จะรอให้ถึงวันพรุ่งนี้ก่อนก็ไม่ได้
จะได้ฉลองครบรอบปี
ถ้าสงสัยว่าครบรอบปีเรื่องอะไร
ก็ขอให้ไปอ่าน Memoir
ปีที่
๓ ฉบับที่ ๒๐๑ วันศุกร์ที่
๑๐ กันยายน ๒๕๕๓ เรื่อง
"Pyrophoric
substance (อีกครั้ง)"
เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเช้าวันนี้ก็เกิดขึ้นในห้องเดียวกัน
เพียงแต่ว่าคอมพิวเตอร์ที่บันทึกข้อมูลจากกล้องวงจรปิดมันถูกปิดเอาไว้
คราวนี้ก็เลยไม่มีคลิปมาให้ดูกัน
ผมมาทราบเรื่องเอาตอนเกือบบ่าย
๒ แล้ว ทราบว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นตอนประมาณ
๙ โมงเช้า ตอนนั้นคนที่ใช้เครื่องดังกล่าวก็ไม่อยู่
ห้องแลปนั้นก็ไม่มีใครอยู่
มีแต่คุณเลขานุการแสนสวยของแลปเราและนิสิตอีก
๒ คนทำงานอยู่ในห้องอื่น
กลิ่นที่ฟุ้งกระจายไปทั่วเป็นตัวแจ้งเหตุว่าเกิดเหตุขึ้น
รูปที่
๑ ความเสียหายของสายไฟที่เขาบอกว่าแก้วหลอมเหลวหยดใส่
ทำให้ฉนวนพลาสติกที่หุ้มอยู่หลอมละลายลุกไหม้
ตอนแรกมีแต่คนบอกว่าไฟไหม้
พอถามว่าไหม้อะไร เขาก็บอกมาว่าเตา
calcine
ซึ่งผมก็ถามกลับไปว่าแล้วอะไรที่เป็นเชื้อเพลิงของการเผาไหม้
ผมก็ถามกลับไปว่ามันไหม้ได้ยัง
(เพราะปรกติสายไฟที่ต่อเข้าเตาเผาก็มักไม่ใช้ฉนวนที่เป็นพอลิเมอร์
และแม้แต่สายไฟที่ใช้ฉนวนที่เป็นพอลิเมอร์ก็ไม่สามารถลุกไหม้ได้เองถ้าไม่มีการให้ความร้อนจากแหล่งภายนอก
และการที่สายไฟจะไหม้ได้เองนั้นก็ควรที่จะเกิดจากการที่มีกระแสไหลเข้าเกินความสามารถของสายไฟที่จะรับได้)
ซึ่งก็ไม่มีใครตอบได้
ต้องรอให้คนทำการทดลองที่เกิดปัญหามาอธิบาย
ข้อมูลที่ได้รับคือเขาต้องการเผาสารสักอย่างหนึ่งในเตาไฟฟ้าเตานี้
(เตาวางในแนวดิ่งอยู่บนพื้น
มีสายไฟต่อเข้าเตาอยู่ทางด้านล่าง)
หลังจากที่ใส่สารเข้าไปในเตาและเปิดให้ระบบควบคุมทำงาน
ก็ไม่ได้อยู่ดูแล
สิ่งที่ทำให้เกิดเรื่องคือเขาไม่ได้ใส่เทอร์โมคับเปิลเข้าไปวัดอุณหภูมิภายในเตา
เครื่องควบคุมอุณหภูมิเลยอ่านค่าเป็นอุณหภูมิห้องตลอดเวลา
ก็เลยจ่ายความกระแสไฟฟ้าเข้าตัวเตาเต็มที่ตลอดเวลา
ผลก็คือหลอดแก้วที่ใส่อยู่ในเตาเกิดการหลอมละลายหยดลงมาบนสายไฟฟ้าที่วางอยู่ข้างใต้
(โชคดีที่สารในหลอดแก้วนั้นไม่ใช้เชื้อเพลิง)
ฉนวนหุ้มสายไฟที่เป็นพอลิเมอร์ก็เลยหลอมไหม้เกิดเป็นควันดำ
โชคดีที่สายไฟที่ไหม้เป็นสายแบบเส้นเดี่ยว
ไม่ใช่เส้นคู่
ไม่เช่นนั้นคงตามด้วยการสัมผัสกันของลวดทองแดงและกระแสไฟฟ้าลัดวงจร
ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้คงมีเหตุไม่เล็กตามมาอีก
ตอนที่เขาพาผมไปดูที่เกิดเหตุนั้น
ผมไม่เห็นตรงนั้นมีอะไรวางอยู่
ก็เลยถามว่าเตาเผาไปไหนแล้ว
เขาก็บอกว่าส่งให้ช่างไปซ่อมแล้ว
เพราะเขาต้องรีบจบ (??
ถ้าเกิดอุบัติเหตุขึ้น
แล้วไม่หาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร
และควรทำการป้องกันอย่างไร
ผมว่ามีหวังคงได้ "ตาย"
ก่อน
"เรียนจบ")
ผมก็ถามว่าแล้วได้ถ่ายรูปความเสียหายเอาไว้หรือเปล่า
คำตอบก็คือไม่ได้ถ่ายรูปเอาไว้
ก็เลยถามต่อว่าส่งไปให้ช่างที่ไหนซ่อม
บังเอิญเขาส่งไปให้ช่างที่อยู่ที่ตึกข้าง
ๆ กันเป็นคนซ่อม
ผมก็เลยตามไปดูความเสียหายและถ่ายรูปดังที่แสดงในรูปที่
๑
ในความเห็นของผมเท่าที่ดูด้วยสายตานั้น
ผมคิดว่าระบบสายไฟภายในเตาคงไม่มีอะไรเสียหาย
(แต่ก็ต้องตรวจด้วยว่าขดลวดความร้อนไม่ขาด)
คราบดำด้านนอกเป็นเพียงคราบเขม่าควัน
สายไฟเส้นที่เสียหายนั้นเป็นเส้นที่คิดว่าต่อจากแหล่งจ่ายไฟมายังตัวเตา
ดังนั้นน่าจะทำการซ่อมแซมเองได้โดยไปหาสายไฟเส้นใหม่มาเปลี่ยนก็แค่นั้นเอง
แต่นี่ไม่รู้ว่าเขาคิดว่าการเสียเวลาซ่อมนั้นทำให้เสียเวลาทำแลป
และจะทำให้จบช้าหรือเปล่า
ก็เลยใช้วิธีจ้างคนอื่นซ่อม
(เพราะเงินค่าซ่อมก็ไม่ใช่เงินของฉัน)
ฉันจะได้มีเวลาไปทำงานอย่างอื่นแทน
ใน
Memoir
ปีที่
๓ ฉบับที่ ๒๔๗ วันเสาร์ที่
๒๒ มกราคม ๒๕๕๔ เรื่อง
"การทำวิทยานิพนธ์ภาคปฏิบัติ
ตอนที่ ๑๑ อย่าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ดูแล"
ผมได้เขียนเอาไว้ว่า
"เวลาที่ทำงานกับอุปกรณ์ใดก็ตาม
ไม่ว่าอุปกรณ์นั้นจะมีระบบควบคุมอัตโนมัติหรือไม่ก็ตาม
หรือเมื่อระบบเข้าสู่ steady
state แล้ว
ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ใช้งานจะสามารถปล่อยมันทิ้งไว้โดยไม่ต้องดูแล
สามารถกลับมาอีกครั้งก็เมื่อครบกำหนดเวลา
ที่ถูกต้องคือต้องกลับมาตรวจสอบการทำงานเป็นระยะว่าในระหว่างนั้นมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง
เช่นไฟฟ้าดับ น้ำไม่ไหล
อุปกรณ์ทำงานต่อเนื่องเกินกำลังจนร้อนจัด
ชิ้นส่วนเกิดความเสียหายเนื่องจากการใช้งานต่อเนื่องเป็นเวลานาน
การประกอบชิ้นส่วนที่ไม่ถูกต้อง
ฯลฯ"
เหตุการณ์วันนี้ก็เกิดขึ้นในทำนองเดียวกับครั้งอื่น
ๆ ก่อนหน้า
คือผู้ทำการทดลองคิดว่ามีระบบอัตโนมัติควบคุม
พอเปิดให้มันทำงานก็ไปไหนต่อไหนได้เลย
ไม่ต้องมาอยู่คอยดูแล
ดีนะที่เรื่องที่เกิดในวันนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับกลุ่มของเรา
ศุกร์
๑๙ กันยายน ๒๕๕๑ ไฟไหม้ Glove
box
จันทร์
๖ กันยายน ๒๕๕๓ ไฟไหม้เฮกเซนในบีกเกอร์
จันทร์
๕ กันยายน ๒๕๕๔ ไฟไหม้สายไฟเตา
calcine
ท่าทางเดือนกันยายนจะเป็นเดือนอาถรรพ์ของห้องนี้
ทีนี้พวกคุณคงเห็นแล้วทำไมถ้าไม่จำเป็นจริง
ๆ แล้วผมเองยังไม่อยากเข้าไปในห้องนั้นเลย