รถไฟสายไปหาดเจ้าสำราญนี้เป็นรถไฟเล็ก
(รูปที่
๑)
เส้นทางยาวประมาณ
๑๕ หรือ ๑๖ กิโลเมตร ที่รัชกาลที่
๖ มอบหมายให้เจ้าพระยาวรพงษ์พิพัฒน์
(ผู้ที่สร้างรถไฟสายบางบัวทอง)
เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้าง
เพื่อใช้ในการขนข้าราชบริพารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง
ๆ (โดยเฉพาะน้ำจืด)
เมื่อต้องเสด็จไปประทับพักแรม
ณ หาดเจ้าสำราญ หนังสือของ
B.R.
Whyte (รูปที่
๒)
กล่าวไว้ว่าต้นทางของทางรถไฟสายนี้อยู่ข้างทางรถไฟสายใต้
ประมาณ ๒ กิโลเมตรจากสถานีเพชรบุรีลงมาทางทิศใต้
เปิดใช้งานในช่วงปีค.ศ.
๑๙๒๑
และปิดใช้งานในปีค.ศ.
๑๙๒๓
(ตอนนั้นประเทศไทยยังเปลี่ยนปีพ.ศ.
ในวันที่
๑ เมษายน ในขณะที่การเปลี่ยนปีค.ศ.
ทำในวันที่
๑ มกราคม)
รูปที่
๑
ภาพจากหนังสือประวัติเจ้าพระยาวรพงษ์พิพัฒน์ระบุว่ารถไฟสายบางบัวทองกำลังผ่านหาดเจ้าสำราญ
แต่คิดว่าที่ถูกต้องน่าจะเป็นช่วงที่กำลังออกจากสถานีต้นทางที่อยู่ใกล้กับทางรถไฟสายใต้ที่
จ.เพชรบุรี
มากกว่าโดยพิจารณาจากขนาดรางรถไฟที่อยู่ทางด้านหน้าของรูป
หนังสือของ B.R.
Whyte
กล่าวว่าทั้งหัวรถจักรและตู้รถไฟเป็นของเก่ามาจากรถไฟสายพระพุทธบาท
(จ.สระบุรี)
ของกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
รูปที่
๒ หนังสือ The
Railway Atlas of Thailand, Laos and Cambodia โดย
B.R.
Whyte สำนักพิมพ์
White
Lotus ฉบับปีพ.ศ.
๒๕๕๓
และหนังสือ ประวัติเจ้าพระยาวรพงษ์พิพัฒน์
โดย ม.ล.
ยิ่งศักดิ์
อิศรเสนา ฉบับพิมพ์ พ.ศ.
๒๕๒๕
จัดพิมพ์ใหม่โดยบริษัท
สำนักพิมพ์บรรณกิจ (๑๙๙๑)
จำกัด
(ไม่ระบุปีที่พิมพ์)
เล่มนี้ซื้อเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาจากงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ
ราคา ๒๕ บาท เป็นหนังสืออ่านนอกเวลา
ในหนังสือของ
B.R.
Whyte เขาว่ารถไฟสายนี้วางรางไปตามถนนที่มีอยู่เดิม
เป็นรถไฟที่วิ่งช้าชนิดที่เรียกว่าเดินตามกันทัน
แต่ด้วยสภาพที่เป็นรถเก่าและเส้นทางที่ไม่ค่อยดี
ทำให้มีปัญหาในการเดินรถอยู่บ่อยครั้ง
และเมื่อรัชกาลที่ ๖
ได้ตัดสินพระทัยที่จะย้ายที่พักตากอากาศจากหาดเจ้าสำราญไปยังสถานที่แห่งใหม่
(คือที่พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน)
ที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำจืดมากกว่าและเดินทางสะดวกกว่า
รถไฟสายนี้จึงถูกยกเลิกไป
ผมแวะไปที่นั่นครั้งแรกก็น่าจะเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว
ตอนนั้นยังดูเหมือนที่นั่นค่อนข้างจะเงียบสงบอยู่
สัปดาห์ที่ผ่านมาระหว่างเดินทางไปร่วมการประชุมก็เลยถือโอกาสแวะเข้าไปดูเสียหน่อย
(กะจะสำรวจเส้นทางเลียบชายฝั่งทะเลเพื่อมุ่งหน้าไปชะอำด้วย)
มีวี่แววว่าต่อไปแถวนี้คงมีอาคารที่พักอาศัยเกิดเพิ่มขึ้นอีก
เพราะชายทะเลทางฝั่งชะอำกับหัวหินก็ดูเหมือนจะแทบไม่มีที่เหลือให้ก่อสร้างที่พักแล้ว
Memoir
ฉบับนี้ก็ถือเสียว่าเป็นตอนต่อจากฉบับที่แล้วก็แล้วกัน
ถือเป็นบันทึกภาพสถานที่แห่งหนึ่งเก็บเอาไว้เป็นที่ระลึก
รูปที่
๓ แผนที่เส้นทางรถไฟสายหาดเจ้าสำราญ
(ตรงเส้นประสีเหลือง
ที่มุ่งหน้าไปยังบ้านบางทะลุ)
ที่ปรากฏในหนังสือของ
B.R.
Whyte
(ดูท่าจะเป็นเอกสารเพียงไม่กี่ฉบับที่บันทึกแผนที่เส้นทางรถไฟสายดังกล่าว)
ปัจจุบันคือทางหลวงสาย
๓๑๗๗
รูปที่
๕ หัวรถไฟเล็กจำลอง
ที่ตั้งอยู่หน้าหาด
เดาว่าคงอยากให้คนระลึกถึงว่าที่หาดนี้เคยมีรถไฟวิ่งเข้ามาถึง
แต่ที่ป้ายเล่าประวัติความเป็นมาของหาดไม่ยักเรื่องราวของรถไฟสายนี้
รูปที่
๖ ป้ายบอกชื่อหาดเจ้าสำราญที่ตั้งอยู่หน้าชายหาด
รูปที่
๗ หาดเจ้าสำราญเมื่อมองย้อนขึ้นไปทางทิศเหนือ
รูปที่
๘ หาดเจ้าสำราญเมื่อมองลงไปทางทิศใต้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น