จากการตรวจสอบพบว่าเมื่อเปิดวาล์วหัวถัง
เกจวัดความดันด้านขาเข้าก็สามารถแสดงความดันในถังได้
แต่เมื่อทดลองหมุนปรับความดันพบว่าจากที่สามารถหมุนปุ่มปรับความดันได้อย่างเบามือนั้น
พอหมุนเข้าไปได้เพียงเล็กน้อยก็ติดแน่นแล้ว
จากการสังเกตพบว่าปัญหาเกิดจากการคลายปุ่มหมุนปรับความดันออกมา
(ที่ให้กระทำตอนปิดเครื่อง
GC)
มากเกินไป
แต่ตอนขันอัดเข้าไปนั้นเกลียวของปุ่มหมุนปรับความดันกับเกลียวภายในนั้นไม่เข้าร่องกัน
(เกิดการปีนเกลียว)
ซึ่งสังเกตได้จากขอบของตัวปุ่มหมุนปรับความดัน
(เส้นประสีเหลืองในรูปที่
๑)
นั้นไม่อยู่ในแนวตั้งฉากกับทิศทางการเคลื่อนที่ที่ถูกต้อง
(เส้นประสีแดงในรูปที่
๑)
ดังนั้นพอขันเข้าไปได้เพียงเล็กน้อยก็เกิดการติดขัด
รูปที่
๑ Pressure
regulator หัวถังแก๊สไนโตรเจนตัวที่มีปัญหา
ในการใช้งานตามปรกตินั้นในขณะที่เราหมุนปุ่มปรับความดัน
แนวขอบของปุ่มหมุนปรับความดัน
(เส้นประสีเหลือง)
จะต้องตั้งฉากกับแนวทางการเคลื่อนที่
(เส้นประสีแดง)
การแก้ปัญหาทำโดยการทำการประคองปุ่มหมุนปรับความดันโดยให้แนวขอบ
(เส้นประสีเหลือง)
อยู่ในแนวตั้งฉากตลอดเวลา
พร้อมกับค่อย ๆ
หมุนปุ่มปรับความดันเข้าไปทีละน้อย
ในขณะนี้ถ้าพบว่าเกิดการติดขัดก็ให้คลายปุ่มออกมาและค่อย
ๆ ขันกลับเข้าไปใหม่
อย่าฝืนขันอัดเข้าไปเพราะอาจทำให้เกลียวเสียได้
ซึ่งพอลองทำอย่างนี้เพียงไม่กี่ครั้งก็สามารถทำให้มันกลับมาใช้งานเหมือนเดิมได้
อีกเรื่องที่มักพบเห็นประจำแต่ไม่ค่อยมีคนสนใจคือสายไฟพัดลม
ในแลปของเรานั้นมีคนใช้พัดลมเพื่อการต่าง
ๆ หลายอย่าง ทั้งช่วยในการระบายอากาศ
ลดความร้อน
และแก้ปัญหาค่าที่ได้จากการวัดนั้นไม่นิ่ง
(อันหลังสุดนี้เป็นความเชื่อของคนบางคนที่คิดว่าการเปิดพัดลมเป่าอุปกรณ์ทำแลป
จะทำให้ตัวเลขต่าง ๆ
ของเครื่องมือวัดนั้นมันนิ่ง)
แต่สิ่งที่พบเห็นเป็นประจำคือคนใช้พัดลมนั้นมักไม่ค่อยสนใจว่าสายไฟที่ลากระหว่างปลั๊กไฟกับตัวพัดลมนั้นมันวางอย่างไร
ขวางทางเดินหรือไม่
หลายรายพอจะใช้พัดลมก็ไปลากเอาตัวที่อยู่ใกล้สุดมาใช้
โดยไม่ได้สนใจจะย้ายมันมาเสียบปลั๊กยังที่ใหม่
ผลก็คือจะเห็นปัญหาเรื่องสายไฟวางกีดขวางทางเดินรอคนมาสะดุดล้มอยู่เป็นประจำ
ดังเช่นที่เอามาให้ดูในรูปที่
๒ ข้างล่างที่ถ่ายภาพมาเมื่อเช้าวันจันทร์นี้เอง
รูปที่
๒ สายไฟพัดลมที่ชอบปล่อยให้มันวางพาดขวางทางเดิน
(ที่เห็นเป็นสายสีเทา
ๆ ตามแนวเส้นประสีแดง)
สายไฟที่ใช้กับพัดลมนั้นเป็นสายไฟอ่อนแบบมีฉนวนหุ้มเพียงชั้นเดียว
คือหุ้มลวดทองแดงเอาไว้
สายไฟประเภทนี้
เหมาะที่จะใช้ต่อจากปลั๊กไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าโดยตรง
ไม่เหมาะแก่การเอามาวางบนพื้น
เพราะถ้าถูกเหยียบหรือมีรถเข็นทับไปมา
ฉนวนจะฉีกขาดได้ง่ายและลึกเข้าไปถึงทองแดงนำไฟฟ้าที่อยู่ข้างในทันที
สายไฟอีกประเภทที่ปลอดภัยกว่าคือสายที่เห็นเป็นสายกลมสีดำ
(รูปที่
๓)
พวกนี้จะมีฉนวนหุ้มอยู่สองชั้น
คือชั้นในที่เป็นฉนวนหุ้มแกนทองแดง
และชั้นนอกที่จะหุ้มสายไฟข้างในเอาไว้อีกชั้นหนึ่ง
รูปที่
๓ สายไปแบบเส้นกลมสีดำที่ใช้ในแลปเรา
จะมีฉนวนหุ้มอยู่สองชั้น
คือหุ้มแกนทองแดงชั้นใน
(สีดำกับสีเทา)
และหุ้มสายไฟข้างในอีกทีหนึ่ง
และอันที่จริงถ้าหลีกเลี่ยงการวางสายไฟบนพื้นที่มีคนสัญจรไปมาได้ก็จะเป็นการดีที่สุด