"เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดแบบเดิมซ้ำอีก"
คำกล่าวข้างต้นอาจถือได้ว่าเป็นแนวปฏิบัติของหน่วยงานที่ทำหน้าที่สอบสวนการเกิดอุบัติเหตุในหลายประเทศ
ที่ไม่ได้ทำเพียงแค่การหาใครสักคนที่อยู่ในที่เกิดเหตุว่าเป็นผู้กระทำผิด
แต่มีการมองลึกลงไปถึงระบบการบริหารงานของหน่วยงาน
สภาพแวดล้อมในการทำงาน
การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในการทำงาน
การฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงาน
การกำกับดูแลการทำงานให้เป็นไปตามมาตรฐาน
ฯลฯ
และเมื่อได้ข้อสรุปแล้วก็จะมีการนำเอาผลการสอบสวนและข้อสรุปที่ได้นั้นเผยแพร่สู่สาธารณะชน
เพื่อให้เป็นที่รู้กันทั่วไป
เพื่อที่ผู้อื่นจะได้ไม่ทำผิดพลาดแบบเดิมซ้ำอีก
โดยความเห็นส่วนตัวแล้ว
ข้อสรุปที่ได้จากการสอบสวนอุบัติเหตุมักขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นผู้สอบสวน
และการสอบสวนนั้นมีวัตถุประสงค์ใด
ประเด็นเรื่อง "ความเสี่ยงที่ยอมรับได้"
ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่
ตรงนี้ถ้านึกภาพไม่ออกก็ขอให้นึกภาพการข้ามถนน
เราไม่สามารถที่จะสร้าง
สะพานลอย สร้างอุโมงค์ให้ลอด
หรือมีรั้วกั้นไมให้คนตัดผ่านถนน
ตลอดทุกเส้นทาง
บางที่เราก็ใช้ทางข้ามด้วยสัญญาณไฟ
บางที่เราก็มีแต่ทางม้าลายเท่านั้น
และบางที่เราก็ไม่มีการทำเครื่องหมายทางข้ามเลย
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้คนและยวดยานที่สัญจรไปมาและพื้นที่ของถนนในบริเวณนั้น
รวมบทความชุดนี้เป็นการนำเอาบทความเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุต่าง
ๆ ทั้งที่ได้รวบรวมจากข้อมูลต่าง
ๆ และประสบการณ์ส่วนตัว
ที่ได้นำขึ้นหน้า blog
ทั้งสิ้น
เพียงแต่บนหน้า blog
นั้นเนื้อเรื่องมันกระจัดกระจายและไม่เรียงเป็นลำดับ
จึงนำรวมกันใหม่และจัดเรียงลำดับให้ใหม่
และในบางกรณีก็ได้นำเรื่องราวพื้นฐานเกริ่นนำให้ก่อน
เพื่อเป็นการปูพื้นฐานให้กับผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ว่าสิ่งที่มีการกล่าวถึงในบทความนั้นคืออะไร
โดยรวมแล้วก็กว่า ๓๐๐ หน้า
A4
ในหลายกรณีที่นำเสนอนั้นข้อมูลที่ได้รับไม่มีความชัดเจนหรือไม่สามารถยืนยันความถูกต้องได้
เนื่องด้วยผู้ที่ให้ข้อมูลนั้นเกรงว่าจะส่งผลกระทบถึงผู้เกี่ยวข้อง
ดังนั้นผู้อ่านจึงควรต้องใข้ความระมัดระวังในการสรุป
อาจต้องอาศัยการ "อ่านระหว่างบรรทัด"
ให้มากหน่อย
ดาวน์โหลดไฟล์ pdf กดที่นี่
ดาวน์โหลดไฟล์ pdf กดที่นี่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น