เนื้อหาในบันทึกฉบับนี้เกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดปริมาณตำแหน่งที่เป็นกรดบนพื้นผิวด้วยเครื่องแก๊สโครมาโทกราฟ
(Gas
chromatogrph - GC)
ส่วนความรู้พื้นฐานและรายละเอียดของวิธีการนั้นเคยเล่าไว้ในแล้วในบันทึกต่อไปนี้
ปีที่
๒ ฉบับที่ ๑๐๓ วันพุธที่ ๒๐
มกราคม พ.ศ.
๒๕๕๓
เรื่อง
"การวัดปริมาณ-ความแรงของตำแหน่งที่เป็นกรดบนพื้นผิว"
ปีที่
๒ ฉบับที่ ๑๑๘ วันพฤหัสบดีที่
๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.
๒๕๕๓
เรื่อง "การวัดความเป็นกรดบนพื้นผิวของแข็ง (อีกครั้ง)"
ปีที่
๒ ฉบับที่ ๑๒๕ วันศุกร์ที่
๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.
๒๕๕๓
เรื่อง "การวัด
NH3
adsorption"
ปีที่
๕ ฉบับที่ ๕๓๖ วันอาทิตย์ที่
๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ.
๒๕๕๕
เรื่อง "ความเข้มข้นของแก๊สที่ใช้ในการดูดซับ"
ในการวัดความปริมาณ-ความแรงของตำแหน่งที่เป็น
"กรด"
ด้วยเทคนิคการดูดซับโมเลกุลนั้น
มักนิยมใช้แก๊ส NH3
หรือไพริดีน
(pyridine
- C5H5N) (จุดเดือดประมาณ
115ºC)
เป็น
probe
molecule
ส่วนการวัดความปริมาณ-ความแรงของตำแหน่งที่เป็น
"เบส"
ด้วยเทคนิคการดูดซับโมเลกุลนั้น
มักนิยมใช้แก๊ส CO2
หรือไพโรล
(pyrrole
- C4H4NH) (จุดเดือดประมาณ
130ºC)
เป็น
probe
molecule
NH3
และ
CO2
มีข้อดีตรงที่มันเป็นแก๊สที่อุณหภูมิห้อง
ทำให้สามารถทำการดูดซับที่อุณหภูมิต่ำได้
ในขณะที่ไพริดีนหรือไพโรลนั้นเป็นของเหลว
ทำให้การวิเคราะห์ต้องทำที่อุณหภูมิที่สูงกว่าจุดเดือดของสารทั้งสอง
แต่ไพริดีนและไพโรลก็มีข้อดีตรงที่มันเป็นสารอินทรีย์
สามารถใช้ตัวตรวจวัดแบบ
Flame
ionisation detector (FID) ได้
ซึ่ง FID
นั้นมีความไวในการตรวจวัดสูงกว่า
Thermal
conductivity detector (TCD)
เนื่องจากเทคนิคพื้นฐานการวัดปริมาณ-ความแรงของตำแหน่งที่เป็นกรดหรือเบสบนพื้นผิวนั้นเหมือนกัน
ต่างกันตรงที่สารที่ใช้ในการวัด
ดังนั้นในที่นี้แม้ว่าจะกล่าวถึงเฉพาะการวัดตำแหน่งที่เป็น
"กรด"
เท่านั้น
แต่ก็พึงระลึกว่ามันใช้ได้กับการวัดตำแหน่งที่เป็น
"เบส"
ด้วย
การใช้
GC
ในการวัดปริมาณความเป็นกรดคือการที่เราอาศัย
detector
ของ
GC
ทำหน้าที่ตรวจวัดปริมาณ
probe
molecule และอาศัยส่วน
oven
ของ
GC
เป็นตัวปรับอุณหภูมิตัวอย่างที่ทำการดูดซับ
การวัดปริมาณนั้นไม่ใช่เรื่องยาก
แต่การวัดความแรงนั้นมีข้อจำกัดมากกว่า
เพราะอุณหภูมิ oven
ของ
GC
นั้นเพิ่มได้จำกัด
เครื่องที่แลปเราใช้อยู่ก็เพิ่มได้ไม่เกิน
400ºC
ดังนั้นถ้าต้องการเพิ่มอุณหภูมิให้สูงกว่านี้ก็คงต้องไปใช้เตาเผาข้างนอก
แล้วต่อท่อแก๊สมายัง detector
port ของ
GC
ในการวิเคราะห์นั้นเราจะบรรจุตัวอย่างปริมาณหนึ่งเข้าไปในคอลัมน์
ตั้งอุณหภูมิของ oven
GC ไปยังอุณหภูมิที่ต้องการวัดการดูดซับ
(เช่นในกรณีของไพริดีนทางกลุ่มเราเคยวัดไว้ที่
150ºC)
จากนั้นทำการฉีด
probe
molecule เข้าทาง
injector
port ในช่วงแรกจะเห็นพีคที่ออกมามีขนาดเล็ก
(เพราะส่วนหนึ่งถูกตัวอย่างดูดซับเอาไว้)
แต่การฉีดครั้งหลัง
ๆ จะได้พีคที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย
ๆ จนในที่สุดจะคงที่
(คือตัวอย่างดูดซับ
probe
molecule ไว้จนอิ่มตัว
ดังนั้น ณ จุดนี้เมื่อฉีดสารเข้าไปเท่าใด
สารทั้งหมดที่ฉีดเข้าไปก็จะหลุดออกมา)
ปริมาณสารที่ตัวอย่างดูดซับเอาไว้ได้คำนวณได้จากผลรวมของผลต่างของพีคแรก
ๆ (ที่มีขนาดเล็ก)
กับพีคในช่วงหลัง
(ที่มีขนาดคงที่)
(ดูบันทึกฉบับที่
๑๐๓ กับ ๕๓๖)
รูปที่
๑
อุปกรณ์ที่เราใช้ในการวัดปริมาณตำแหน่งที่เป็นกรดบนพื้นผิวของแข็งด้วยเครื่อง
GC
(1) Injector port (2) ขดท่ออุ่นแก๊สให้ร้อน
(3)
บริเวณบรรจุตัวอย่าง
(4)
Detector port รูปนี้ติดตั้งอยู่กับเครื่อง
Shimadzu
GC 8A
รูปที่
๑ เป็นอุปกรณ์ที่เราใช้ในการวัดการดูดซับ
สารตัวอย่างบรรจุอยู่ในบริเวณ
3
ของคอลัมน์
ขดท่อ 2
ทำหน้าที่เป็นพื้นผิวรับความร้อนเพื่อให้แก๊สที่ไหลเข้ามาทาง
injector
port 1 นั้นมีอุณหภูมิสูงเท่ากับอุณหภูมิ
oven
ซึ่งจะช่วยให้ตัวอย่างที่บรรจุอยู่ในบริเวณ
3
มีอุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิ
oven
ด้วย
และยังช่วยเพิ่มความต้านทานการไหลให้กับระบบ
สาเหตุที่ต้องมีส่วนนี้ก็เพราะปริมาณตัวอย่างที่เราใส่นั้นน้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณ
packing
ที่อยู่ในคอลัมน์
GC
ทั่วไป
ดังนั้นเมื่อเราต่ออุปกรณ์ดังกล่าวแทนคอลัมน์
GC
ความต้านทานการไหลของ
carrier
gas จะต่ำมาก
ทำให้อัตราเร็วในการไหลของ
carrier
gas
ผ่านคอลัมน์ตัวอย่างของเรานั้นสูงมากแม้ว่าความดันด้านขาเข้าคอลัมน์จะต่ำมาก
ทำให้ยากในการปรับอัตราการไหล
และด้วยอัตราการไหลที่เร็วจึงทำให้อุณหภูมิ
carrier
gas ที่วิ่งผ่านคอลัมน์นั้น
"เย็น"
กว่าอุณหภูมิ
oven
ซึ่งส่งผลให้อุณหภูมิตัวอย่างนั้น
"ต่ำกว่า"
อุณหภูมิของ
oven
ด้วย
ปัญหานี้จะเห็นชัดเมื่อใช้ไพริดีนหรือไพโรล
(เพราะพวกนี้เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น