Memoir
ฉบับนี้เป็นบันทึกการปรับแต่งการทำงานของเครื่อง
GC-2014
ECD & PDD ในส่วนของ
ECD
เพื่อตรวจวัด
NO
โดยเป็นตอนต่อจาก
Memoir
ปีที่
๔ ฉบับที่ ๔๖๘ วันเสาร์ที่
๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๕ เรื่อง
"GC-2014
ECD & PDD ตอนที่
๒๔ ตำแหน่งพีค NO
และ
N2O
(ปรับแต่ง
๑)"
ซึ่งยังคงเป็นผลงานของสาวน้อยร้อยห้าสิบเซนต์
(คนใหม่)
กับสาวน้อยหน้าบาน
(คนใหม่)
ที่ได้จากการทดลองซ้ำและตรวจสอบหลายรูปแบบในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
ต้องยอมรับว่าการปรับแต่งในส่วนของ
ECD
นี้ได้ให้บทเรียนใหม่
ๆ แก่พวกเราเยอะเหมือนกัน
โดยปรกติที่เคยเจอมานั้น
(กับ
packed
column ทั่วไป)
เวลาที่เราต้องการจะให้สารออกจากคอลัมน์เร็วขึ้นเราอาจทำได้โดยการ
(ก)
เพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้น
หรือ (ข)
เพิ่มอัตราการไหลของ
carrier
gas ให้สูงขึ้น
การเพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้นจะทำให้การดูดซับของสารในแก๊สบนพื้นผิวนั้นแย่ลง
สัดส่วนสารที่อยู่ในเฟสแก๊สจะสูงขึ้น
สารก็จะเคลื่อนตัวออกจากคอลัมน์ได้เร็วขึ้น
ส่วนการเพิ่มอัตราการไหลของ
carrier
gas
ก็จะช่วยพัดพาให้สารที่อยู่ในเฟสแก๊สเคลื่อนออกพ้นคอลัมน์ได้เร็วขึ้น
แต่สำหรับ
micro
packed column (O.D. 1/8") ที่เราใช้แยก
NO
ออกจาก
O2
และ
N2O
นั้นดูเหมือนว่าจะมีกลไกการแยกอยู่สองรูปแบบ
กล่าวคือดูเหมือนคอลัมน์จะแยก
N2O
ออกจาก
NO
และ
O2
ด้วยกลไกการดูดซับ
โดยตัวคอลัมน์จะจับ N2O
ได้ดีกว่า
NO
และ
O2
( N2O มีความเป็นขั้วที่แรงกว่า
NO
และ
O2)
ส่วนการแยก
NO
และ
O2
ออกจากกันนั้นน่าจะเป็นการแยกตามจุดเดือด
(จุดเดือดของ
N2
คือ
-196ºC
จุดเดือดของ
O2
คือ
-183ºC
และ
จุดเดือดของ NO
คือ
-164ºC)
โดย
O2
จะออกนำหน้า
NO
อยู่เล็กน้อย
(เราใช้
N2
เป็น
carrier
gas เราจึงไม่มีพีค
N2
และ
ECD
ก็ไม่ตอบสนองต่อ
N2
ด้วย)
สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเราเพิ่มอุณหภูมิ
oven
ให้สูงขึ้นคือ
N2O
จะออกมาเร็วขึ้น
แต่ดูเหมือน NO
และ
O2
จะออกมาช้าลง
สาเหตุที่
NO
และ
O2
ออกมาช้าลงเป็นเพราะแก๊สสองตัวนี้ถูกดูดซับได้น้อย
ดังนั้นจะออกมาพร้อมกับความเร็วของ
carrier
gas
การเพิ่มอุณหภูมิ
oven
ให้สูงขึ้นจะทำให้
carrier
gas มึความหนืดสูงมากขึ้น
ประกอบกับการที่คอลัมน์ที่เราใช้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง
1/8"
ซึ่งจัดว่าเล็ก
ดังนั้นจึงทำให้อัตราเร็ว
(ความเร็วเชิงเส้น
-
m/s) ของ
carrier
gas ในคอลัมน์ลดต่ำลง
ดังนั้นถ้าเราต้องการให้
NO
และ
O2
ออกจากคอลัมน์เร็วขึ้น
เราก็ต้อง "ลด"
อุณหภูมิ
oven
ให้ลดต่ำลง
ซึ่งในขณะนี้เราได้ลดอุณหภูมิ
oven
ลงเหลือ
50ºC
และปรับเพิ่มความดันที่
APC1
เป็น
240
kPa
ผลที่ออกมาเป็นอย่างไรนั้นแสดงไว้ในรูปที่
๑ ในหน้าถัดไปแล้ว
รูปที่
๑
โครมาโทแกรมจากการทดลองเมื่อวานตอนเย็นของสาวน้อยร้อยห้าสิบเซนต์
(คนใหม่)
กับสาวน้อยหน้าบาน
(คนใหม่)
เส้นสีดำคือแก๊ส
NO
(800 ppm) ใน
N2
ส่วนสีม่วงคืออากาศ
อุณหภูมิ oven
คือ50ºC
และปรับเพิ่มความดันที่
APC1
เป็น
240
kPa ขนาด
sampling
loop 0.5 ml ตอนนี้ดูเหมือนว่ามีสิทธิ์ลุ้นแล้วว่าน่าจะแยกพีค
NO
ออกจาก
O2
ได้
งานต่อไปที่ต้องทำคือต้องทดสอบโดยการลดความเข้มข้น
NO
ให้ต่ำลงไปอีก
(ระดับ
10
ppm หรือต่ำกว่า)
แต่จากขนาดสัญญาณที่ได้ผมก็สงสัยอยู่เหมือนกันว่าอาจต้องมีรายการเพิ่มขนาดของ
sampling
loop ให้สูงกว่า
0.5
ml อีก