหนักในปีพ.ศ.
๒๕๕๔
ไม่ได้เกิดจากการที่มีฝนตกหนักเพียงอย่างเดียว
(เพราะที่ผ่านมามันเคยมีตกหนักมากกว่านั้น
แต่มันก็ไม่ท่วมมากเหมือนปีพ.ศ.
๒๕๕๔)
สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงในปีที่แล้วน่าจะเกิดจากการจัดการน้ำที่ไม่เหมาะสมมากกว่า
ผมรู้สึกว่าบ้านเราผู้สื่อข่าวทำข่าวโดยใช้การ
"ถาม"
เพียงอย่างเดียว
คือทำหน้าที่ไป "ถาม"
คนอื่นแล้วก็เอามารายงานต่อว่าคนอื่นเขาพูดว่าอย่างไร
ไม่มีการทำการบ้านก่อนด้วยการ
"สืบค้นข้อมูล"
เรื่องที่จะไปถาม
ทั้ง ๆ ที่ในปัจจุบันสามารถสืบค้นข้อมูลหลาย
ๆ เรื่องได้ทางอินเทอร์เน็ต
ถ้ามีการสืบค้นข้อมูลก่อนก็จะรู้ได้ว่าคนที่เขาไปถามนั้น
"รู้เรื่อง"
นั้นดีแค่ไหน
ผลที่ตามมาก็คือปล่อยให้มีการเข้าใจกันแบบผิด
ๆ ไปกันก่อน
จากนั้นจึงค่อยมีคนมาชี้แจงแก้ไขความเข้าใจที่ผิดนั้น
ซึ่งก็ทำได้เพียงบางส่วนเท่านั้นเอง