เอกสารฉบับนี้แจกจ่ายเป็นการภายใน
ไม่นำเนื้อหาลง blog
บันทึกช่วยจำของกลุ่มวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะออกไซด์ บันทึกความจำของวิศวกรเคมีผู้ลงมือปฏิบัติ (mo.memoir@gmail.com)
วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2559
วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2559
ความเป็นกรดของหมู่ไฮดรอกซิล (Hydroxyl group) ตอนที่ ๑ MO Memoir : Tuesday 28 June 2559
หมู่ไฮดรอกซิล
(Hydroxyl
group หรือ
-OH)
ที่จะคุยกันในที่นี้คือหมู่ที่อะตอม
O
นั้นสร้างพันธะโควาเลนซ์กับอะตอมไฮโดรเจน
๑ อะตอม และสร้างพันธะโควาเลนซ์กับอะตอมอื่นอีก
๑ อะตอมที่ไม่ใช่ H
ตรงนี้หลายรายไปจำสับสนกับไฮดรอกไซด์ไอออน
(Hydroxide
ion หรือ
OH-)
ซึ่งเป็นกรณีที่ไอออน
OH-
นั้นสร้างพันธะไอออนิกกับไอออนบวกตัวอื่น
ไฮดรอกไซด์ไอออนนั้นเป็นเบส
(ไม่ว่าไอออนบวกนั้นจะเป็นไอออนอะไร)
แต่หมู่ไฮดรอกซิลนั้นเป็นได้ทั้งกรดและเบส
ขึ้นอยู่กับว่าอะตอม O
นั้นไปสร้างพันธะอีกพันธะหนึ่งเข้ากับหมู่อะไร
หมู่ -OH
แสดงฤทธิ์เป็นกรดได้ด้วยการจ่าย
H+
ออกมา
และแสดงฤทธิ์เป็นเบสลิวอิสได้ด้วยการใช้อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
(lone
pair electron) ของอะตอม
O
นั้นรับ
H+
ซึ่งมักตามมาด้วยการหลุดของหมู่
-OH
ออกมาในรูปของ
H3O+
ดังรูปที่
๑ ข้างล่าง
รูปที่
๑ การแสดงฤทธิ์เป็นกรดและเบสของหมู่ไฮดรอกซิล
เรื่องความเป็นเบสของหมู่ไฮดรอกซิลนั้นขอเก็บเอาไว้ก่อน
ใน Memoir
ฉบับนี้จะคุยกันเพียงแค่ความเป็นกรด
โดยธรรมชาติของอะตอมที่มีประจุนั้น
มันจะดึงดูดประจุที่ตรงข้ามกันเข้าหากัน
ความสามารถในการดึงประจุที่ตรงข้ามกันนั้นขึ้นอยู่กับความหนาแน่นประจุ
ความหนาแน่นประจุดูได้จากปริมาณประจุต่อขนาดอะตอมหรือกลุ่มอะตอมที่มีประจุนั้น
ถ้าอะตอมนั้นมีความหนาแน่นประจุสูง
มันก็จะแรงในการดึงประจุตรงข้ามที่สูง
เพื่อสะเทินประจุของตัวมันเอง
ประจุที่ตรงข้ามกันนั้นอาจอยู่ในรูปของไอออนที่มีประจุตรงข้าม
หรือตำแหน่งของโมเลกุลที่มีขั้ว
ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดก็คือกรณีของกรด
HX
ที่ความแรงของกรดเรียงตามลำดับ
HF < HCl < HBr < HI แม้ว่าทั้ง
F-
Cl- Br- และ
I-
ต่างเป็นไอออนที่มีประจุ
-1
เหมือนกัน
แต่ไอออน F-
มีขนาดเล็กสุดจึงมีความหนาแน่นประจุมากที่สุด
(หรือจะมองว่าอิเล็กตรอนที่เกินมา
1
ตัว
มันหาตัวเพื่อสร้างพันธะได้ไม่ยากก็ได้)
จึงสามารถดึงเอา
H+
กลับเข้าหามันได้ง่ายกว่าตัวอื่น
(ในสภาวะที่ใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย
HF
จึงเป็นกรดอ่อน)
ส่วนไอออน
I-
มีขนาดใหญ่สุด
ประจุลบจึงแผ่กระจายออกไปมากกว่า
(หรือจะมองว่าไอออนบวกที่จะเข้ามาสร้างพันธะกับอิเล็กตรอนที่เกินมา
1
ตัวจะสร้างได้ยากกว่าเพราะหาอิเล็กตรอนตัวนั้นได้ยากกว่า
เนื่องจากมันมีพื้นที่ให้เคลื่อนที่ที่กว้างกว่า)
HI จึงเป็นกรดที่แก่ที่สุดในกลุ่มนี้
ในกรณีของไอออนที่ประกอบขึ้นจากอะตอมหลายอะตอม
ยังมีอีกวิธีการหนึ่งที่สามารถลดความหนาแน่นประจุได้นั่นก็คือการเกิดทำให้ประจุนั้นเคลื่อนที่ไปยังอะตอมอื่นที่อยู่เคียงข้าง
(จะเรียกว่าเกิด
delocalization
หรือ
resonance
ก็ตามแต่)
ในทางเคมีอินทรีย์ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของกรณีนี้ก็คือ
pi
electron ของวงแหวนเบนซีนหรือในกรณีของ
conjugated
double bond (โครงสร้างโมเลกุลที่มีพันธะ
C=C
สลับกับพันธะ
C-C)
ตำแหน่งพันธะคู่
C=C
นั้นมองได้ว่าเป็นเบสลิวอิสหรือเป็นบริเวณที่มีอิเล็กตรอนหนาแน่น
แต่พอเกิด delocalization
แล้วทำให้ความหนาแน่นของอิเล็กตรอน
ณ ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งลดลง
การดึงอิเล็กตรอนจากวงแหวนเบนซีนจึงยากกว่าการดึงจากพันธะ
C=C
ปรกติ
ที่เล่ามาข้างต้นเป็นพื้นฐานเพื่อการทำความเข้าใจว่าทำไมหมู่
-OH
จึงแสดงฤทธิ์เป็นกรดที่มีความแรงแตกต่างกันได้
ในกรณีของแอลกอฮอล์นั้น
หมู่ -OH
เกาะอยู่กับอะตอม
C
ของหมู่
R
โดยอะตอม
C
ตัวที่มีหมู่
-OH
เกาะอยู่ของหทู่
R
นี้สร้างพันธะที่เหลือเข้ากับอะตอม
C
ตัวอื่น
(ในรูปแบบของพันธะเดี่ยว
C-C
นะ
ไม่ใช่พันธะคู่ C=C)
หรืออะตอม
H
และโครงสร้างส่วนที่เหลือของหมู่
R
เป็นหมู่ไฮโดรคาร์บอนอิ่มหรือไม่อิ่มตัว
ถ้าหมู่ไฮดรอกซิลของแอลกอฮอล์นี้จ่ายโปรตอนออกไป
ไอออนลบที่เกิดขึ้น
(ที่เรียกว่าอัลคอกไซด์ไอออนหรือ
alkoxide)
จะมีประจุลบค้างอยู่ที่ตำแหน่งอะตอม
O
เท่านั้น
เพราะอะตอม C
ของหมู่
R
ที่มีหมู่
-OH
เกาะอยู่นั้นไม่มีความสามารถในการดึงอิเล็กตรอนออกไปจากอะตอม
O
ทำให้ความหนาแน่นประจุที่ตำแหน่งอะตอม
O
สูงมาก
มันก็เลยไม่อยากปล่อยโปรตอนออกไป
ยกเว้นแต่ว่าจะมีเบสที่แรงจริง
ๆ เท่านั้นมาทำปฏิกิริยาด้วย
(เช่นโลหะ
Na)
ดังนั้นหมู่
-OH
ของแอลกอฮอล์จึงมีฤทธิ์เป็นกรดที่อ่อนมาก
ในกรณีของฟีนอลนั้น
หมู่ -OH
เกาะเข้าโดยตรงกับอะตอม
C
ของวงแหวนเบนซีน
เมื่อหมู่ -OH
จ่ายโปรตอนออกไป
อะตอม C
ที่มีหมู่
-OH
เกาะอยู่นั้นก็ไม่มีความสามารถในการดึงอิเล็กตรอนจากอะตอม
O
เช่นกัน
(เพราะ
C
มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตี
(electronegativity)
ต่ำกว่า
O)
แต่อะตอม
C
ดังกล่าวมี
pi
electron ของพันธะไม่อิ่มตัว
สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็คืออิเล็กตรอนที่ทำให้เกิดประจุลบที่อะตอม
O
จะเกิดการ
delocalization
กับ
pi
electron ของวงแหวนเบนซีน
(ดังรูปที่
๒ ข้างล่าง)
ทำให้ประจุลบมีการแผ่กระจายออกไปทั้งโมเลกุล
(หรือกล่าวได้ว่ามีความหนาแน่นประจุลดลง)
ฟีนอลจึงเป็นกรดที่แรงกว่าแอลกฮอล์
(เพราะ
phonoxide
ion มีเสถียรภาพมากกว่า)
รูปที่
๒ การเกิด charge
delocalization ของ
phenoxide
ion
ทีนี้ลองมาดูกรณีของกรดอินทรีย์
(carboxylic
acid) กันดูบ้าง
ในกรณีนี้อะตอม O
ของหมู่
-OH
เกาะกับอะตอม
C
ของหมู่คาร์บอนบิล
(carbonyl
-CO-) อะตอม
C
ของหมู่คาร์บอนิลตัวนี้มีอะตอม
O
เกาะด้วยพันธะคู่อยู่อีก
๑ อะตอม และอะตอม O
ตัวนี้เป็นตัวที่ดึงอิเล็กตรอนออกจากอะตอม
C
ทำให้อะตอม
C
มีความเป็นขั้วบวก
ดังนั้นเมื่อหมู่ -OH
จ่ายโปรตอนออกไปกลายเป็น
-O-
ประจุลบที่
-O-
จะถูกอะตอม
C
ของหมู่คาร์บอนิลดึงเข้าหาให้เคลื่อนที่ไปทางฝั่งนี้บ้าง
ทำให้ความหนาแน่นประจุลบของ
-O-
ลดลง
แต่ที่สำคัญคือโครงสร้าง
C=O
ของหมู่คาร์บอนนิลนั้นสามารถทำให้ประจุลบของ
-O-
เกิด
delocalization
ได้
และเป็นตัวหลักที่ทำให้ความหนาแน่นประจุลดลง
(เพราะแผ่ออกไปเป็นบริเวณที่กว้างขึ้น)
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้กรดอินทรีย์มีความเป็นกรดที่แรงกว่าแอลกอฮอล์และฟีนอล
รูปที่
๓ การเกิด delocalization
ของหมู่คาร์บอกซิล
แรงที่กระทำต่อไอออนที่อยู่บนพื้นผิวสารประกอบโลหะออกไซด์ที่เป็นของแข็งนั้นเป็นแรงที่ไม่สมมาตร
ทำให้ด้านที่หันเข้าหาเฟสแก๊ส/ของเหลวนั้นสามารถดึงดูดโมเลกุลที่มีขั้วให้มาเกาะอยู่บนพื้นผิว
(ที่เรียกว่าเกิดการดูดซับ)
และโมเลกุลมีขั้วที่มีอยู่ทั่วไปมากที่สุดเห็นจะได้แก่น้ำ
ถ้าไอออนบวกนั้นเป็นกรดลิวอิส
(Lewis
acid) ที่แรงมาก
มันจะดึงเอาส่วน OH-
ให้มาเกาะกับตัวมันและแยก
H+
ไปเกาะกับไอออน
O
ที่อยู่ข้างเคียงให้กลายเป็นหมู่
-OH
ที่มีคุณสมบัติเป็น
Brönsted
acid site ที่สามารถจ่าย
H+
ให้กับเบส
(ฟัง
ๆ ดูแล้วอาจจะงงหน่อย
แต่ว่ามันไม่ใช่ไฮดรอกไซด์ไอออนนะ)
และในสภาวะที่เหมาะสม
(เช่นที่อุณหภูมิสูง
มีไอน้ำ ฯลฯ)
พื้นผิวก็จะคายโมเลกุลน้ำออกมา
เปลี่ยนสภาพเป็น Lewis
acid ได้
รูปที่
๔ การเกิด Brönsted
และ
Lewis
acid site บนพื้นผิวซีโอไลต์ที่เกิดจากการดูดซับน้ำหรือคายน้ำ
หรือการแทนที่ Si4+
ด้วยไอออน
4+
ของโลหะตัวอื่น
(จากบทความเรื่อง
"Recent
progress in the development of solid catalysts for biomass conversion
into high value-added chemicals : Focus issue review", โดย
Michikazu
Hara, Kiyotaka Nakajima และ
Keigo
Kamata, Sci, Technol. Adv. Mater. 16 (2015) 22 pp.
รูปที่
๕ การเปลี่ยนจากBrönsted
มาเป็น
Lewis
acid site บนพื้นผิวซีโอไลต์อันเป็นผลจากไอน้ำและความร้อน
ทำให้ Al3+
หลุดออกจากโครงสร้าง
และตัว Al3+
ที่หลุดออกมาตัวนี้แหละที่เป็น
Lewis
acid site (จาก
http://what-when-how.com/nanoscience-and-nanotechnology/catalytic-properties-of-micro-and-mesoporous-nanomaterials-part-1-nanotechnology/)
รูปที่
๔ เป็นตัวอย่างกรณีของซีโอไลต์
(zeolite)
ที่ทำให้เกิดความไม่สมมาตรด้วยการแทรกไอออน
Al3+
เข้าไปในโครงสร้าง
SiO2
(ที่ประกอบด้วย
Si4+)
เจ้าตัว
Al3+
ที่ทำให้เกิดความไม่สมมาตรในโครงสร้าง
ดึงดูดโมเลกุลน้ำเข้ามา
ทำให้เกิดตำแหน่งที่เป็น
Brönsted
acid site บนพื้นผิว
แต่ถ้าให้ความร้อนที่สูงมากพอและมีไอน้ำร่วม
ไอออน Al3+
จะหลุดออกาจากโครงสร้างได้
และเจ้าตัว Al3+
ที่หลุดออกมาตัวนี้แหละที่เป็น
Lewis
acid site (รูปที่
๕)
รูปที่
๖ เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของหมู่
-OH
บนพื้นผิวโลหะออกไซด์
ที่แสดงฤทธิ์เป็น Brönsted
acid site (ไอออนบวกของโลหะดึงอิเล็กตรอนออกจากอะตอม
O
แบบเดียวกับที่หมู่คาร์บอนิล
-CO-
ทำนั่นแหละ)
แต่เป็นกรณีที่มีการใช้สารประกอบซับเฟต
(SO42-)
เข้าไปเสริมแรงของ
Lewis
acid site
รูปที่
๖ การเกิด Brönsted
และ
Lewis
acid site บนพื้นผิวสารประกอบโลหะออกไซด์
(ซ้าย)
พื้นผิวปรกติ
(ขวา)
ได้รับการเสริมด้วยซัลเฟต
(SO42-)
(จากบทความเรื่อง
"Nanoporous
catalysts for biomass conversion : Critial Review" โดย
Liang
Wang และ
Feng-Shou
Xiao, Green Chem, 2015, 17, pp 24-39)
อันที่จริงเรื่องความเป็นกรดของหมู่
-OH
บนพื้นผิวมันเป็นเรื่องใหญ่เรื่องหนึ่ง
เอาไว้ผมมีความรู้เรื่องนี้ดีก่อนแล้วค่อยเล่าให้ฟังก็แล้วกัน
เพราะมันมีหลายแบบจำลองที่ขัด
ๆ กันอยู่
ว่าแต่ตรงจุดนี้อาจมีคนสงสัยว่าเริ่มต้นเรื่องนี้ด้วยเคมีอินทรีย์แล้วมาจบลงที่เคมีอนินทรีย์ได้อย่างไร
สาเหตุก็เป็นเพราะคิดว่ามีใครต่อใครหลายคนอาจต้องการความรู้พื้นฐานเรื่องความเป็นกรดของหมู่ไฮดรอกซิลเพื่อเอาไปใช้ในการสอบวิทยานิพนธ์ที่จะเกิดขึ้นเร็ว
ๆ นี้ ก็เลยเขียนเรื่องนี้เล่าสู่กันฟังเท่านั้นเอง
ส่วนภาพในหน้าถัดไปก็ไม่มีอะไร
เห็นมีคนเขาโพสบนหน้า
facebook
ของเขาเมื่อช่วงหัวค่ำวันวานที่ผ่านมา
(ตามเวลาประเทศไทย)
ก็เลยขอเอามาบันทึกไว้กันลืมเท่านั้นเอง
เพราะในความเป็นจริงผมเองก็ไม่ได้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หรือกรรมการสอบของพวกเขาเลย
เป็นเพียงแค่แวะไปกินกาแฟกับพวกเขาเท่านั้นเอง
ป้ายกำกับ:
alcohol,
Bronsted acid,
carboxylic acid,
hydroxyl,
Lewis acid,
phenol
วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2559
ตำราสอนการใช้ปิเปตเมื่อ ๓๓ ปีที่แล้ว (ก่อนจะเลือนหายไปจากความทรงจำ ตอนที่ ๑๐๕) MO Memoir : Saturday 25 June 2559
ระหว่างจัดหนังสือก็ค้นเจอตำราเก่า
ๆ ที่เคยใช้สมัยเรียนปี ๑
ก็เลยขอเอาบางส่วนมาให้ดูกัน
เพื่อที่จะได้เห็นว่าในยุคสมัยหนึ่งนั้นบางสิ่งมันเป็นเรื่องที่เขาสอนให้ปฏิบัติกันเป็นเรื่องปรกติ
แต่ต่อมาภายหลังก็มีการเปลี่ยนแปลงว่าเป็นวิธีการปฏิบัติที่ไม่ปลอดภัย
และห้ามกระทำกัน นั่นคือการ
"ปาก"
ดูดปิเปต
ตอนเรียนมัธยมปลายยังมีโอกาสทำการทดลองภาคปฏิบัติทั้งวิชา
ฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา
(เจอทั้งผ่ากบและผ่ากระต่าย)
พอเข้ามหาวิทยาลัยก็เลยพอมีพื้นฐานในการทำการทดลองอยู่บ้าง
การใช้ปากดูดปิเปตในยุคสมัยนั้นก็ถือได้ว่าเป็นเรื่องปรกติที่มีการสอนให้ทำกัน
วิธีการก็คือให้เอานิ้วชี้อุดปลายปิดเปตข้างที่จะดูดเอาไว้
จากนั้นก็เอาปากอมทั้งนิ้วชี้ทั้งปลายปิเปต
เปิดนิ้วที่อุดปลายปิเปตเล็กน้อย
แล้วค่อย ๆ ดูดของเหลวให้ไหลเข้าปิเปต
ตาก็ต้องคอยมองดูด้วยว่าของเหลวไหลขึ้นมาเกินระดับขีดบอกปริมาตรหรือยัง
ถ้าเห็นว่ามันขึ้นมาสูงเกินแล้วก็ให้หยุดการดูด
แล้วใช้การเปิด-ปิดปลายนิ้วชี้ในการปรับปริมาตรของเหลวในปิเปตให้ถูกต้อง
แต่ก็อย่างว่า
ขีดบอกปริมาตรที่ถูกต้องมันอยู่ใกล้ปากดูด
มันก็เลยมองยาก
ดังนั้นอุบัติหตุประเภทดูดสารละลายเกินเข้ามาในปากจึงเกิดขึ้นได้ไม่ยาก
ส่วนอาคารที่เคยเป็นห้องเรียนแลปเคมีเดิม
ตอนนี้กลายเป็นอาคารศิลปวัฒนธรรมไปแล้ว
(ภาพข้างล่าง)
วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2559
MO Memoir รวมบทความชุดที่ ๘ รถไฟ ปู๊น ปู๊น MO Memoir : Friday 24 June 2559
"รถไฟ"
เป็นเรื่องราวที่ผมชอบมากที่สุดบนหน้า
blog
ของผมครับ
ในขณะที่คนส่วนหนึ่งมองหาการมาถึงของเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง
แต่ก็มีอีกส่วนหนึ่งที่มองหาความสงบเงียบและความงามของบรรยากาศสองข้างทางรถไฟเมื่อมองจากหน้าต่างรถไฟที่วิ่งไปเรื่อย
ๆ
ตรงนี้ก็คงขึ้นอยู่กับว่าคนเหล่านั้นเดินทางโดยรถไฟเพื่อวัตถุประสงค์ใด
และให้คำจำกัดความของ
"การท่องเที่ยว"
ไว้อย่างใด
คนที่เดินทางโดยมีธุระติดต่อเป็นเป้าหมายหลัก
ความรวดเร็วในการเดินทางจึงเป็นสิ่งสำคัญ
คนที่ท่องเที่ยวโดยสนแต่ปลายทางเป็นจุดหมายหลัก
ความรวดเร็วในการเดินทางจึงเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน
แต่สำหรับผู้ที่เห็นว่าการท่องเที่ยวคือการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ตลอดเส้นทางเดินทางนั้น
การได้มีเวลาสัมผัสกับสิ่งต่าง
ๆ ระหว่างเส้นทางจึงเป็นสิ่งสำคัญ
เรื่องต่าง
ๆ เกี่ยวกับรถไฟที่เขียนลง
blog
ลงไปนั้น
ไม่ได้คิดจะเจาะลึกลงไปในแต่ละเรื่องหรอกครับ
เป็นเพียงแค่บันทึกความจำว่าเคยเห็นเรื่องราวเกี่ยวกับรถไฟ
(ที่ไม่ค่อยมีการกล่าวถึงกัน)
ที่ไหนบ้าง
แต่ก็ไม่แน่นะครับ
เกษียณอายุเมื่อใดอาจเอาเรื่องที่บันทึกไว้มาเป็นต้นเรื่องให้ค้นคว้าลงไปอย่างละเอียดอีกที
ก็คนเราก็ต้องมีงานอดิเรกกันบ้างใช่ไหมครับ
ไม่ใช่ว่าคุยได้แต่เรื่องเดียวคือเรื่องงาน
ดาวน์โหลดไฟล์ pdf กดที่นี่
ดาวน์โหลดไฟล์ pdf กดที่นี่
ป้ายกำกับ:
ทางรถไฟ,
ทิ้งระเบิด,
ประวัติศาสตร์,
รถไฟ,
รถไฟหัตถกรรม,
สงครามโลกครั้งที่ 2
วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2559
น้ำตาลในผลไม้ (คิดสักนิดก่อนกดแชร์ เรื่องที่ ๘) MO Memoir : Thursday 23 June 2559
ลองดู
Infographic
ข้างล่างดูก่อนนะครับ
เห็นแล้วคุณรู้สึกอย่างไร
ผมเห็นคนเขากดแชร์กันใหญ่เมื่อวานนี้
ดูเหมือนว่าใน facebook
ต้นเรื่องนั้นเพิ่งจะนำขึ้นในวันอังคารที่ผ่านมา
ตอนแรกที่คุณเห็น
คุณคิดว่าผลไม้ชนิดไหนมีน้ำตาลมากที่สุด
และชนิดไหนมีน้ำตาลน้อยที่สุดครับ
คุณเกิดความรู้สึกที่ไม่ดีกับผลไม้บางชนิดหรือเปล่าครับเมื่อได้เห็นกราฟแท่งดังกล่าว
ทีนี้ลองดูใหม่อีกทีนะครับ
ผมตัดมาบางส่วนและขีดเส้นใต้เน้นให้เห็นชัดเจน
ปรกติเวลาคุณกินกล้วยหอม
คุณก็มักจะกินทั้งใบใช่ไหมครับ
(มีสักกี่คนที่กินแบบครึ่ง
ๆ กลาง ๆ แล้วทิ้งหรือเก็บไว้กินต่อ)
แล้วเวลากินน้อยหน่า
คุณกินทีละ "1.2
ผล"
หรือครับ
(แล้วอีก
0.8
ผลเอาไปไหน
เก็บไว้อย่างไร)
เวลากินมะม่วง
คุณกินครั้งละ "0.3
ผล"
เช่นนั้นหรือ
และเวลากินฝรั่งก็เช่นกัน
คุณกินทีละ "0.25
ผล"
หรือเปล่าครับ
มาถึงตรงนี้คงจะเห็นแล้วนะครับว่า
กราฟแท่งที่เขาแสดงเปรียบเทียบปริมาณน้ำตาลนั้น
เป็นการเปรียบเทียบที่
"เป็นธรรม"
หรือไม่
ข้อมูลที่เขานำมาแสดงนั้นอาจจะถูกก็ได้ครับ
(ตรงนี้ผมไม่รู้นะ)
ถ้าคิดจากปริมาณน้ำตาลตามหน่วยบริโภคที่เขาแสดง
แต่ในความเป็นจริงเราบริโภคผลไม้กันตามหน่วยบริโภคนั้นหรือไม่
ผมคิดว่าคนส่วนใหญ่พอเห็นคนกดแชร์รูปมาก็มักจะกดแชร์ต่อ
ๆ กันไป ไม่รู้ว่าจะมีสักกี่คนที่เข้าไปอ่านจากต้นตอ
ซึ่งบางทีเราก็จะเห็นความเห็นแย้งกับรูปภาพดังกล่าว
และเป็นความเห็นแย้งที่มีเหตุผลซะด้วย
อย่างเช่นในกรณีของรูปนี้ก็มีผู้เข้าไปแสดงความเห็นประกอบดังรูปข้างล่าง
ลองอ่านเอาเองนะครับ
ความเห็นแย้งข้างบนยังไม่จบนะครับ
ยังมีคนแสดงความเห็นโต้ตอบกันอยู่
ส่วนใครจะถูกใครจะผิดนั้นผมก็บอกไม่ได้
เพราะไม่ได้มีความรู้อะไรทางด้านนี้
เพียงแค่อยากยกตัวอย่างให้เห็นในสิ่งที่ผมมักจะกล่าวเสมอเวลาสอนสัมมนาว่า
สิ่งสำคัญคือ"ฟังอย่างไร
ไม่ให้ถูกหลอก"
เดี๋ยวนี้เห็นบ่อยครั้งที่
Infographic
ไม่ได้แสดงข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรอก
คนอ่านต่างหากที่อ่านไม่ละเอียดเอง
และสรุปไม่ดีเอง
ป้ายกำกับ:
สัมมนา
วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2559
ภาพบันทึกความทรงจำ กว่าจะเป็นวิศวกรเคมี ๘๑-๙๐ MO Memoir : Tuesday 21 June 2559
กลับมาใหม่อีกครั้งหลังห่างหายไปกว่าปี
มาคราวนี้การเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเล็กน้อย
คือชุดก่อนนี้ลงภาพเป็นขาว-ดำ
แต่มาคราวนี้เปลี่ยนเป็นลงภาพสีแทน
และมีการพลิกภาพที่อยู่ในแนวนอนให้วางตั้งขึ้นเพื่อให้ภาพมันขยายได้ใหญ่เต็มหน้ากระดาษ
(เฉพาะในส่วนของไฟล์
pdf
ที่แจกจ่ายทางอีเมล์)
วันที่ที่ปรากฏอยู่เหนือแต่ละภาพคือวันที่นำภาพดังกล่าวแสดงบนหน้า
blog
ในกล่อง
"กว่าจะเป็นวิศวกรเคมี"
ส่วนรายละเอียดของภาพนั้นอยู่ทางด้านล่างของแต่ละภาพ
อีก
๑๐ ภาพของสิ่งที่คนทั่วไปอาจะเห็นว่าเป็น
เหตุการณ์ธรรมดา ๆ ของบุคคลธรรมดา
ๆ ถ่ายในสถานที่ธรรมดา ๆ
โดยตากล้องธรรมดา ๆ
แต่สำหรับคนที่อยู่ในช่วงเวลาดังกล่าว
ไม่ว่าจะปรากฏอยู่ในภาพหรือไม่อยู่ในภาพนั้นนั้น
มันจะเป็นเช่นนั้นหรือไม่
ก็คงขึ้นอยู่กับความทรงจำของเขาเหล่านั้น
วันพฤหัสบดีที่
๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙
วันพฤหัสบดีที่
๘ กรกฎาคม ๒๕๔๗
นิสิตป.ตรีเตรียมป้ายไว้ต้อนรับบัณฑิตที่จะมารับปริญญาในวันรุ่งนี้
วันนี้เป็นวันรับปริญญาของนิสิตบัณฑิตศึกษาของคณะ
วันอาทิตย์ที่
๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๙
วันอังคารที่
๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙
วันจันทร์ที่
๖ มิถุนายน ๒๕๕๙
วันพฤหัสบดีที่
๙ มิถุนายน ๒๕๕๙
วันเสาร์ที่
๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๙
วันเสาร์ที่
๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๙ วัน CU
First Date บรรยากาศถนนระหว่างศาลาพระเกี้ยวไปยังหอประชุม
(ถ่ายจากลานจักรพงษ์
(สระว่ายน้ำ
๕๐ เมตรเดิม))
ที่มีการขายเสื้อและกระเป๋าของนิสิตรุ่นพี่
วันจันทร์ที่
๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๙
วันพุธที่
๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๙
วันเสาร์ที่
๒๗ มกราคม ๒๕๕๐
นิสิตตัวแทนภาควิชาที่ไปร่วมแข่งขันกีฬาระหว่างภาควิชาวิศวกรรมเคมี
"โลมาเกมส์"
ที่มหาวิทยาลัยบูรพา
บางแสน
วันศุกร์ที่
๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๙
วันจันทร์ที่
๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๙
การทดลองแลปเคมีอินทรีย์เรื่อง
"ทอดไข่เจียวให้อร่อยต้องใช้น้ำมันหมู
-
จริงหรือเท็จ"
ของนิสิตวิศวกรรมเคมีชั้นปีที่
๒
วันอาทิตย์ที่
๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๙
ป้ายกำกับ:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
วิศวกรรมเคมี,
วิศวกรรมศาสตร์,
วิศวจุฬา
วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2559
เส้นทางรถไฟที่หายไป (ก่อนจะเลือนหายไปจากความทรงจำ ตอนที่ ๑๐๔) MO Memoir : Monday 20 June 2559
"การสร้างทางรถไฟในประเทศไทยถูกกำหนดด้วยเงื่อนไขทางการเมืองตั้งแต่แรก
ไวเลอร์ได้รับรู้ถึงความขัดแย้งทางการเมืองนี้แต่เพียงผิวเผินในขณะที่เขายังเป็นวิศวกรหนุ่มประจำทางรถไฟสายโคราช
แต่เขาก็ได้ติดตามเรื่องราวนี้ด้วยความสนใจ
เขาทราบดีตั้งแต่แรกว่าการสร้างทางรถไฟจะช่วยสร้างความมั่นคงภายในให้ประเทศนี้
และสิ่งนี้จะช่วยรักษาความเป็นเอกราชของประเทศได้
ถ้าขัดขวางไม่ให้ประเทศมหาอำนาจทั้งสองมีอิทธิพลต่อการสร้างทางรถไฟได้สำเร็จ"
(จากหน้า
๔ ของหนังสือ "กำเนิดการรถไฟในประเทศไทย"
ลูอิส
ไวเลอร์ เขียน ถนอมนวล โอเจริญ
และ วิลิตา ศรีอุฬารพงศ์ แปล
โครงการเผยแพร่ผลงานวิขาการ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ลำดับที่ ๑๔๙ พิมพ์ครั้งที
๒ พ.ศ.
๒๕๕๖)
หนังสือ
"Rails
of the Kingdom : The History of Thai Railways" เรียบเรียงโดย
Ichiro
Kakizaki ให้ภาพปัญหาของการตัดสินใจสร้างทางรถไฟของประเทศไทยได้ดีมาก
และได้ให้ภาพการรถไฟของไทยในยุคแรก
ๆ ว่าเป็น "Political
Railways" เพราะความจำเป็นในการก่อสร้าง
แนวเส้นทาง ผู้ดำเนินการ
หรือแม้แต่ขนาดราง
ต่างก็มีปัจจัยทางด้านการเมืองที่ต้องหาจุดสมดุลระหว่างแรงกดดันจากชาติมหาอำนาจ
และการคงไว้ซึ่งเอกราชของประเทศชาติ
ผมว่าแทนที่จะไปโพสถามคำถามทำนองว่า
"ไทยกับญี่ปุ่นมีรถไฟในเวลาไล่เลี่ยกัน
ทำไมรถไฟญี่ปุ่นจึงเจริญกว่ารถไฟไทย"
ตามเว็บบอร์ดต่าง
ๆ ถ้าหาหนังสือเหล่านี้มาอ่าน
(อย่างน้อยก็สองเล่มที่ยกมาข้างต้น)
ก็จะทราบคำตอบที่ถูกต้องได้เอง
รถไฟของไทยในยุคแรกใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง
ดังนั้นจึงมีการสร้างทางรถไฟเข้าไปในป่าเพื่อนำฟืนมารวมไว้ที่สถานีหลัก
ส่วนของเอกชนนั้นก็มีการสร้างทางรถไฟขึ้นใช้งาน
(ในยุคแรกเรียกว่ารถไฟหัตถกรรม)
พวกที่ทำเหมืองแร่ดีบุกในภาคใต้บางแห่งก็มีการวางทางรถไฟเพื่อนำแร่ออกมา
เส้นทางขนแร่นั้นมักเป็นเส้นสั้น
ๆ
เส้นทางที่ยาวกว่ามักจะเป็นของพวกที่ทำป่าไม้ทางภาคเหนือและทางภาคตะวันออก
แต่เมื่อป่าไม้หมดไป
บริเวณป่าเดิมกลายเป็นเขตเกษตรกรรมขึ้นแทน
จากรถไฟขนไม้ก็กลายเป็นรถไฟขนอ้อยเข้าโรงงาน
เช่นที่ศรีราชา
หรืออาจมีการวางรางรถไฟเพื่อขนอ้อยเข้าโรงงานน้ำตาลโดยตรง
เช่นทางภาคเหนือ
เส้นทางรถไฟเหล่านี้ปัจจุบัน
(เชื่อว่า)
ไม่มีเหลือให้เห็นแล้ว
แนวเส้นทางรถไฟเดิมแปรเปลี่ยนกลายเป็นถนนไป
รถไฟหัตถกรรมเดิมของเอกชนนั้นเดิมมีการกำหนดให้ใช้ความกว้างของรางที่แคบกว่าของกรมรถไฟหลวง
(ของกรมรถไฟหลวงใช้รางมาตรฐานหรือกว้าง
1
เมตร
ส่วนของเอกชนก็จะแคบกว่าเช่นกว้าง
0.75
เมตร)
ตรงนี้มันมีเรื่องเหตุผลทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง
(ต้องกลับไปดูสถานการณ์ยุคสมัยที่การล่าอาณานิคมยังมีอยู่)
แต่ในปัจจุบันสถานการณ์เปลี่ยนไปแล้ว
รูปแบบอุตสาหกรรมก็เปลี่ยนแปลงไป
รถไฟของการรถไฟรับหน้าที่ขนส่งวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ให้กับอุตสาหกรรมต่าง
ๆ เข้าไปรับส่งถึงในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมเลย
"กิน
ซื้อของฝาก ไหว้พระขอพร
วิวถ่ายรูปสวย"
ดูเหมือนจะเป็นแนวนิยมในการเที่ยวของคนไทย
การเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์นั้นยังไม่เป็นที่นิยมกันเท่าใด
คงเป็นเพราะต้องมีการทำการบ้านกันก่อน
ว่าสถานที่ที่จะไปนั้นมีความเป็นมาอย่างใด
แต่ถึงกระนั้นก็ตามข้อมูลดังกล่าวก็มีอยู่น้อยมาก
เว้นแต่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ
Memoir
ฉบับนี้เป็นเพียงการนำเอาแผนที่เก่า
ๆ ที่สะสมไว้มารวมเข้าด้วยกัน
เพราะวางแผนว่าจะนำเอาบทความที่เกี่ยวข้องกับรถไฟรวมเป็นรวมบทความอีกชุดหนึ่ง
เลยไม่อยากให้มันตกหล่นแค่นั้นเอง
รูปที่
๑ แผนที่แนบท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง จัดตตั้งสุขาภิบาลเกาะคา
อ.เกาะคา
จ.
ลำปาง
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๗๓ ตอนที่ ๖๐ ฉบับพิเศษหน้า
๗๑-๗๓
วันที่ ๓ สิงหาคม ๒๔๙๙
แสดงให้เห็นว่าเส้นทางรถไฟของโรงงานน้ำตาลเป็นเครือข่ายที่ใหญ่เครือข่ายหนึ่ง
(น่าจะรองจากเส้นทางขนไม้ที่ศรีราชา)
รูปที่
๒ แผนที่ทหาร L509
ทำขึ้นโดยใช้ข้อมูลในปีพ.ศ.
๒๕๐๐
ปรากฏเส้นทางรถไฟที่ อ.เกาะคา
(Ko
Kha) ทางด้านล่างของรูป
รูปที่
๓ แผนที่แนบท้ายกฎกระทรวง
ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ.
๒๕๐๒)
ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนป่า
พ.ศ.
๒๔๘๑
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่
๗๖ ตอนที่ ๑๑๒ วันที่ ๘ ธันวาคม
๒๕๐๒ หน้า ๖๒๙-๖๓๑
ปรากฏเส้นทางรถไฟจากป่าสงวนมายังสถานีไร่อ้อย
รูปที่
๔ แผนที่ทหาร L509
บริเวณจังหวัดอุตรดิตถ์
(จัดทำโดยใช้ข้อมูลปีพ.ศ.
๒๕๐๐)
ที่บ้านท่าข้าม
(Ban
Tha Kham) ก่อนถึงชุมทางบ้านดารา
(Ban
Dara) ที่แยกไป
อ.สวรรคโลก)
มีการระบุเส้นทางรถไฟจากสถานีไรอ้อยแยกออกไปทางตะวันตกไปบ้านนายาง
(Ban
Na Yang) ว่าอยู่ระหว่างการก่อสร้าง
รูปที่
๕ แผนที่แนบท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การจัดตั้งสุขาภิบาลสูงเนิน
อ.สูงเนิน
จ.นครราชสีมา
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๗๓ ตอนที่ ๔๕ วันที่ ๓๐
พฤษภาคม ๒๔๙๙ ฉบับพิเศษหน้า
๒๓-๒๔
ปรากกฏเส้นทางรถไฟเล็กมายัง
อ.
สูงเนิน
รูปที่
๖ แผนที่แนบท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลสูงเนิน
อ.สูงเนิน
จ.นครราชสีมา
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม
๘๘ ตอนที่ ๒ วันที่ ๕ มกราคม
๒๕๑๔ หน้า ๒-๔
แสดงเส้นทางรถไฟเล็กในภาพที่กว้างกว่ารูปที่
๕ เพราะมีการขยายเขตสุขาภิบาล
รูปที่
๗ แผนที่แนบท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านหมอ
อ.บ้านหมอ
จ.สระบุรี
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่
๗๒ ตอนที่ ๗๔ วันที่ ๑๗ กันยายน
๒๔๙๘ หน้า ๑๘-๑๙
ปรากฏเส้นทางรถไฟไปบ่อดินขาวแยกจากทางรถไฟสายเหนือไปทางทิศตะวันออก
รูปที่
๘ แผนที่แนบท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การจัดตั้งสุขาภิบาลท่าลาน
อ.บ้านหมอ
จ.สระบุรี
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่
๘๔ ตอนที่ ๕ วันที่ ๑๗ มกราคม
๒๕๑๐ หน้า ๑๓๙-๑๔๐
ปรากฏเส้นทางรถไฟไปบ่อดินขาวปลายทางด้านตะวันตก
ที่มาสิ้นสุดที่โรงงานปูนซิเมนต์ไทยริมแม่น้ำป่าสัก
รูปที่
๙ แผนที่ทหาร L509
ฉบับใช้ข้อมูลปีพ.ศ.
๒๕๐๐
จัดทำ ปรากฏเส้นทางรถไฟสายบ่อดินขาวที่
อ.บ้านหมอ
(Ban
Mo) ตรงบริเวณตอนกลางของภาพ
นอกจากนี้ยังมีอีกเส้นทางหนึ่งที่แยกลงมาทางบ้านไร่
(Ban
Rai) ตรง
PS9
รูปที่
๑๐ แผนที่ทหารฉบับ L509
จ.พังงา
ที่มุมขวาบนของแผนที่ปรากฏเส้นทางรถไฟ
อยู่ทางด้านทิศเหนือของกิ่งอำเภอพนม
จ.สุราษฎร์ธานี
ไม่ทราบว่าเป็นของอะไร
แต่ดูจากตำแหน่งเส้นรุ้ง-เส้นแวงเทียบกับแผนที่อื่นแล้วคาดว่าไม่น่าจะใช่ส่วนปลายทางของรถไฟสายคีรีรัฐนิคม
รูปที่
๑๑ แผนที่ทหารฉบับ L509
จ.ระนอง
ปรากฏร่องรอยของทางรถไฟที่ใช้ในการทำเหมือง
ที่บริเวณบ้านปากน้ำและบ้านท่าใหม่
ทางด้านทิศใต้ของตัวจังหวัดระนอง
ป้ายกำกับ:
ทางรถไฟ,
รถไฟ,
รถไฟเล็ก,
รถไฟหัตถกรรม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
ตัวเร่งปฏิกิริยาและการทดสอบ
- การกำจัดสีเมทิลีนบลู
- การคำนวณพื้นที่ผิวแบบ Single point BET
- การคำนวณพื้นที่ผิวแบบ Single point BET ตอนที่ ๒ ผลกระทบจากความเข้มข้นไนโตรเจนที่ใช้
- การจำแนกตำแหน่งที่เป็นกรด Brönsted และ Lewis บนพื้นผิวของแข็งด้วยเทคนิค Infrared spectroscopy และ Adsorbed probe molecules
- การจำแนกตำแหน่งที่เป็นเบส Brönsted และ Lewis บนพื้นผิวของแข็งด้วยเทคนิค Infrared spectroscopy และ Adsorbed probe molecules
- การใช้ข้อต่อสามทางผสมแก๊ส
- การใช้ Avicel PH-101 เป็น catalyst support
- การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๑ ขั้นตอนของการเกิดปฏิกิริยาบนตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์
- การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๒ การดูดซับบนพื้นผิวของแข็ง
- การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๓ แบบจำลองไอโซเทอมการดูดซับของ Freundlich
- การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๔ แบบจำลองไอโซเทอมการดูดซับของ Langmuir
- การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๕ แบบจำลองไอโซเทอมการดูดซับของ Temkin
- การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๖ แบบจำลองไอโซเทอมการดูดซับของ BET
- การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๗ ตัวอย่างไอโซเทอมการดูดซับของ BET
- การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๘ ตัวอย่างไอโซเทอมการดูดซับของ BET (๒)
- การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๙ ตัวอย่างไอโซเทอมการดูดซับของ BET (๓)
- การเตรียมตัวอย่างตัวเร่งปฏิกิริยาแบบผงให้เป็นแผ่นบาง
- การทดสอบตัวเร่งปฏิกิริยา - ผลแตกต่างหรือไม่แตกต่าง
- การทำปฏิกิริยา ๓ เฟสใน stirred reactor
- การบรรจุ inert material ใน fixed-bed
- การปรับ WHSV
- การปั่นกวนของแข็งให้แขวนลอยในของเหลว ตอนที่ ๑ ผลของความหนาแน่นที่แตกต่าง
- การปั่นกวนของแข็งให้แขวนลอยในของเหลว ตอนที่ ๒ ขนาดของ magnetic bar กับเส้นผ่านศูนย์กลางภาชนะ
- การปั่นกวนของแข็งให้แขวนลอยในของเหลว ตอนที่ ๓ ผลของรูปร่างภาชนะ
- การผสมแก๊สอัตราการไหลต่ำเข้ากับแก๊สอัตราการไหลสูง
- การระบุชนิดโลหะออกไซด์
- การลาก smooth line เชื่อมจุด
- การเลือกค่า WHSV (Weight Hourly Space Velocity) สำหรับการทดลอง
- การวัดความเป็นกรดบนพื้นผิวของแข็ง (อีกครั้ง)
- การวัดปริมาณตำแหน่งที่เป็นกรด-เบสบนพื้นผิวของแข็งด้วย GC
- การวัดปริมาณตำแหน่งที่เป็นกรด-เบสบนพื้นผิวของแข็งด้วย GC (๒)
- การวัดพื้นที่ผิว BET
- การวิเคราะห์ความเป็นกรดบนพื้นผิวของแข็ง ด้วยเทคนิคการดูดซับ Probe molecule (๑)
- การวิเคราะห์ความเป็นกรดบนพื้นผิวของแข็ง ด้วยเทคนิคการดูดซับ Probe molecule (๒)
- การวิเคราะห์ความเป็นกรดบนพื้นผิวของแข็ง ด้วยเทคนิคการดูดซับ Probe molecule (๓)
- การวิเคราะห์ความเป็นกรดบนพื้นผิวของแข็ง ด้วยเทคนิคการดูดซับ Probe molecule (๔)
- การวิเคราะห์ความเป็นกรดบนพื้นผิวของแข็ง ด้วยเทคนิคการดูดซับ Probe molecule (๕)
- การวิเคราะห์ความเป็นกรดบนพื้นผิวของแข็ง ด้วยเทคนิคการดูดซับ Probe molecule (๖)
- การไหลผ่าน Straightening vane และโมโนลิท (Monolith)
- เก็บตกจากการประชุมวิชาการ ๒๕๕๗ ตอนที่ ๑
- เก็บตกจากการประชุมวิชาการ ๒๕๕๗ ตอนที่ ๒
- ข้อควรระวังเมื่อใช้ออกซิเจนความเข้มข้นสูง
- ข้อพึงระวังในการแปลผลการทดลอง
- ค่า signal to noise ratio ที่ต่ำที่สุด
- จลนศาสตร์การเกิดปฏิกิริยาบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๑ Volcano principle
- จลนศาสตร์การเกิดปฏิกิริยาบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๒ แบบจำลอง Langmuir
- จลนศาสตร์การเกิดปฏิกิริยาบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๓ แบบจำลอง Langmuir-Hinshelwood
- จลนศาสตร์การเกิดปฏิกิริยาบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๔ แบบจำลอง Eley-Rideal
- จลนศาสตร์การเกิดปฏิกิริยาบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๕ แบบจำลอง REDOX
- ตอบคำถามเรื่องการเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยา
- ตัวเลขมันสวย แต่เชื่อไม่ได้
- ตัวเลขไม่ได้ผิดหรอก คุณเข้าใจนิยามไม่สมบูรณ์ต่างหาก
- ตัวไหนดีกว่ากัน (Catalyst)
- แต่ละจุดควรต่างกันเท่าใด
- ท่อแก๊สระบบ acetylene hydrogenation
- น้ำหนักหายได้อย่างไร
- ปฏิกิริยาการเติมไฮโดรเจนและการแทนที่ไฮโดรเจนของอะเซทิลีน
- ปฏิกิริยาอันดับ 1 หรือปฏิกิริยาอันดับ 2
- ปฏิกิริยาเอกพันธ์และปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ในเบดนิ่ง
- ปั๊มสูบไนโตรเจนเหลวจากถังเก็บ
- ผลของแก๊สเฉื่อยต่อการเกิดปฏิกิริยา
- เผาในเตาแบบไหนดี (Calcination)
- พลังงานกระตุ้นกับปฏิกิริยาคายความร้อนในเครื่องปฏิกรณ์เบดนิ่ง
- เมื่อแก๊สรั่วที่ rotameter
- เมื่อพีคออกซิเจนของระบบ DeNOx หายไป
- เมื่อเส้น Desorption isotherm ต่ำกว่าเส้น Adsorption isotherm
- เมื่อ base line เครื่อง chemisorb ไม่นิ่ง
- เมื่อ Mass Flow Controller คุมการไหลไม่ได้
- เรื่องของสุญญากาศกับ XPS
- สแกนกี่รอบดี
- สมดุลความร้อนรอบ Laboratory scale fixed-bed reactor
- สรุปการประชุมวันพฤหัสบดีที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๓
- เส้น Cu Kα มี ๒ เส้น
- เห็นอะไรไม่สมเหตุสมผลไหมครับ
- อย่าลืมดูแกน Y
- อย่าให้ค่า R-squared (Coefficient of Determination) หลอกคุณได้
- อุณหภูมิกับการไหลของแก๊สผ่าน fixed-bed
- อุณหภูมิและการดูดซับ
- BET Adsorption-Desorption Isotherm Type I และ Type IV
- ChemiSorb 2750 : การเตรียมตัวอย่างเพื่อการวัดพื้นที่ผิว BET
- ChemiSorb 2750 : การวัดพื้นที่ผิวแบบ Single point BET
- ChemiSorb 2750 : ผลของอัตราการไหลต่อความแรงสัญญาณ
- Distribution functions
- Electron Spin Resonance (ESR)
- GHSV หรือ WHSV
- Ion-induced reduction ขณะทำการวิเคราะห์ด้วย XPS
- MO ตอบคำถาม การทดลอง gas phase reaction ใน fixed-bed
- MO ตอบคำถาม การวัดความเป็นกรด-เบสบนพื้นผิวของแข็ง
- Monolayer หรือความหนาเพียงชั้นอะตอมเดียว
- NH3-TPD - การลาก base line
- NH3-TPD - การลาก base line (๒)
- NH3-TPD - การไล่น้ำและการวาดกราฟข้อมูล
- NH3-TPD ตอน ตัวอย่างผลการวิเคราะห์ ๑
- NH3-TPD ตอน ตัวอย่างผลการวิเคราะห์ ๒
- Physisorption isotherms Type I และ Type IV
- Scherrer's equation
- Scherrer's equation (ตอนที่ 2)
- Scherrer's equation (ตอนที่ ๓)
- Scherrer's equation (ตอนที่ ๔)
- Supported metal catalyst และ Supported metal oxide catalyst
- Temperature programmed reduction ด้วยไฮโดรเจน (H2-TPR)
- Temperature programmed reduction ด้วยไฮโดรเจน (H2-TPR) ภาค ๒
- UV-Vis - peak fitting
- XPS ตอน การแยกพีค Mo และ W
- XPS ตอน จำนวนรอบการสแกน
- XRD - peak fitting
คณิตศาสตร์สำหรับวิศวกรรมเคมี
- การแก้ปัญหาสมการเชิงอนุพันธ์สามัญปัญหาเงื่อนไขค่าเริ่มต้นด้วยระเบียบวิธี Bogacki-Shampine และ Predictor-Evaluator-Corrector-Evaluator (PECE)
- การแก้ปัญหาสมการอนุพันธ์สามัญ ด้วย ODE solvers ของ GNU Octave ตอนที่ ๑
- การแก้ปัญหาสมการอนุพันธ์สามัญ ด้วย ODE solvers ของ GNU Octave ตอนที่ ๒
- การแก้ปัญหาสมการอนุพันธ์สามัญ ด้วย ODE solvers ของ GNU Octave ตอนที่ ๓
- การแก้สมการเชิงอนุพันธ์สามัญด้วยการใช้ Integrating factor
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๑)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๑๐)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๑๑)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๑๒)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๑๓)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๒)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๓)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๔)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๕)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๖)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๗)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๘)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๙)
- การคำนวณค่าฟังก์ชันพหุนาม
- การปรับเรียบ (Smoothing) ข้อมูล (ตอนที่ ๑)
- การปรับเรียบ (Smoothing) ข้อมูล (ตอนที่ ๒)
- การปรับเรียบ (Smoothing) ข้อมูล (ตอนที่ ๓)
- การหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร x และ y
- ข้อพึงระวังในการใช้ฟังก์ชันพหุนามในการประมาณค่าในช่วง
- ข้อพึงระวังในการใช้ฟังก์ชันพหุนามในการประมาณค่าในช่วง (๒)
- ข้อพึงระวังในการใช้ฟังก์ชันพหุนามในการประมาณค่าในช่วง (๒) (pdf)
- ข้อพึงระวังในการใช้ฟังก์ชันพหุนามในการประมาณค่าในช่วง (๓)
- ข้อสอบเก่าชุดที่ ๑
- ข้อสอบเก่าชุดที่ ๒
- ค่าคลาดเคลื่อน (error)
- จำนวนที่น้อยที่สุดที่เมื่อบวกกับ 1 แล้วได้ผลลัพธ์ไม่ใช่ 1
- ใช่ว่าคอมพิวเตอร์จะคิดเลขถูกเสมอไป
- ตัวเลขที่เท่ากันแต่ไม่เท่ากัน
- ตัวอย่างการแก้ปัญหา สมการพีชคณิตไม่เชิงเส้นด้วยระเบียบวิธีนิวตัน-ราฟสัน
- ตัวอย่างการแก้ปัญหา สมการพีชคณิตไม่เชิงเส้นด้วยระเบียบวิธี Müller และ Inverse quadratic interpolation
- ตัวอย่างการแก้ปัญหา สมการพีชคณิตไม่เชิงเส้นด้วยระเบียบวิธี successive iteration
- ตัวอย่างการแก้ปัญหา สมการพีชคณิตไม่เชิงเส้นด้วยระเบียบวิธี successive iteration (pdf)
- ตัวอย่างการแก้ปัญหา สมการพีชคณิตไม่เชิงเส้นด้วย Function fzero ของ GNU Octave
- ตัวอย่างการคำนวณหาพื้นที่ใต้กราฟ ด้วยระเบียบวิธี Gaussian quadrature
- ตัวอย่างการคำนวณหาพื้นที่ใต้กราฟ ด้วยระเบียบวิธี Gaussian quadrature (pdf)
- ตัวอย่างผลของรูปแบบสมการต่อคำตอบของ ODE-IVP
- ตัวอย่างเพิ่มเติมบทที่ ๑
- ตัวอย่างเพิ่มเติมบทที่ ๒
- ตัวอย่างเพิ่มเติมบทที่ ๓
- ตัวอย่างเพิ่มเติมบทที่ ๔
- ทบทวนเรื่องการคูณเมทริกซ์
- ทบทวนเรื่อง Taylor's series
- ทศนิยมลงท้ายด้วยเลข 5 จะปัดขึ้นหรือปัดลง
- บทที่ ๑ การคำนวณตัวเลขในระบบทศนิยม
- บทที่ ๒ การแก้ปัญหาระบบสมการพีชคณิตเชิงเส้น
- บทที่ ๓ การแก้ปัญหาระบบสมการพีชคณิตไม่เชิงเส้น
- บทที่ ๔ การประมาณค่าในช่วง
- บทที่ ๕ การหาค่าอนุพันธ์
- บทที่ ๖ การหาค่าอินทิกรัล
- บทที่ ๗ การแก้ปัญหาสมการเชิงอนุพันธ์สามัญ ระบบสมการปัญหาเงื่อนไขค่าเริ่มต้น
- บทที่ ๘ การแก้ปัญหาสมการเชิงอนุพันธ์สามัญ ระบบสมการปัญหาเงื่อนไขค่าขอบเขต
- บทที่ ๙ การแก้ปัญหาสมการเชิงอนุพันธ์ย่อย
- ปฏิกิริยาคายความร้อนใน CSTR (ตอนที่ ๑)
- ปฏิกิริยาคายความร้อนใน CSTR (ตอนที่ ๒)
- เปรียบเทียบการแก้ปัญหาสมการพีชคณิตไม่เชิงเส้นด้วย solver ของ GNU Octave
- เปรียบเทียบการแก้ Stiff equation ด้วยระเบียบวิธี Runge-Kutta และ Adam-Bashforth
- เปรียบเทียบระเบียบวิธี Runge-Kutta
- เปรียบเทียบ Gauss elimination ที่มีและไม่มีการทำ Pivoting
- เปรียบเทียบ Gauss elimination ที่มีและไม่มีการทำ Pivoting (Spreadsheet)
- ฟังก์ชันแกมมา (Gamma function) และ ฟังก์ชันเบสเซล (Bessel function)
- เมื่อ 1 ไม่เท่ากับ 0.1 x 10
- ระเบียบวิธี Implicit Euler และ Crank-Nicholson กับ Stiff equation
- เลขฐาน ๑๐ เลขฐาน ๒ จำนวนเต็ม จำนวนจริง
- Distribution functions
- LU decomposition ร่วมกับ Iterative improvement
- LU decomposition ร่วมกับ Iterative improvement (pdf)
- LU decomposition ร่วมกับ Iterative improvement (Spreadsheet)
- Machine precision กับ Machine accuracy
เคมีสำหรับวิศวกรเคมี
- กรด-เบส : อ่อน-แก่
- กรด-เบส : อะไรควรอยู่ในบิวเรต
- กราฟการไทเทรตกรดกำมะถัน (H2SO4)
- กราฟการไทเทรตกรดกำมะถัน (H2SO4) ตอนที่ ๒
- กราฟการไทเทรตกรดที่ให้โปรตอนได้ ๒ ตัว
- กราฟการไทเทรตกรดที่ให้โปรตอนได้ ๓ ตัว
- กราฟการไทเทรตกรดไฮโปคลอรัส (HOCl)
- กราฟอุณหภูมิการกลั่นของน้ำมันเบนซิน (Gasoline distillation curve)
- กลิ่นกับอันตรายของสารเคมี
- การกำจัดสีเมทิลีนบลู
- การเกิดปฏิกิริยาเคมี
- การเจือจางไฮโดรคาร์บอนในน้ำ
- การใช้ pH probe
- การใช้ Tetraethyl lead นอกเหนือไปจากการเพิ่มเลขออกเทน
- การดูดกลืนคลื่นแสงของแก้ว Pyrex และ Duran
- การดูดกลืนแสงสีแดง
- การเตรียมสารละลายด้วยขวดวัดปริมาตร
- การเตรียมหมู่เอมีนและปฏิกิริยาของหมู่เอมีน (การสังเคราะห์ฟีนิลบิวตาโซน)
- การทำน้ำให้บริสุทธิ์สำหรับห้องปฏิบัติการ
- การทำปฏิกิริยาของโพรพิลีนออกไซด์ (1,2-Propylene oxide) ตอนที่ ๑
- การทำปฏิกิริยาของโพรพิลีนออกไซด์ (1,2-Propylene oxide) ตอนที่ ๒
- การทำปฏิกิริยาของหมู่ Epoxide ในโครงสร้าง Graphene oxide
- การทำปฏิกิริยาต่อเนื่องของผลิตภัณฑ์
- การเทของเหลวใส่บิวเรต
- การน๊อคของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน และสารเพิ่มเลขออกเทนของน้ำมัน
- การเปลี่ยนพลาสติกเป็นน้ำมัน
- การเปลี่ยนเอทานอล (Ethanol) ไปเป็นอะเซทัลดีไฮด์ (Acetaldehyde)
- การเรียกชื่อสารเคมี
- การลดการระเหยของของเหลว
- การละลายของแก๊สในเฮกเซน (Ethylene polymerisation)
- การละลายเข้าด้วยกันของโมเลกุลมีขั้ว-ไม่มีขั้ว
- การวัดความเป็นกรดบนพื้นผิวของแข็ง (อีกครั้ง)
- การวัดปริมาณ-ความแรงของตำแหน่งที่เป็นกรดบนพื้นผิว
- การวัดปริมาณตำแหน่งที่เป็นกรด-เบสบนพื้นผิวของแข็งด้วย GC
- การวัดปริมาตรของเหลว
- การหาความเข้มข้นสารละลายมาตรฐานกรด
- การหาจุดสมมูลของการไทเทรตจากกราฟการไทเทรต
- การอ่านผลการทดลองการไทเทรตกรด-เบส
- การอ่านผลการทดลองการไทเทรตกรด-เบส (ตอนที่ ๒)
- การอ่านผลการทดลองการไทเทรตกรด-เบส (ตอนที่ ๓)
- แก๊สมัสตาร์ดกับกลิ่นทุเรียน
- ข้อควรระวังเมื่อใช้ออกซิเจนความเข้มข้นสูง
- คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากับงานเคมีวิเคราะห์
- ความกระด้าง (Hardness) ของน้ำกับปริมาณของแข็งทั้งหมด ที่ละลายอยู่ (Total Dissolved Solid - TDS)
- ความดันกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี
- ความเป็นกรดของหมู่ไฮดรอกซิล (Hydroxyl group) ตอนที่ ๑
- ความเป็นกรดของหมู่ไฮดรอกซิล (Hydroxyl group) ตอนที่ ๒
- ความเป็นกรดของอัลฟาไฮโดรเจนอะตอม (alpha-Hydrogen atom) ตอน กรดบาร์บิทูริก (Barbituric acid)
- ความเป็นกรดของอัลฟาไฮโดรเจนอะตอม (alpha-Hydrogen atoms)
- ความเป็นขั้วบวกของอะตอม C และการทำปฏิกิริยาของอีพิคลอโรไฮดริน (epichlorohydrin)
- ความเป็นไอออนิก (Percentage ionic character)
- ความสัมพันธ์ระหว่างสีกับชนิดและปริมาณธาตุ
- ความสำคัญของเคมีวิเคราะห์และเคมีอินทรีย์ในงานวิศวกรรมเคมี
- ความเห็นที่ไม่ลงรอยกับโดเรมี่
- ค้างที่ปลายปิเปตไม่เท่ากัน
- คำตอบของ Cubic equation of state
- จากกลีเซอรอล (glycerol) ไปเป็นอีพิคลอโรไฮดริน (epichlorohydrin)
- จากเบนซาลดีไฮด์ (Benzaldehyde) ไปเป็นกรดเบนซิลิก (Benzilic acid)
- จากโอเลฟินส์ถึงพอลิอีเทอร์ (From olefins to polyethers)
- จาก Acetone เป็น Pinacolone
- จาก Alkanes ไปเป็น Aramids
- จาก Aniline ไปเป็น Methyl orange
- จาก Benzene ไปเป็น Butter yellow
- จาก Hexane ไปเป็น Nylon
- จาก Toluene และ m-Xylene ไปเป็นยาชา
- ดำหรือขาว
- ตกค้างเพราะเปียกพื้นผิว
- ตอบคำถามแบบแทงกั๊ก
- ตอบคำถามให้ชัดเจนและครอบคลุม
- ตำราสอนการใช้ปิเปตเมื่อ ๓๓ ปีที่แล้ว
- ไตรเอทานอลเอมีน (Triethanolamine)
- ถ่านแก๊ส หินแก๊ส แก๊สก้อน
- ทอดไข่เจียวให้อร่อยต้องใช้น้ำมันหมู
- ทำไมน้ำกระด้างจึงมีฟอง
- ที่แขวนกล้วย
- เท่ากับเท่าไร
- โทลูอีน (Toluene)
- ไทโอนีลคลอไรด์ (Thionyl chloride)
- นานาสาระเคมีวิเคราะห์
- น้ำด่าง น้ำอัลคาไลน์ น้ำดื่ม
- น้ำดื่ม (คิดสักนิดก่อนกดแชร์ เรื่องที่ ๑๑)
- น้ำตาลทราย ซูคราโลส และยาคุมกำเนิดสำหรับผู้ชาย
- น้ำบริสุทธิ์ (Purified water)
- ไนโตรเจนเป็นแก๊สเฉื่อยหรือไม่
- บีกเกอร์ 250 ml
- แบบทดสอบก่อนเริ่มเรียนวิชาเคมีสำหรับนิสิตวิศวกรรมเคมี
- ปฏิกิริยาการเติมไฮโดรเจนและการแทนที่ไฮโดรเจนของอะเซทิลีน (Hydrogenation and replacement of acetylenic hydrogen)
- ปฏิกิริยาการผลิต Vinyl chloride
- ปฏิกิริยาการออกซิไดซ์
- ปฏิกิริยา alpha halogenation และการสังเคราะห์ tertiary amine
- ปฏิกิริยา ammoxidation หมู่เมทิลที่เกาะอยู่กับวงแหวนเบนซีน
- ปฏิกิริยา Benzene alkylation
- ปฏิกิริยา Dehydroxylation
- ปฏิกิริยา Electrophilic substitution ของ m-Xylene
- ปฏิกิริยา Nucleophilic substitution ของสารประกอบ Organic halides
- ประโยชน์ของ Nitric oxide ในทางการแพทย์
- ปัญหาการสร้าง calibration curve ของ ICP
- ปัญหาการหาความเข้มข้นสารละลายกรด
- ปัญหาของไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัว
- โป้ง ชี้ กลาง นาง ก้อย
- ผลของค่าพีเอชต่อสีของสารละลายเปอร์แมงกาเนต
- ผลของอุณหภูมิต่อการแทนที่ตำแหน่งที่ 2 บนวงแหวนเบนซีน
- ฝึกงานภาคฤดูร้อน ๒๕๕๓ ตอนที่ ๑ อธิบายศัพท์
- พีคเหมือนกันก็แปลว่ามีหมู่ฟังก์ชันเหมือนกัน
- ฟลูออรีนหายไปไหน
- ฟอสฟอรัสออกซีคลอไรด์ (Phosphorus Oxychloride)
- ฟีนอล แอซีโทน แอสไพริน พาราเซตามอล สิว โรคหัวใจ และงู
- มุมมองที่ถูกจำกัด
- เมทานอลกับเจลล้างมือ
- เมื่อคิดในรูปของ ...
- เมื่อตำรายังพลาดได้ (Free radical polymerisation)
- เมื่อน้ำเพิ่มปริมาตรเองได้
- เมื่อหมู่คาร์บอนิล (carbonyl) ทำปฏิกิริยากันเอง
- รังสีเอ็กซ์
- เรื่องของสไตรีน (คิดสักนิดก่อนกด Share เรื่องที่ ๑)
- แลปการไทเทรตกรด-เบส ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา ๒๕๖๐
- ศัพท์เทคนิค-เคมีวิเคราะห์
- สรุปคำถาม-ตอบการสอบวันศุกร์ที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๒
- สีหายไม่ได้หมายความว่าสารหาย
- เสถียรภาพของอนุมูลอิสระ (๑)
- เสถียรภาพของอนุมูลอิสระ (๒)
- เสถียรภาพของอนุมูลอิสระ (๓)
- หมู่ทำให้เกิดสี (chromophore) และหมู่เร่งสี (auxochrome)
- หลอกด้วยข้อสอบเก่า
- อะเซทิลีน กลีเซอรีน และไทออล
- อะโรมาติก : การผลิต การใช้ประโยชน์ และปัญหา
- อัลคิลเอมีน (Alkyl amines) และ อัลคิลอัลคานอลเอมีน (Alkyl alkanolamines)
- อีเทอร์กับการเกิดสารประกอบเปอร์ออกไซด์
- อุณหภูมิ อัตราการเกิดปฏิกิริยา สมดุลเคมี
- เอา 2,2-dimethylbutane (neohexane) ไปทำอะไรดี
- เอาเบนซีนกับเอทานอลไปทำอะไรดี
- เอา isopentane ไปทำอะไรดี
- เอา maleic anhydride ไปทำอะไรดี
- เอา pentane ไปทำอะไรดี
- ไอโซเมอร์ (Isomer)
- ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์กับพอลิโพรพิลีน
- Acentric factor
- Aldol condensation กับ Cannizzaro reaction
- Aldol condesation ระหว่าง Benzaldehyde กับ Acetone
- A-Level เคมี ปี ๖๖ ข้อพอลิเอทิลีน
- Beilstein test กับเตาแก๊สที่บ้าน
- Benzaldehyde กับปฏิกิริยา Nitroaldol
- BOD และ COD
- BOD หรือ DO
- Carbocation - การเกิดและเสถียรภาพ
- Carbocation - การทำปฏิกิริยา
- Carbocation ตอนที่ ๓ การจำแนกประเภท-เสถียรภาพ
- Chloropicrin (Trichloronitromethane)
- Compressibility factor กับ Joule-Thomson effect
- Conjugated double bonds กับ Aromaticity
- Cubic centimetre กับ Specific gravity
- Dehydration, Esterification และ Friedle-Crafts Acylation
- Electrophilic addition ของอัลคีน
- Electrophilic addition ของอัลคีน (๒)
- Electrophilic addition ของ conjugated diene
- Electrophilic substitution ตำแหน่งที่ 1 บนวงแหวนเบนซีน
- Electrophilic substitution ตำแหน่งที่ 2 บนวงแหวนเบนซีน ตอน ผลของอุณหภูมิการทำปฏิกิริยา
- Electrophilic substitution ตำแหน่งที่ 3 บนวงแหวนเบนซีน
- Electrophilic substitution ตำแหน่งที่ 3 บนวงแหวนเบนซีน ตอน การสังเคราะห์ 2,4-Dinitrophenol
- Esterification of hydroxyl group
- Gibbs Free Energy กับการเกิดปฏิกิริยาและการดูดซับ
- Halogenation ของ alkane
- Halogenation ของ alkane (๒)
- HCl ก่อน ตามด้วย H2SO4 แล้วจึงเป็น HNO3
- I2 ในสารละลาย KI กับไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัว
- Infrared spectrum interpretation
- Interferometer
- IR spectra ของโทลูอีน (Toluene) เอทิลเบนซีน (Ethylbenzene) โพรพิลเบนซีน (Propylbenzene) และคิวมีน (Cumene)
- IR spectra ของเบนซีน (Benzene) และไซลีน (Xylenes)
- IR spectra ของเพนทีน (Pentenes)
- Kjeldahl nitrogen determination method
- Malayan emergency, สงครามเวียดนาม, Seveso และหัวหิน
- MO ตอบคำถาม การวัดความเป็นกรด-เบสบนพื้นผิวของแข็ง
- Nucleophile กับ Electrophile
- PAT2 เคมี ปี ๖๕ ข้อการไทเทรตกรดเบส
- Peng-Robinson Equation of State
- Phenol, Ether และ Dioxin
- Phospharic acid กับ Anhydrous phosphoric acid และ Potassium dioxide
- pH Probe
- Picric acid (2,4,6-Trinitrophenol) และ Chloropicrin
- PV diagram กับการอัดแก๊ส
- Pyrophoric substance
- Reactions of hydroxyl group
- Reactions of hydroxyl group (ตอนที่ ๒)
- Redlich-Kwong Equation of State
- Redlich-Kwong Equation of State (ตอนที่ ๒)
- Soave-Redlich-Kwong Equation of State
- Standard x-ray powder diffraction pattern ของ TiO2
- Sulphur monochloride และ Sulphur dichloride
- Thermal cracking - Thermal decomposition
- Thiols, Thioethers และ Dimethyl thioether
- Van der Waals' Equation of State
- Vulcanisation
ประสบการณ์ Gas chromatograph/Chromatogram
- 6 Port sampling valve
- กระดาษความร้อน (thermal paper) มี ๒ หน้า
- การแก้ปัญหา packing ในคอลัมน์ GC อัดตัวแน่น
- การฉีดแก๊สเข้า GC ด้วยวาล์วเก็บตัวอย่าง
- การฉีดตัวอย่างที่เป็นของเหลวด้วย syringe
- การฉีด GC
- การใช้ syringe ฉีดตัวอย่างที่เป็นแก๊ส
- การดึงเศษท่อทองแดงที่หักคา tube fitting ออก
- การตั้งอุณหภูมิคอลัมน์ GC
- การติดตั้ง Integrator ให้กับ GC-8A เพื่อวัด CO2
- การเตรียมคอลัมน์ GC ก่อนการใช้งาน
- การปรับความสูงพีค GC
- การวัดปริมาณไฮโดรเจนด้วย GC-TCD
- ข้อสังเกตเกี่ยวกับ FPD (ตอนที่ ๒)
- ข้อสังเกตเกี่ยวกับ FPD (Flame Photometric Detector)
- โครมาโทกราฟแยกสารได้อย่างไร
- ชนิดคอลัมน์ GC
- ตรวจโครมาโทแกรม ก่อนอ่านต้วเลข
- ตัวอย่างการแยกพีค GC ที่ไม่เหมาะสม
- ทำความรู้จักกับ Chromatogram ตอนที่ ๑
- ทำความรู้จักกับ Chromatogram ตอนที่ ๒
- ทำความรู้จักกับ Chromatogram ตอนที่ ๓
- ทำความรู้จักกับ Chromatogram ตอนที่ ๔
- ทำความรู้จักกับ Chromatogram ตอนที่ ๕
- ทำความรู้จักกับ Chromatogram ตอนที่ ๖
- ทำไมพีคจึงลากหาง
- ผลกระทบของน้ำที่มีต่อการวัดคาร์บอนไดออกไซด์ ตอนที่ ๑
- ผลกระทบของน้ำที่มีต่อการวัดคาร์บอนไดออกไซด์ ตอนที่ ๒
- ผลกระทบของน้ำที่มีต่อการวัดคาร์บอนไดออกไซด์ ตอนที่ ๓
- พีคที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างน้ำกับ packing ในคอลัมน์ GC
- พีคประหลาดจากการใช้อากาศน้อยไปหน่อย
- มันไม่เท่ากันนะ
- เมื่อความแรงของพีค GC ลดลง
- เมื่อจุดไฟ FID ไม่ได้
- เมื่อพีค GC หายไป
- เมื่อพีค GC ออกมาผิดเวลา
- เมื่อพีค GC ออกมาผิดเวลา(อีกแล้ว)
- เมื่อเพิ่มความดันอากาศให้กับ FID ไม่ได้
- เมื่อ GC ถ่านหมด
- เมื่อ GC มีพีคประหลาด
- ลากให้ผ่านหรือไม่ให้ผ่าน
- สัญญาณจาก carrier gas รั่วผ่าน septum
- สารพัดปัญหา GC
- สิ่งปนเปื้อนในน้ำ DI
- สิ่งปนเปื้อนในน้ำ DI (ตอนที่ ๒)
- Chromatograph principles and practices
- Flame Ionisation Detector
- GC-2014 ECD & PDD ตอนที่ ๗ ข้อสังเกตเกี่ยวกับ ECD (Electron Capture Detector)
- GC detector
- GC - peak fitting ตอนที่ ๑ การหาพื้นที่พีคที่เหลื่อมทับ
- GC principle
- LC detector
- LC principle
- MO ตอบคำถาม การแยกพีค GC ด้วยโปรแกรม fityk
- MO ตอบคำถาม สารพัดปัญหาโครมาโทแกรม
- Relative Response Factors (RRF) ของสารอินทรีย์ กับ Flame Ionisation Detector (FID)
- Thermal Conductivity Detector
- Thermal Conductivity Detector ภาค 2
สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items - DUI)
- การก่อการร้ายด้วยแก๊สซาริน (Sarin) ในรถไฟใต้ดินกรุงโตเกียว MO Memoir : Friday 6 September 2567
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๐ ฟังก์ชันเข้ารหัสรีโมทเครื่องปรับอากาศ
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๑ License key
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๒ สารเคมี (Chemicals)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๓ ไม่ตรงตามตัวอักษร (สารเคมี)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๔ ไม่ตรงตามตัวอักษร (Heat exchanger)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๕ Sony PlayStation
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๖ เส้นใยคาร์บอน (Carbon fibre)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๗ The Red Team : Centrifugal separator
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๘ The Blue Team : Spray drying equipment
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๙ เครื่องสลายนิ่วในไตด้วยคลื่นกระแทก (Lithotripter)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑ ตัวเก็บประจุ (Capacitor)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๒๐ เรซินแลกเปลี่ยนไอออน (Ion-exchange resin)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๒๑ ไม่ตรงตามตัวอักษร (Aluminium tube)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๒๒ เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า (Defibrillator)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๒๓ เครื่องยนต์ดีเซล
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๒ เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน (Heat Exchanger)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๓ เครื่องแปลงความถี่ไฟฟ้า (Frequency Changer)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๔ อุปกรณ์เข้ารหัส (Encoding Device)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๕ Insulated Gate Bipolar Transistor (IGBT)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๖ Toshiba-Kongsberg Incident
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๗ รายงานผลการทดสอบอุปกรณ์
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๘ Drawing อุปกรณ์
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๙ ซอร์ฟแวร์ควบคุมการทำงานอุปกรณ์
- เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนสำหรับเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์
- แคลเซียม, แมกนีเซียม และบิสมัท กับการผลิตอาวุธทำลายล้างสูง
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๑
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๑๐
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๒
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๓
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๔
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๕
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๖
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๗
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๘
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๙
API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๑)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๑๐)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๑๑)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๑๒)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๑๓)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๑๔)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๑๕)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๑๖)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๒)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๓)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๔)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๕)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๖)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๗)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๘)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๙)
โน๊ตเพลง
- "กำลังใจ" และ "ถึงเพื่อน"
- "ใกล้รุ่ง" และ "อาทิตย์อับแสง"
- "คนดีไม่มีวันตาย" "หนึ่งในร้อย (A Major) และ "น้ำตาแสงใต้ (A Major)"
- "ความฝันอันสูงสุด" และ "ยามเย็น"
- "จงรัก" และ "ความรักไม่รู้จบ"
- "ฉันยังคอย" และ "ดุจบิดามารดร"
- "ชาวดง" และ "ชุมนุมลูกเสือไทย"
- "ตัดใจไม่ลง" และ "ลาสาวแม่กลอง"
- "เติมใจให้กัน" และ "HOME"
- "แต่ปางก่อน" "ความรักไม่รู้จบ" "ไฟเสน่หา" และ "แสนรัก"
- "ทะเลใจ" "วิมานดิน" และ "เพียงแค่ใจเรารักกัน"
- "ที่สุดของหัวใจ" "รักล้นใจ" และ "รักในซีเมเจอร์"
- "ธรณีกรรแสง" และ "Blowin' in the wind"
- "นางฟ้าจำแลง" "อุษาสวาท" และ "หนี้รัก"
- "แผ่นดินของเรา" และ "แสงเทียน"
- "พรปีใหม่" และ "สายฝน"
- "พี่ชายที่แสนดี" "หลับตา" และ "หากรู้สักนิด"
- เพลงของโรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- "มหาจุฬาลงกรณ์" "ยูงทอง" และ "ลาภูพิงค์"
- "ยังจำไว้" "บทเรียนสอนใจ" และ "ความในใจ"
- "ร่มจามจุรี" และ "เงาไม้"
- "ลมหนาว" และ "ชะตาชีวิต"
- "ลองรัก" และ "วอลซ์นาวี"
- "ลาแล้วจามจุรี"
- "วันเวลา" และ "โลกทั้งใบให้นายคนเดียว"
- "วิหคเหินลม" และ "พรานทะเล"
- "สายชล" และ "เธอ"
- "สายใย" และ "ความรัก"
- "สายลม" และ "ไกลกังวล"
- "สายลมเหนือ" และ "เดียวดายกลางสายลม"
- "หน้าที่ทหารเรือ" และ "ทหารพระนเรศวร"
- "หนึ่งในร้อย" และ "น้ำตาแสงใต้"
- "หากันจนเจอ" และ "ลมหายใจของกันและกัน"