สัญญาณหลายชนิดที่ออกมาจากตัวตรวจวัดต่าง
ๆ ของอุปกรณ์ที่ใช้ในห้องแลปเรานั้น
(เช่น
GC
XRD NH3-TPD หรือ
TGA)
ถ้าเรานำมาขยายจะพบว่ามีลักษณะเป็นเส้นที่ไม่เรียบ
มีการเต้นไปเต้นมาที่เรียกว่าสัญญาณรบกวนหรือ
noise
อยู่ในระดับหนึ่ง
(สมมุติว่าให้มีขนาด
N)
โดยทั่วไปถ้าการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณ
(Signal)
นั้นมีขนาดไม่มากเกินกว่า
2
เท่าของขนาดของ
noise
ก็ไม่ควรถือว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญ
ที่มาของ
noise
นั้นมาจากหลายแหล่ง
ขึ้นอยู่กับว่าอุปกรณ์วัดนั้น
sensitive
ต่อการเปลี่ยนแปลงของอะไรบ้าง
ปรกติถ้าเราตั้งค่าความไว
(sensitivity)
ของตัวตรวจวัด
(detector)
ให้สูง
(กล่าวคือไวต่อการเปลี่ยนแปลงน้อย
ๆ)
noise ก็จะมากตามไปด้วย
ขนาดของ
noise
ประมาณได้จากขนาดการเปลี่ยนแปลงของเส้น
base
line ระหว่างค่าสูงสุดถึงค่าต่ำสุด
แต่ทั้งนี้ก็ต้องไม่นำค่าที่ลดต่ำลงผิดปรกติหรือขึ้นไปสูงผิดปรกติเมื่อเทียบกับตำแหน่งอื่น
ๆ ของสัญญาณ
และก็ต้องระวังการอ่านค่าที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วผิดปรกติด้วย
(เช่นกระโดยสูงขึ้นหรือลดต่ำลงกระทันหัน)
เพราะบ่อยครั้งพบว่าการเปลี่ยนแปลงที่เห็นว่ามีการกระชากขึ้นหรือลดอย่างรวดเร็วนั้นมีสาเหตุจากระบบไฟฟ้าของอุปกรณ์หรือระบบจ่ายไฟ
การอ่านสัญญาณจะถือว่ามีการเปลี่ยนแปลงก็ต่อเมื่อขนาดของสัญญาณ
(Signal)
ต่อขนาดของสัญญาณรบกวน
(Noise)
ที่เรียกว่า
Signal
to noise ratio หรือ
S/N
นั้นต้องมีค่ามากกว่า
2
รูปที่
๑ โครมาโทแกรมที่ได้จาก
GC-2014
ECD & PDD ทั้งสองเส้นเป็นสัญญาณจาก
Electron
Capture Detector (ECD) ที่ขยายขึ้นมา
จะสังเกตเห็นว่ามีพีคอยู่
๑ ตำแหน่งตรงลูกศรสีเขียวชี้
แต่การอ่านว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเมื่อค่า
S/N
นั้นอยู่ใกล้
2
ก็ต้องระวังเหมือนกัน
ไม่ใช่ว่าเห็นอะไรที่มันเปลี่ยนแปลงเยอะ
ๆ ก็ตีความหมายว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญไปหมด
รูปที่
๑ เป็นโครมาโทแกรมที่ได้จากการวิเคราะห์แก๊สผสมระหว่าง
NOx
(เข้มข้นระดับ
ppm)
ในแก๊สไนโตรเจนโดยใช้ตัวตรวจวัดชนิด
Electron
Capture Detector (ECD) จุดที่เป็นที่สงสัยคือในการวิเคราะห์ครั้งแรก
(เส้นสีดำ)
นั้นมีสิ่งที่สงสัยว่าจะเป็นพีคหรือไม่เกิดขึ้นที่เวลาประมาณ
14.5
นาที
(ตรงลูกศรสีเขียว)
จึงได้ทำการวิเคราะห์ซ้ำอีกครั้ง
(เส้นสีม่วง)
จากการเปรียบเทียบโครมาโทแกรมทั้งสองจะเห็นว่าถ้าเป็น
noise
แล้ว
ตำแหน่งที่เกิดเหมือนพีคและขนาดที่เห็นนั้นจะไม่ซ้ำเดิม
แต่ถ้าเป็นพีคการเปลี่ยนแปลงจะเห็นตำแหน่งที่เริ่มเกิด
ตำแหน่งสูงสุด ตำแหน่งสิ้นสุด
และขนาดนั้นประมาณเหมือนกัน
ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบโครมาโทแกรมทั้งสองเส้นแล้วสามารถสรุปได้ว่าการเปลี่ยนแปลงที่เห็น
ณ ตำแหน่งเวลาประมาณ 14.5-15.0
นาทีนั้นเป็นพีคเล็ก
ๆ
เคยเจอหลายครั้งแล้วที่ผู้ทำงานวิจัยต้องการให้มีพีค
ณ ตำแหน่งที่ตนเองต้องการ
ถึงกับเอา noise
มาขยายและพยายามอ่าน
noise
ให้เป็นพีค
(แม้ไม่ได้อ่านสัญญาณเองก็ยังบังคับให้นิสิตที่ทำการทดลองให้ต้องไปหาพีคมาให้ได้)
อีกพวกหนึ่งก็คือจะใช้
software
(ซึ่งอาจเป็นโปรแกรมที่มากับอุปกรณ์หรือดาวน์โหลดมาจากที่อื่น)
ทำ
base
line ให้เรียบ
พอเห็นตำแหน่งไหนไม่ราบเรียบก็จะอ่านเป็นพีคทันที
แต่โปรแกรมที่ทำ
base
line ให้เรียบนั้นมักจะลบ
noise
ขนาดเล็กออกไป
แต่ noise
ขนาดใหญ่ยังคงอยู่
มีครั้งหนึ่งมีคนมาถามผมว่าสัญญาณของเขาถ้าเอาไปทำ
deconvolution
(การแยกสัญญาณที่เห็นว่าว่าประกอบด้วยพีคย่อยขนาดเท่าใด
อยู่ที่ตำแหน่งไหนบ้าง
รวมกันอยู่)
จะได้พีคตรงตำแหน่งที่เขาต้องการหรือไม่
ผมก็ตอบกลับไปว่าสัญญาณแบบนี้ต้องการจะให้มีพีคตรงไหนก็ได้ทั้งนั้น
เพราะมันเป็น noise
แต่ที่หนักที่สุดคือไม่ว่าจะทำอย่างไรมันก็ไม่มีพีคตรงตำแหน่งที่ต้องการ
ก็บอกให้นิสิตที่ดูแลเขียนลงไปเลยว่าพบพีคที่ตำแหน่งดังกล่าว
เพื่อจะได้นำผลการวิเคราะห์
(ที่มั่วขึ้นมาเอง)
ดังกล่าว
ส่งไปตีพิมพ์บทความในวารสารวิชาการนานาชาติ