สำหรับการเรียนอินทรีย์เคมีนั้น
สารตัวแรกที่เรียนกันหรือมักปรากฏในบทแรก
ๆ ของตำราคือไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัว
ซึ่งอาจเรียกว่าเป็น saturated
hydrocarbon หรืออัลเคน
(alkane)
หรือในตำราเก่า
ๆ จะเรียกว่า paraffin
คำว่า
paraffin
นี้มาจากคำภาษาละติน
parum
ซึ่งแปลว่า
"ไม่ดึงดูด"
หรือ
"เฉื่อย"
นั่นเอง
ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของสารประกอบตระกูลนี้ที่ไม่ค่อยทำปฏิกิริยากับสารอื่นได้ง่าย
เว้นแต่กับสารที่มีความว่องไวสูงเช่นธาตุในหมู่ฮาโลเจน
ถ้าเราไปเปิดดูตำราในส่วนของการทำปฏิกิริยากับธาตุฮาโลเจนของอัลเคนนั้น
จะเห็นว่าเน้นการยกตัวอย่างปฏิกิริยากับ
Cl2
หรือ
Br2
เป็นหลัก
ส่วนปฏิกิริยากับ F2
หรือ
I2
นั้นไม่ค่อยได้รับการกล่าวถึง
ทั้งนี้เป็นเพราะปฏิกิริยาของอัลเคนกับ
F2
โดยตรงนั้นเกิดขึ้นรุนแรง
ยากแก่การควบคุม ในขณะที่
I2
ไม่ทำปฏิกิริยากับอัลเคน
ปฏิกิริยาระหว่างอัลคีนกับฮาโลเจนภาษาอังกฤษเรียกว่า
halogenation
การดำเนินไปข้างหน้าของปฏิกิริยานั้นอยู่ในรูปของอนุมูลอิสระ
(free
radical) ตัวอย่างเช่นปฏิกิริยาระหว่าง
CH4
กับ
Cl2
มีการดำเนินไปของปฏิกิริยาดังนี้
ในขั้นตอนแรกเป็นการกระตุ้นให้โมเลกุล
Cl2
แตกออกเป็นอะตอม
Cl
ก่อนโดยใช้แสงหรือความร้อนช่วย
ขั้นตอนที่สองเป็นขั้นตอนที่อะตอม
Cl
ที่เกิดขึ้นไปดึงอะตอม
H
ออกจากโมเลกุล
CH4
เกิดเป็น
HCl
และ
methyl
free radical
ขั้นตอนที่สามเป็นขั้นตอนที่ methyl free radical ทำปฏิกิริยากับโมเลกุล Cl2 อีกอะตอมหนึ่ง เกิดเป็นสารประกอบ monochloromethane กับอะตอม Cl ที่สามารถไปทำปฏิกิริยากับโมเลกุล CH4 โมเลกุลอื่นในขั้นตอนที่สอง
ข้อมูลในตารางที่ ๑ แสดงการเปลี่ยนแปลงพลังงานของปฏิกิริยา Halogenation ของ CH4 กับธาตุฮาโลเจนต่าง ๆ จะเห็นว่าในกรณีของ I2 นั้นแม้ว่าพลังงานที่ต้องใช้ในการทำให้โมเลกุลไอโอดีนแตกออกเป็นอะตอมไอโอดีนจะไม่มากเหมือนกรณีของคลอรีน แต่พลังงานที่ต้องใช้ในการทำให้เกิด methyl free radical ด้วยอะตอมไอโอดีนนั้นสูงกว่าธาตุฮาโลเจนตัวอื่นมาก ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ในภาวะปรกติ I2 จะไม่ทำปฏิกิริยา halogenation กับสารประกอบอัลเคน การเตรียมสารประกอบ alkyl iodide จึงต้องใช้วิธีการอื่นที่ไม่ใช่การ halogenation โดยตรง
ส่วนกรณีของ
F2
นั้น
ในขั้นตอนที่ 2
และ
3
นั้นมีการคายพลังงานออกมามาก
จึงทำให้ปฏิกิริยาระหว่างอัลเคนกับ
F2
เกิดขึ้นรุนแรง
ยากต่อการควบคุม
เรื่องของฟลูออรีนนี้เคยกล่าวไว้ใน
Memoir
ปีที่
๒ ฉบับที่ ๙๒ วันจันทร์ที่
๒๑ ธันวาคม พ.ศ.
๒๕๕๒
เรื่อง "ฟลูออรีนหายไปไหน"
ครั้งหนึ่งแล้ว
ปฏิกิริยาของอีเทน
(ethane
- H3C-CH3)
กับคลอรีน
ก็ดำเนินไปในรูปแบบเดียวกันดังนี้
ทีนี้เราลองมาพิจารณากรณีของโพรเพน (propane - H3C-CH2-CH3) กันบ้าง สำหรับการเกิดปฏิกิริยาในขั้นตอนที่ 2 และขั้นตอนที่ 3
ในกรณีของโพรเพน
ตำแหน่งอะตอม H
ที่สามารถทำปฏิกิริยาในขั้นตอนที่
2
นั้นมีอยู่ด้วยกัน
2
ตำแหน่ง
ตำแหน่งแรกคืออะตอม H
ที่อยู่ที่อะตอม
C
ตัวกลาง
(หมู่
methylene
หรือ
-CH2-)
ซึ่งมีอะตอม
H
อยู่
2
ตัว
ตำแหน่งที่สองคืออะตอม H
ที่อยู่ที่อะตอม
C
ที่ปลายโซ่ทั้งสองข้าง
(หมู่
methyl
หรือ
-CH3)
ซึ่งมีอะตอม
H
อยู่
6
ตัว
ถ้าปฏิกิริยาในขั้นตอนที่
2
เกิดที่อะตอม
H
ของหมู่
methylene
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จะเป็น
2-chloropropane
(เส้นทางบน)
แต่ถ้าเกิดที่อะตอม
H
ของหมู่
methyl
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จะเป็น
1-chloropropane
(เส้นทางล่าง)
ถ้าพิจารณาจากโอกาสที่จะเกิดการชนแล้ว
จะเห็นว่าจำนวนอะตอม H
ของหมู่
methyl
มีถึง
6
ตัว
ในขณะที่จำนวนอะตอม H
ของหมู่
methylene
มีเพียงแค่
2
ตัว
ดังนั้นสัดส่วน 1-chloropropane
ต่อ
2-chloropropane
ที่ได้ควรเป็น
6:2
แต่ในทางปฏิบัติพบว่าเกิดขึ้นในสัดส่วน
6:7
นั่นแสดงว่ายังมีปัจจัยอื่นนอกเหนือจากโอกาสที่จะถูกชนที่เป็นตัวกำหนดผลิตภัณฑ์ที่จะเกิดขึ้น
และปัจจัยนั้นก็คือความแข็งแรงของพันธะ
C-H
ของหมู่
methyl
และ
methylene
ที่ไม่เท่ากัน
โดยความแข็งแรงของพันธะ
C-H
ของหมู่
methylene
นั้นต่ำกว่าของหมู่
methyl
กล่าวคือสำหรับอะตอม
Cl
ที่มีพลังงานจลน์สูง
ไม่ว่าจะวิ่งเข้าทำปฏิกิริยากับ
C-H
ของหมู่
methyl
หรือของหมู่
methylene
ก็จะเกิดปฏิกิริยาการแทนที่เกิดขึ้นได้
แต่สำหรับอะตอม Cl
ที่มีจลน์ต่ำ
ถ้าวิ่งเข้าทำปฏิกิริยากับ
C-H
ของหมู่
methyl
ปฏิกิริยาจะไม่เกิด
แต่ถ้าวิ่งเข้าทำปฏิกิริยากับ
C-H
ของหมู่
methylene
ปฏิกิริยาจะเกิดขึ้นได้
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือแม้ว่าโอกาสที่
C-H
ของหมู่
methyl
จะถูกชนนั้นสูงกว่าของหมู่
methylene
แต่โอกาสที่จะเกิดปฏิกิริยาในการชนแต่ละครั้งที่หมู่
methyl
นั้นต่ำกว่าที่หมู่
methylene
ทำให้การกระจายตัวของผลิตภัณฑ์ที่ได้นั้นไม่ขึ้นอยู่กับโอกาสที่จะถูกชนเพียงอย่างเดียว
ต้องนำเอาโอกาสที่จะเกิดปฏิกิริยาในการชนแต่ละครั้งเข้ามาร่วมคิดด้วย
เรื่องนี้เคยเล่าไว้ก่อนหน้านี้แล้วใน
Memoir
ปีที่
๒ ฉบับที่ ๖๑ วันพุธที่ ๓๐
กันยายน พ.ศ.
๒๕๕๒
เรื่อง "การเกิดปฏิกิริยาเคมี"
ตารางที่
๒ ในหน้าถัดไปแสดงพลังงานที่ต้องใช้ในการแตกพันธะ
H-C
จากสารประกอบต่าง
ๆ จะเห็นว่าสำหรับอะตอม H
ที่เกาะอยู่กับอะตอม
C
อิ่มตัวนั้น
การดึงเอาอะตอม H
ออกจากโมเลกุล
methane
(H-CH3) ต้องใช้พลังงานสูงถึง
431
kJ/mol ในขณะที่การดึงเอาอะตอม
H
ออกจากหมู่
methyl
ของโมเลกุล
ethane
(H-CH2CH3)
ใช้พลังงานน้อยกว่าคือเพียง
410
kJ/mol
ส่วนในกรณีของ
propane
นั้น
การดึงอะตอม H
ออกจากตำแหน่งหมู่
methyl
(H-CH2CH2CH3)
จะเท่ากับการดึงอะตอม
H
ออกจากหมู่
methyl
ของ
ethane
(คือ
410
kJ/mol เท่ากัน)
แต่ถ้าเป็นการดึงอะตอม
H
ออกจากหมู่
methylene
(H-CH(CH3)2)
จะใช้พลังงานน้อยลงไปอีกคือเพียงแค่
395.4
kJ/mol
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น