วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2565

สถานีรถไฟห้วยทรายใต้ MO Memoir : Wednesday 28 December 2565

เขียนไปเขียนมา ก็มาถึงฉบับที่ ๒๐๐๐ จนได้

เมื่อช่วงกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีโอกาสได้ไปสัมมนาที่หัวหิน ก็เลยถือโอกาสแวะถ่ายรูปสถานีรถไฟบางสถานี คาดหวังว่าจะได้บันทึกรูปไว้ก่อนที่จะถูกรื้อทิ้ง แต่บางสถานีก็ไปไม่ทัน อย่างเช่นสถานีห้วยทรายใต้ ที่อยู่สุดเขตเพชรบุรีก่อนเข้าหัวหิน ค้นดูใน google street view ยังมีรูปสถานีอยู่ (รูปที่ ๑) โดยบอกว่าเป็นรูปเมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๐๒๒ คือก่อนหน้าที่จะไปถ่ายรูปเพียงเดือนเดียว เพราะพอเดือนถัดมา ตัวสถานีเดิมก็กลายเป็นเศษไม้กองอยู่บนพื้นแล้ว

รูปที่ ๑ สถานีรถไฟห้วยทรายใต้จาก google street view ระบุว่าเป็นภาพเมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๕ มุมมองนี้มองไปทางมุ่งหน้าไปหัวหิน รางที่อยู่ทางด้านซ้ายคือรางรอหลีก ด้านขวาคือรางหลัก

ในอดีต ย่านจากชะอำมาหัวหินน่าจะเป็นบริเวณที่มีคนอยู่อาศัยกันไม่น้อย เห็นได้จากการประกาศตั้งเขตเทศบาลชะอำและหัวหิน ที่ประกาศตั้งพร้อมกันเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๘๐ โดยเขตเทศบาลชะอำเริ่มจากตัวตำบลชะอำ (ในขณะนั้น) มาจนถึงเขตรอยต่อจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ที่เข้าเขตเทศบาลหัวหิน (รูปที่ ๒) นอกจากนี้แผนที่ในรูปที่ ๒ ยังไม่มีการระบุว่ามีถนนจากเพชรบุรีมาชะอำ ในขณะที่แผนที่ทหาร British-India ปีพ.ศ. ๒๔๘๘ ระบุไว้ว่าถนนเลียบทะเลจากชะอำผ่านห้วยทรายใต้ไปหัวหินเป็นถนนที่ใช้ได้ทุกฤดูกาล ในขณะที่ถนนจากเพชรบุรีมาชะอำ เป็นถนนที่ใช้ได้ในสภาพอากาศดี

จากวันที่ไปถ่ายรูปมา ก็ผ่านมา ๖ เดือนแล้ว ภาพต่าง ๆ ที่ได้เป็นเห็นตอนนั้นก็คงไม่เหมือนกับตอนนี้แล้ว ถ้ามีโอกาสผ่านไปแถวนั้นอีกที ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเมื่อใด มันก็คงไม่เหมือนเดิม ดังนั้นถือว่าบันทึกความจำฉบับนี้ เป็นภาพบันทึกสถานที่ธรรมดา ๆ แห่งหนึ่ง ในวันธรรมดา ๆ วันหนึ่งก็แล้วกัน

รูปที่ ๒ แผนที่แนบท้ายพระราชกฤฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลชะอำ จังหวัดเพ็ชร์บุรี พุทธศักราช ๒๔๘๐ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๔ หน้า ๑๒๒๐ เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๘๐

รูปที่ ๓ แผนที่ทหาร British-India ฉบับปีค.ศ. ๑๙๔๕ (พ.ศ. ๒๔๘๘) ระบุว่าเส้นทางถนนจากชำอำเลียบชายเทะเลไปหัวหิน เป็นถนนที่ใช้ได้ทุกฤดูกาล ในขณะที่เส้นทางถนนจากเพชรบุรีมาชะอำ เป็นถนนที่ใช้ได้เฉพาะช่วงที่สภาพอากาศดี

รูปที่ ๔ มองในทิศตรงข้ามกับรูปที่ ๑ คือมองย้อนไปทางสถานีห้วยทรายเหนือ จะเห็นว่ารางหลีกถูกรื้อถอนไปแล้ว และมีการวางแนวรางใหม่ที่มุ่งตรงมายังแนวชานชาลาเดิม (ถ่ายไว้เมื่อวันอังคารที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๕)

รูปที่ ๕ สถานีนี้ห่างจากหัวหิน ๑๑ กิโลเมตร ในขณะที่ห่างจากห้วยทรายเหนือไม่ถึง ๔ กิโลเมตร แสดงว่าเดิมย่านนี้น่าจะมีคนใช้บริการรถไฟเยอะอยู่เหมือนกัน
 

รูปที่ ๖ บริเวณที่เคยเป็นที่ตั้งอาคารสถานีเดิม

รูปที่ ๗ มองตามแนวชานชาลาเดิมในทิศทางมุ่งหน้าไปหัวหิน 

รูปที่ ๘ อาคารสถานีใหม่และชานชาลาใหม่ 
 
รูปที่ ๙ เสาสำหรับรับ-ส่งห่วงทางสะดวกยังคงอยู่ แต่มีการใช้ไฟจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์

รูปที่ ๑๐ อาคารสถานีใหม่

รูปที่ ๑๑ เดินมาสุดชานชาลาเดิม มองไปยังทิศทางมุ่งหน้าไปหัวหิน ยังเห็นประแจรางหลีกหลงเหลืออยู่ (ในกรอบสีเหลี่ยมสีเหลือง)

รูปที่ ๑๒ แนวชานชาลาเดิมที่คงเป็นแนวที่จะวางรางใหม่ โดยตัวชานชาลาใหม่ย้ายออกมาทางด้านซ้าย

รูปที่ ๑๓ ดินแถวนี้คงไม่ทรุดตัวแล้วมั้ง ดูจากตอม่อที่เตรียมเอาไว้ที่เป็นแบบฐานแผ่

รูปที่ ๑๔ มุมเดียวกับรูปที่ ๑ แต่ขยับมาทางด้านขวาหน่อย

 

ไม่มีความคิดเห็น: