เนื้อหาในบันทึกฉบับนี้เกี่ยวข้องกับบทเรียนของกลุ่มเราที่ได้บันทึกเอาไว้
Memoir
ปีที่
๓ ฉบับที่ ๒๗๒ วันศุกร์ที่
๑๘ มีนาคม ๒๕๕๔ เรื่อง "GC-2014
FPD กับระบบ
DeNOx
ตอนที่
๔ ผลกระทบจากออกซิเจน"
ตอนนั้นเราได้เห็นผลกระทบจากการวางแนวท่อที่ไม่เหมาะสม
ทำให้เมื่อเราวัดความเข้มข้นของ
SO2
ด้วยเครื่อง
Gas
chromatograph (GC) เราจึงมีปัญหาเรื่องตรวจไม่พบแก๊ส
SO2
แม้จะเห็นว่า
mass
flow controller ทำงานเป็นปรกติโดยให้อัตราการไหลที่นิ่ง
สิ่งที่แก้ไขไปในตอนนั้นคือได้ทำการปรับแต่งแนวท่อ
(แบบชั่วคราว)
เพียงเล็กน้อย
ก็สามารถแก้ไขเรื่องความเข้มข้นที่ไม่แน่นอนของ
SO2
ที่
GC
ตรวจวัดได้
แต่ต่อมาภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงแนวท่อ
(เพื่อให้มันดูเรียบร้อยขึ้น)
ประกอบกับไม่ได้มีการวิเคราะห์การออกซิไดซ์
SO2
ไปเป็น
SO3
ชึ่งในช่วงดังกล่าวเน้นการวิเคราะห์โดยใช้เครื่อง
NOx
analyzer NOA-7000
ซึ่งเครื่องดังกล่าวทำการดูดแก๊สตัวอย่างเข้ามาวิเคราะห์อย่างต่อเนื่อง
ค่าที่แสดงจึงเป็นค่าเฉลี่ยในช่วงเวลาหนึ่ง
รูปที่
๑ การเดินท่อผสมแก๊สก่อนทำการปรับปรุง
NO
ต้องไหลมาบรรจบกับ
NH3
ก่อนที่จะเข้าบรรจบกับ
N2
(ลูกศรสีเขียว)
ส่วน
O2
(ตัวซ้ายสุด)
นั้นในกรณีที่ไม่มีการผสมน้ำจะไหลมารวมกับ
SO2
ก่อน
แล้วจึงมาบรรจบกับ N2
(ลูกศรสีน้ำเงิน)
แต่ถ้าเป็นกรณีที่มีการผสมน้ำ
O2
จะถูกปรับให้ไหลไปทาง
Saturator
และเข้าบรรจบกับสาย
N2
ที่อยู่ทางด้านหลังก่อนเข้า
reactor
ส่วน
SO2
จะไหลเข้าบรรจบกับ
N2
ด้วยตัวมันเอง
พอเปลี่ยนมาใช้
GC-2014
ECD & PDD วิเคราะห์ปริมาณ
NO
ความแตกต่างข้อหนึ่งที่สำคัญคือ
GC
นั้นจะใช้ตัวอย่างแก๊สที่เก็บมา
ณ ช่วงขณะหนึ่งในปริมาณน้อย
ๆ (แก๊สในระบบของเราไหลด้วยอัตรา
200
ml/min แต่เราใช้ตัวอย่างวิเคราะห์เพียงแค่
0.1
ml) ดังนั้นถ้าองค์ประกอบของแก๊สถ้าดูละเอียด
ณ ช่วงเวลาใด ๆ แล้วไม่สม่ำเสมอ
GC
ก็จะมองเห็น
ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาทางกลุ่มเราได้ทำการทดลองหาวิธีการเก็บตัวอย่างที่เหมาะสมสำหรับการวิเคราะห์ปริมาณ
NO
ในแก๊สขาออกจาก
reactor
งานดังกล่าวเริ่มจากการหาตำแหน่งพีค
NO
และหาภาวะการทำงานที่เหมาะสมของเครื่อง
GC
(เรื่องนี้จะนำมาเล่าโดยละเอียดอีกที)
โดยในระหว่างช่วงงานดังกล่าวเรากระทำโดยการต่อแก๊สตรงจากถังแก๊สเข้าระบบวาล์วเก็บตัวอย่างของเครื่อง
GC
งานในช่วงถัดมาคือการทดสอบการเก็บแก๊สตัวอย่างจากระบบการทดลอง
โดยได้เริ่มทำการทดลองจากการให้แก๊สผสมไหลผ่านระบบ
reactor
จากนั้นจึงทำการดึงเอาแก๊สผสมนั้นมาวิเคราะห์ด้วยเครื่อง
GC
โดยเริ่มจากการใช้แก๊ส
NO
ผสมเพียงตัวเดียวก่อน
จากนั้นจึงทำการเจือจางด้วยการใช้แก๊ส
N2
เพื่อดูว่า
GC
ของเราสามารถวัดความเข้มข้น
NO
ได้ต่ำเพียงใด
ซึ่งตรงจุดนี้ทำให้ทางกลุ่มเราได้ทำการปรับปรุงระบบเก็บแก๊สตัวอย่างใหม่
(เปลี่ยนจากสายยางมาเป็นระบบท่อและวาล์วโลหะ)
และผลการทดสอบระบบดังกล่าวก็พบว่าทำงานได้เป็นที่น่าพอใจ
จากนั้นจึงเพิ่มแก๊ส
O2
ผสมเข้าไป
เพื่อดูว่าพีคของ O2
ซึ่งเป็นพีคขนาดใหญ่มากและนำอยู่หน้าพีค
NO
(พีค
NO
จะอยู่บนส่วนหางของพีค
O2)
จะก่อปัญหาในการระบุพีค
NO
หรือไม่
ซึ่งงานตรงส่วนนี้ทำให้เราพบว่าถ้าใช้
sampling
loop ขนาด
0.5
ml จะทำให้พีค
O2
นั้นเบียดพีค
NO
มาก
แม้ว่าสัญญาณพีค NO
จะแรงก็ตาม
การใช้ sampling
loop ขนาด
0.1
ml นั้นแม้จะให้พีค
NO
ที่มีขนาดเล็กกว่า
5
เท่า
แต่ก็ให้รูปร่างพีคที่ดีกว่าและแยกห่างจากพีค
O2
มากกว่า
ดังนั้นในขณะนี้จึงจะทำการวัดปริมาณ
NO
โดยใช้
sampling
loop ขนาด
0.1
ml
รูปที่
๒ การเดินท่อผสมแก๊สหลังทำการปรับปรุง
ตอนนี้แก๊ส NO
NH3 และ
SO2
ต่างไหลตรงเข้าท่อ
N2
ส่วน
O2
นั้นต้องให้ไหลผ่านทาง
saturator
เพียงอย่างเดียว
ไม่ว่าจะมีการผสมไอน้ำหรือไม่ก็ตาม
(ถ้าไม่ต้องการผสมไอน้ำก็ไม่ต้องเติมน้ำเข้าไปใน
saturator)
การศึกษาผลกระทบของพีค
O2
ที่มีต่อพีค
NO
ทำให้เราพบปรากฎการณ์หนึ่งในทำนองเดียวกับที่ได้เล่าไว้ในบันทึกฉบับที่
๒๗๒ กล่าวคือเมื่อเพิ่มอัตราการไหลของ
O2
ให้มากขึ้นเรื่อย
ๆ พบว่าพีค NO
เกิดการหายไปกระทันหันทั้ง
ๆ ที่ mass
flow controller ของ
NO
นั้นยังแสดงการไหลปรกติอยู่
ดังนั้นเมื่อเช้าวันพฤหัสบดีที่
๑๒ กรกฎาคม ที่ผ่านมา
เราจึงได้ทำการปรับปรุงแนวท่อแก๊สเสียใหม่
จากของเดิมในรูปที่ ๑ ที่
NO
กับ
NH3
นั้นต้องไหลมารวมกันก่อนที่จะไหลเข้าท่อแก๊ส
N2
กลายเป็นให้แก๊สแต่ละตัวไหลเข้าท่อแก๊ส
N2
โดยตรง
โดยไม่ต้องมารวมกันก่อน
ซึ่งก็ได้ระบบท่อดังแสดงในรูปที่
๒ จากนั้นก็ทำการทดสอบการผสมแก๊สใหม่
พบว่า .....
ยังไม่พบพีค
NO
เหมือนเดิม
แต่เมื่อทดลองให้แก๊ส
O2
นั้นไหลผ่านทาง
saturator
กลับพบว่าวัดปริมาณ
NO
ในแก๊สผสมได้ตามที่คาดการณ์ไว้
ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ทำการปรับแต่งส่วนอื่น
ทำเพียงแค่สับวาล์วเปลี่ยนเส้นทางการไหลของแก๊ส
O2
เท่านั้นเอง
ดังนั้นในขณะนี้เราจึงได้ข้อสรุปว่าต้องให้แก๊ส
O2
ไหลในเส้นทางผ่าน
saturator
สาเหตุที่เกิดปัญหาผมสงสัยว่าเป็นเพราะอัตราการไหลของแก๊ส
O2
ก็ค่อนข้างมาก
(ประมาณ
30
ml/min) และจุดที่ท่อ
O2
เข้าบรรจบท่อ
N2
นั้น
"อยู่ก่อนถึงจุดบรรจบของท่อแก๊ส
NO
เพียงเล็กน้อย"
ทำให้ความดันผันผวนที่เกิดจากการที่แก๊สที่มีอัตราการไหลสูงสองเส้นทางมาบรรจบกันส่งผลต่อการไหลของแก๊ส
NO
ที่อยู่ถัดไปที่มีอัตราการไหลต่ำกว่ามาก
(ประมาณ
1-3
ml/min) ทำให้แม้ว่าแก๊ส
NO
จะไหลผ่าน
mass
flow meter อย่างต่อเนื่อง
แต่จะไหลเข้าผสมกับแก๊สผสม
N2
+ O2 อย่างเป็นจังหวะ
จุดที่แก๊ส
O2
ที่ไหลผ่าน
saturator
มาบรรจบกับท่อแก๊สผสมที่มี
N2
เป็นตัวพามานั้นอยู่ห่างออกไป
โดยไปอยู่เหนือทางเข้า
reactor
ประกอบกับการไหลในเส้นท่อแก๊สผสมที่มี
N2
เป็นตัวพามานั้นมีค่าสูง
(ประมาณ
170
ml/min) ทำให้ความดันผันผวนที่เกิดจากแก๊ส
O2
(+ ไอน้ำ
ถ้ามี)
เข้าผสมกับแก๊สผสมที่มี
N2
เป็นตัวพามานั้นไม่ส่งผลกระทบต่อระบบที่อยู่ทางด้านต้นทางการไหล
เรื่องที่เขียนมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเหตุการณ์หลาย
ๆ อย่างที่ทางกลุ่มเราได้ประสบในช่วง
๒ สัปดาห์ที่ผ่านมา
ซึ่งพอระบบทุกอย่างทำงานได้เรียบร้อยก็คงจะมีการเขียนสรุปเหตุการณ์ทุกอย่างที่เกิดขึ้นอีกที
สิ่งที่น่าเสียดายคือในช่วงที่ผ่านมานั้นไม่มีนิสิตปี
๑ เข้ามาร่วมสังเกตการณ์ด้วยเลย
(ทั้ง
ๆ ที่เรียนแค่วันละ ๓ ชั่วโมงเอง
และก็เรียนแค่ ๔ วันต่อสัปดาห์
แต่ทางสาวน้อยหน้าบาน
(คนใหม่)
และสาวน้อยร้อยห้าสิบเซนต์
(คนใหม่)
ต่างมาทำงานแต่เช้าจนค่ำทุกวัน
ซึ่งในช่วงที่ผ่านมากเชื่อว่าทั้งสองคนนั้นได้ประสบการณ์การทำงานจริงที่มีคุณค่ามา
เพราะได้เห็นว่าการแก้ปัญหาต่าง
ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้ใช้ความรู้เกินกว่าระดับป.ตรีที่เรียนกันมาเลย
เพียงแต่เราจะตั้งสมมุติฐานที่มาของปัญหาได้หรือไม่
และจะทำการทดสอบสมมุติฐานเหล่านั้นอย่างไร
เหตุการณ์ที่ต่อเนื่องจากเช้าวันวานไปจนถึงช่วงหัวค่ำของคืนวันศุกร์ที่ผ่านมาก็เรียกได้ว่าคืบหน้าไปมาก
เหลือเพียงบางสิ่งที่ต้องลุ้นต่อในเช้าวันจันทร์เท่านั้นว่าจะผ่านพ้นไปได้หรือไม่