อันที่จริงผมก็ไม่เคยคิดจะไปยุ่งอะไรกับ
graphene
oxide แต่บังเอิญเมื่อเกือบ
๓
เดือนที่แล้วมีสองสาวที่กำลังทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับเรื่องนี้เอาคำถามเรื่องปฏิกิริยา
Friedel-Crafts
Aclyation มาปรึกษาผม
(Memoir
ปีที่
๑๐ ฉบับที่ ๑๕๒๒ วันพฤหัสบดีที่
๑ มีนาคม ๒๕๖๑ เรื่อง "Dehydration, Esterification และ Friedel-Crafts Acylation") พร้อมกับเอารูปโครงสร้างพื้นผิว
graphene
oxide มาให้ผมดูปฏิกิริยาที่มีคนเขานำเสนอ
และในวันนั้นผมก็ได้ตั้งคำถามหนึ่งถามพวกเขาไปคือการทำปฏิกิริยาของหมู่อีพอกไซด์
(epoxide)
ซึ่งตอนนี้ก็ไม่รู้ว่าเขาได้ไปค้นหาคำตอบนั้นแล้วหรือยัง
รู้แต่เพียงว่าเห็นกำหนดว่าจะสอบวิทยานิพนธ์กันช่วงปลายเดือนหน้าแล้ว
ส่วนคำถามที่ผมถามเขาไปนั้นคืออะไร
ผมว่าก่อนอื่นเรามา
ทบทวนเรื่องการทำปฏิกิริยาของหมู่
epoxide
กันก่อนดีกว่า
หมู่
epoxide
หรือ
oxirane
ring เป็นโครงสร้างอีเทอร์ที่เป็นวงสามเหลี่ยม
กล่าวคืออะตอม O
สร้างพันธะเชื่อมกับอะตอม
C
สองอะตอม
โดยที่อะตอม C
สองอะตอมนั้นเชื่อมต่อกันด้วยพันธะเดี่ยว
ทำให้เกิดโครงสร้างที่เป็นวงสามเหลี่ยมที่พันธะมีความเครียดสูง
จึงทำให้อะตอม O
ของโครงสร้าง
epoxide
นี้มีความว่องสูงกว่าอะตอม
O
ของโครงสร้างอีเทอร์แบบทั่วไป
นอกจากนี้ถ้าหมู่อื่นอีก
2
หมู่ที่เกาะอยู่กับตัวอะตอม
C
ของโครงสร้างอีพอกไซด์นั้นคืออะตอม
H
จะทำให้อะตอม
C
ดังกล่าวมีความว่องไวสูงขึ้นด้วย
อันเป็นผลจากมีความเป็นขั้วบวกที่แรงขึ้น
เรื่องตรงนี้เคยเล่าเอาไว้บ้างแล้วใน
Memoir
ปีที่
๑๐ ฉบับที่ ๑๔๐๘ วันพุธที่
๑๙ กรกฎาคม ๒๕๖๐ เรื่อง
"การทำปฏิกิริยาของโพรพิลีนออกไซด์ (1,2-Propylene oxide) ตอนที่ ๑"
ปีที่
๑๐ ฉบับที่ ๑๔๐๙ วันพฤหัสบดีที่
๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๐ เรื่อง
"การทำปฏิกิริยาของโพรพิลีนออกไซด์ (1,2-Propylene oxide) ตอนที่ ๒"
รูปที่
๑ การทำปฏิกิริยาระหว่างหมู่คาร์บอกซิล
(carboxyl
group) กับหมู่
epoxide
โดยที่อะตอม
C
ของหมู่
epoxide
ที่มีอะตอม
H
เกาะอยู่สองตัวนั้นเป็นตัวที่มีความเป็นขั้วบวกสูง
เข้าไปสร้างพันธะกับอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวของอะตอม
O
ของหมู่คาร์บอกซิล
ส่วนที่เห็นว่าได้ผลิตภัณฑ์ออกมาสองตัวนั้นเป็นเพราะอะตอม
C
ที่มีหมู่
R1
เกาะอยู่นั้นมันเป็น
chiral
cetre (คือเป็นอะตอม
C
ที่มีหมู่มาเกาะ
4
หมู่ที่ไม่เหมือนกันเลย)
ทำให้เกิดไอโซเมอร์แบบ
enantiomer
(มือซ้าย-มือขวา
หรือภาพในกระจก)
ได้
(จากบทความเรื่อง
"Reactivity
of Some Carboxylic Acids in Reactions with Some Epoxides in the
Presence Chromium (III) Ethanoate" โดย
Agnieszka
Bukowska และ
Wiktor
Bukowski ในวารสาร
Organic
Process Research & Development 2002, 6, 234−237
รูปที่
๒ ตัวอย่างการทำปฏิกิริยาของหมู่
epoxide
เมื่อมีกรดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
ในบทความนี้นำเสนอว่า H+
จะเข้าไปเกาะที่อะตอม
O
ของหมู่
epoxide
ก่อน
ทำให้อะตอม C
ของหมู่
epoxide
มีความเป็นขั้วบวกที่แรงขึ้น
จนสามารถไปดึงอิเล็กตรอนคู่โดยเดี่ยวของอะตอม
O
ที่หมู่
-OH
มาสร้างพันธะได้
(จากบทความเรื่อง
"Optimization
of the oxirane ring opening reaction in biolubricant base oil
production" โดย
Jumat
Salimon, Bashar Mudhaffar Abdullah และ
Nadia
Salih ในวารสาร
Arabian
Journal of Chemistry (2016) 9, S1053–S1058)
แต่โดยส่วนตัวเห็นว่า
H+
ที่เติมเข้าไปนั้นยังเข้าไปเกาะกับอะตอม
O
ของหมู่คาร์บอนิล
C=O
ด้วย
(H+
สีแดงที่ผมเติมเข้าไปในรูป)
จึงทำให้เหลือเฉพาะอะตอม
O
ของหมู่
-OH
เท่านั้นที่อะตอม
C
ของหมู่
epoxide
เข้าไปทำปฏิกิริยาได้
(ดู
Memoir
ปีที่
๑๐ ฉบับที่ ๑๕๒๒ วันพฤหัสบดีที่
๑ มีนาคม ๒๕๖๑ เรื่อง "Dehydration,
Esterification และ
Friedle-Crafts
Acylation")
รูปที่
๑ และ ๒ เป็นตัวอย่างการทำปฏิกิริยาของวง
epoxide
ที่มีการนำเสนอในบทความ
ซึ่งโครงสร้าง epoxide
นี้ก็มีปรากฏบนพื้นผิวของ
graphen
oxide ด้วย
โดยอยู่ร่วมกับหมู่ -COOH
และ
-OH
ดังตัวอย่างในรูปที่
๓ ข้างล่าง
รูปที่
๓ ตัวอย่างโครงสร้างหมู่ฟังก์ชันบนพื้นผิวของ
graphene
oxide (จากบทความเรื่อง
"Synthesis,
characterization, structural, optical properties and catalytic
activity of reduced graphene oxide/copper nanocomposites" โดย
Mahmoud
Nasrollahzadeh, Ferydon Babaei, Parisa Fakhric และ
Babak
Jaleh ในวารสาร
RSC
Adv., 2015, 5, 10782) ที่มีหมู่ฟังก์ชันหลักอยู่
3
หมู่ด้วยกันคือ
carboxyl
(-COOOH) hydroxyl (-OH) และ
epoxide
การ
"graft"
เป็นวิธีการหนึ่งในการปรับสภาพพื้นผิวหรือสายโซ่พอลิเมอร์
โดยหลักการก็คือตัวพื้นผิวหรือสายโซ่พอลิเมอร์นั้นต้องมีหมู่ฟังก์ชันที่มีความว่องไวในการทำปฏิกิริยา
(เช่นในกรณีของสายโซ่พอลิเมอร์ก็อาจเป็นส่วนของพันธะคู่
C=C
เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างสายโซ่
หรือไม่ก็ด้วยการทำให้มีหมู่ฟังก์ชันที่ว่องไวในการทำปฏิกิริยาเช่น
-OH,
-COOH) แล้วให้อีกโมเลกุลหนึ่ง
(ที่มักเป็นโมเลกุลที่เล็กกว่า)
ที่มีหมู่ฟังก์ชันที่สามารถเข้าทำปฏิกิริยากับหมู่ฟังก์ชันบนพื้นผิวหรือในโครงสร้างสายโซ่พอลิเมอร์นั้นได้
ตัวอย่างเช่นถ้าพื้นผิวหรือสายโซ่พอลิเมอร์มีหมู่
-OH
อยู่
เราก็อาจนำโมเลกุลที่มีหมู่
-COOH
หรือ
anhydride
เข้าทำปฏิกิริยากับหมู่
-OH
ที่อยู่บนพื้นผิวหรือเกาะอยู่กับสายโซ่พอลิเมอร์ดังกล่าวได้
ส่วนที่ว่าพื้นผิวหรือสายโซ่นั้นจะมีคุณสมบัติเปลี่ยนไปอย่างไร
ก็ขึ้นอยู่กับหมู่ R
ที่เกาะอยู่กับหมู่
-COOH
หรือ
anhydride
ว่ามีคุณสมบัติอย่างไร
ตัวอย่างในรูปที่
๔ และ ๕ เป็นการ graft
โมเลกุลขนาดเล็กลงบนพื้นผิว
graphene
oxide
ทั้งสองรูปมีส่วนหนึ่งที่เหมือนกันที่เป็นคำถามที่ผมถามสองสาวที่มาปรึกษาผมเมื่อราว
ๆ สองเดือนที่แล้ว คำถามดังกล่าวก็คือ
"ทำไมจึงไม่คิดว่าปฏิกิริยาควรที่จะเกิดที่หมู่
epoxide
ด้วย"
รูปที่
๔ การทำปฏิกิริยาเพื่อปรับสภาพพื้นผิวของ
graphene
oxide ด้วยการให้สารอื่นมาทำปฏิกิริยากับหมู่ฟังก์ชันบนพื้นผิว (จากบทความเรื่อง
"Facile
preparation route for graphene oxide reinforced polyamide 6
composites via in situ anionic ring-opening polymerization โดย
Xiaoqing
Zhang, Xinyu Fan, Hongzhou Li และ
Chun
Yan ในวารสาร
J.
Mater. Chem., 2012, 22, 24081)
ในบทความนี้นำเสนอว่าปฏิกิริยาเกิดขึ้นเฉพาะกับหมู่
-COOH
และ
-OH
โดยที่หมู่
epoxide
ไม่ทำปฏิกิริยา
รูปที่
๕ อีกตัวอย่างหนึ่งของการทำปฏิกิริยาเพื่อปรับสภาพพื้นผิวของ
graphene
oxide ด้วยการให้สารอื่นมาทำปฏิกิริยากับหมู่ฟังก์ชันบนพื้นผิว
(จากบทความเรื่อง
"Treelike
polymeric phosphate esters grafted onto graphene oxide and its
tribological properties in polyalkylene glycol for steel/steel
contact at elevated temperature" โดย
Xinhu
Wu, Gaiqing Zhao, Xiaobo Wang, Weimin Liua และ
Weisheng
Liu ในวารสาร
RSC
Adv., 2016, 6, 47824)
ในบทความนี้นำเสนอว่าปฏิกิริยาเกิดขึ้นเฉพาะกับหมู่
-COOH
และ
-OH
โดยที่หมู่
epoxide
ไม่ทำปฏิกิริยา
เช่นกัน
แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีบทความที่นำเสนอการทำปฏิกิริยาที่หมู่
epoxide
นะครับ
ตัวอย่างที่เอามาให้ดูในรูปที่
๖ และ ๗ ก็เป็นบทความการ graft
โมเลกุลอื่นลงไปบนพื้นผิวของ
graphene
oxide ด้วยการให้โมเลกุลนั้นเข้าทำปฏิกิริยาที่ทั้งอะตอม
O
ของหมู่
-OH
และหมู่
epoxide
โดยที่หมู่
-COOH
ไม่มีส่วนร่วมในการทำปฏิกิริยา
มาถึงจุดนี้
ไม่ทราบว่าพอจะอธิบายได้ไหมครับว่าแต่ละตัวอย่างที่ยกมานั้น
ตัวอย่างไหนถูก ตัวอย่างไหนไหนผิด
ถ้าตัวอย่างไหนผิด มันผิดอย่างไร
และถ้าไม่มีตัวอย่างไหนผิดเลย
ทำไมผลจึงออกมาแตกต่างกัน
ตรงนี้ผมว่าถ้าเรามีพื้นฐานเคมีอินทรีย์ที่ดีพอ
ก็น่าจะอธิบายได้ เพราะถ้าอ้าง
paper
มันก็ทะเลาะกันไปได้เรื่อย
ๆ โดยไม่มีข้อยุติ
รูปที่
๖ แถวบนเป็นปฏิกิริยาระหว่างกรด
ClCH2COOH
(chloroacetic acid) กับหมู่
epoxide
บนพื้นผิว
graphene
oxide โดยมีเบสเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
(จากบทความเรื่อง
"Preparation
of fluoro-functionalized graphene oxide via the Hunsdiecker reaction"
โดย
Ruiguang
Xing, Yanan Li และ
Huitao
Yu ในวารสาร
Chem.
Commun. 2016, 52, 390-393) ในกรณีนี้เบสจะเข้าไปสะเทินหมู่
-COOH
ก่อน
ทำให้อะตอม C
ของหมู่
ClCH2-
ที่มีความเป็นขั้วบวกที่สูงนั้นสามารถเข้าไปสร้างพันธะกับอะตอม
O
ของหมู่
-OH
และ
epoxide
ที่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว)
รูปที่
๗ ปฏิกิริยาการ graft
พอลิเมอร์เข้ากับพื้นผิวของ
graphene
oxide โดยมีเบส
(MeNH2
เมื่อ
Me
คือหมู่เมทิลหรือ
-CH3)
ร่วมอยู่ด้วย
(จากบทความเรื่อง
"One-step
grafting of polymers to graphene oxide" โดย
Helen
R. Thomas, Daniel J. Phillips, Neil R. Wilson, Matthew I. Gibson และ
Jonathan
P. Rourke ในวารสาร
Polym.
Chem., 2015, 6, 8270)
ในบทความนี้ผู้วิจัยนำเสนอแบบจำลองที่อะตอม
S
ที่มีประจุลบนั้นเข้าไปทำปฏิกิริยากับอะตอม
C
(ที่มีความเป็นขั้วบวก)
ของหมู่
epoxide
ส่วนภาพสุดท้ายนี้ก็ไม่ได้มีเนื้อหาอะไรเกี่ยวกับบทความเลยครับ
เพียงแต่ว่าคนที่เพิ่งจะสอบจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งที่อเมริกาเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาส่งข้อความมาถึง
ก็เลยขอเอามาบันทึกไว้เพื่อกันลืมเท่านั้นเองครับ
:)
:) :)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น