วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

คู่มือการใช้เครื่อง GC-2014 (FPD) (ฉบับร่าง ๑) MO Memoir : Thursday 16 September 2553


คู่มือการใช้เครื่อง Shimadzu GC-2014 (FPD) ฉบับร่าง ๒ ดูได้ที่ Memoir วันพุธที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๔

เอกสารคู่มือการใช้เครื่อง Shimadzu GC-2014 (FPD) ฉบับนี้ขยายความจากต้นฉบับที่จัดทำโดยผู้ที่ต้องใช้เครื่อง


อย่างที่ผมได้เกริ่นให้พวกคุณที่มาพบในบ่ายวันอังคารที่ ๑๔ กันยายนว่าทางกลุ่มเราควรมีคู่มือปฏิบัติมาตรฐานในการใช้เครื่องมือต่าง ๆ แทนที่จะเป็นการเรียนปากต่อปากจากรุ่นพี่แล้วต่างคนต่างจด ซึ่งผลที่เกิดขึ้นคือมีความผิดเพี้ยนของการปฏิบัติ ดังนั้นสิ่งที่ทางกลุ่มเราจะทำต่อไปคือการเขียนคู่มือปฏิบัติมาตรฐาน (ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการใช้เครื่องวิเคราะห์หรือการทำการทดลอง) เพื่อที่ว่าแต่ละคนจะได้มีแนวปฏิบัติเดียวกัน ส่วนคนที่ทำแตกต่างออกไปก็จะใช้คู่มือปฏิบัติมาตรฐานเป็นหลัก และเพิ่มหมายเหตุเข้าไปเพื่อเป็นคู่มือเฉพาะของตนเอง
รายละเอียดวิธีการใช้งานต่าง ๆ ในเอกสารฉบับนี้เป็นฉบับร่าง ซึ่งยังต้องมีการเพิ่มเติมข้อมูลบางส่วนที่จะได้จากการทดลองใช้เครื่องจริง แต่ที่นำมาแจกจ่ายให้ก่อนก็เพื่อให้เป็นตัวอย่างการเขียนสำหรับคนอื่นที่จะต้องเตรียมคู่มือสำหรับอุปกรณ์ตัวอื่น
เครื่อง Shimadzu GC-2014 (FPD) เครื่องนี้ซื้อมาด้วยเงินของโครงการ DeNOx (โครงการวิจัยร่วมกับปตท.) เพื่อใช้วิเคราะห์หาปริมาณ SOx ในแก๊ส เอกสารที่เกี่ยวข้องกับบันทึกฉบับนี้มีด้วยกัน ๒ ฉบับคือ
ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๓๓ วันพุธที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๓ เรื่องข้อสังเกตเกี่ยวกับ FPD (Flame photometric detector)
ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๑๙๑ วันอังคารที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๓ เรื่องข้อสังเกตเกี่ยวกับ FPD (ตอนที่ ๒)

. ลักษณะทั่วไปของระบบ GC-2014 (FPD)
ระบบ GC-2014 (FPD) ประกอบด้วยอุปกรณ์หลัก ๆ ดังนี้ (รูปที่ ๑)

รูปที่ ๑ ชุดอุปกรณ์ GC-2014 (FPD) แสดงตัวเครื่อง GC และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์

๑.๑ Voltage stabilizer
ซึ่งทำหน้าควบคุมแรงดันไฟฟ้าให้สม่ำเสมอ อุปกรณ์ตัวนี้เป็นตัวที่ต่อตรงเข้ากับระบบจ่ายไฟหลักของอาคาร โดยตัวเครื่อง GC และไมโครคอมพิวเตอร์ (PC) ที่ใช้ควบคุมเครื่องจะต่อตรงเข้ากับตัว Voltage stabilizer นี้
๑.๒ เครื่อง GC-2014 (FPD)
๑.๓ ระบบจ่ายแก๊ส
ซึ่งประกอบด้วยแก๊ส ๓ ชนิดคือ
- He ใช้เป็น carrier gas
- Hydrogen ใช้ในการจุดเปลวไฟ
- อากาศ ใช้ในการจุดเปลวไฟ
๑.๔ ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุม
ซึ่งประกอบด้วย
- ชุดคอมพิวเตอร์ (PC)
- เครื่องพิมพ์ ink jet

. ภาวะเริ่มต้นของระบบ
คู่มือนี้เขียนขึ้นโดยสมมุติว่าตอนเริ่มต้นนั้นอุปกรณ์ไฟฟ้าและวาล์วต่าง ๆ ของระบบ GC อยู่ในสภาพดังต่อไปนี้
๒.๑ ระบบไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์
- Voltage stabilizer ต่อเข้ากับระบบจ่ายไฟหลักของห้องปฏิบัติการ
- Voltage stabilizer อยู่ในตำแหน่งปิด
- ระบบไฟฟ้าของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ ต่อเข้ากับ Voltage stabilizer
- อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทุกตัวอยู่ในตำแหน่งปิด
- ระบบไฟฟ้าของ GC ต่อเข้ากับ Voltage stabilizer
๒.๒ ระบบจ่ายแก๊ส
- วาล์วหัวท่อแก๊สทุกท่ออยู่ในตำแหน่งปิด
- Pressure regulator ของท่อแก๊สแต่ละท่ออยู่ในตำแหน่งปิด (อ่านค่าเป็นศูนย์ทั้งสองเกจย์)
๒.๓ เครื่อง GC
- สวิตช์ Power ของเครื่อง GC อยู่ในตำแหน่งปิด
- วาล์วปรับความดันแก๊สไฮโดรเจนและอากาสอยู่ในตำแหน่งปิด

. ลำดับการเปิดอุปกรณ์
๓.๑ เปิด He ที่ใช้เป็น carrier gas
- เปิดวาล์วที่หัวท่อแก๊ส He (ถ้าเอื้อมไม่ถึงก็ใช้เก้าอี้ต่อขาก็แล้วกัน)
- เปิด pressure regulator โดยตั้งความดันขาออกไว้ที่ ..... kg/cm2
ค่าความดันขาออกนี้จะระบุโดยแน่นอนอีกครั้งเมื่อมีปรับแต่งการทำงานเครื่อง GC (ให้ผู้รับผิดชอบทำหน้าที่นี้) โดยควรตั้งให้สูงพอที่จะทำการปรับอัตราการไหลของ carrier gas (ปรับจากคอมพิวเตอร์) ได้ง่าย และต้องเผื่อความดันสำหรับการทำงานในกรณีที่คอลัมน์ทำงานที่อุณหภูมิสูงด้วย
๓.๒ เปิด Voltage stabilizer
- กดปุ่ม On ที่อยู่เหนือจอด้านหน้าของตัวเครื่อง (ดูรูปที่ ๒)

รูปที่ ๒ Voltage stabilizer และตำแหน่งปุ่ม On-Off
๓.๓ เปิดเครื่อง GC
- กดปุ่ม Power ที่ตัวเครื่อง GC ไปที่ตำแหน่ง ON ปุ่มนี้อยู่ทางผนังด้านข้างขวามุมล่างของเครื่อง (ดูรูปที่ ๓)

รูปที่ ๓ ตำแหน่งปุ่มเปิด-ปิดเครื่อง GC ตรงวงกลมสีแดง
๓.๔ เปิดคอมพิวเตอร์

. การเตรียมการวิเคราะห์โดยป้อนคำสั่งผ่านคอมพิวเตอร์
ส่วนนี้ยังไม่มีรูปถ่าย เอาไว้พอเปิดเครื่องใช้จริงแล้วจะถ่ายรูปให้ดูเป็นระยะ
ปัญหาของรายละเอียดตรงนี้คือ การสั่งการควบคุมนั้นสามารถสั่งผ่านได้จากคอมพิวเตอร์และที่หน้าจอของตัวเครื่อง GC เอง รายละเอียดที่ได้มานั้นไม่ได้บอกว่าการเลือกคำสั่งต่าง ๆ นั้นเลือกจากคอมพิวเตอร์ทั้งหมด หรือว่าบางคำสั่งต้องไปเลือกจากเมนูหน้าจอเครื่อง
.เปิดโปรแกรม GC solution
- คลิก Instrument 1-> เลือก User ID "Admin"-> คลิก OK เพื่อเข้าสู่หน้า GC Real time analysis
.๒ สั่ง "System Check"
- คลิก Instrument->System Check->Run
.๓ เปิด Method File ที่ต้องการใช้งาน
-เลือก File-> Open method file ขั้นตอนนี้เป็นการเลือก condition ที่ต้องการทำ (คืออุณหภูมิของ Injector port (INJ), Oven (หรือ Column) และ Detector port (FPD)) ถ้าหากของเดิมที่มีอยู่ไม่เป็นไปตามต้องการก็ให้ตั้ง condition ใหม่ดังนี้
-การตั้ง condition ใหม่ (หรือการตั้งอุณหภูมิใหม่)
INJ Temp. -> ถ้าสารเป็นของเหลวควรตั้งให้สูงกว่าจุดเดือดของสาร
-> ถ้าสารเป็นแก๊สอยู่แล้วก็ตั้งเท่าไหร่ก็ได้ (ประมาณ 50C)
Flow -> ทดลองปรับดูว่า flow ไหนแยกสารเราได้ดี ก็ใช้ flow นั้น
การตั้งอุณหภูมิ Injector port ตรงนี้ยังมีปัญหาตรงที่เราไม่ได้ต่อคอลัมน์เข้ากับ Injector port สำหรับใช้ syringe ฉีดสารตัวอย่าง ซึ่งการตั้งอุณหภูมิ INJ ในขั้นตอนนี้น่าจะเป็นการตั้งอุณหภูมิของ port ตัวนี้ การฉีดสารของเรากระทำผ่านระบบวาล์วฉีดตัวอย่างที่เป็นแก๊ส (ดูรูปที่ ๔) ซึ่งไม่มีการควบคุมอุณหภูมิของวาล์วตัวนี้ ดังนั้นจึงเกิดคำถามที่ว่าควรตั้งอุณหภูมิ INJ นี้ไว้ที่ค่าเท่าไร ซึ่งในความเห็นแล้วไม่ควรต่ำกว่าอุณหภูมิต่ำสุดที่ใช้ในการวิเคราะห์ เพราะความร้อนจาก oven สามารถทำให้ portตัวนี้มีอุณหภูมิสูงขึ้นได้ ดังนั้นถ้าตั้งอุณหภูมิ INJ นี้ไว้ต่ำเกินไปจะทำให้ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ เพราะตัวเครื่องไม่มีระบบระบายความร้อน มีแต่ระบบให้ความร้อนเท่านั้น
และเพื่อให้การควบคุมค่า Flow กระทำได้ดีจึงควรตั้งความดันด้านขาออกของ pressure regulator ที่หัวท่อแก๊สฮีเลียมให้สูงพอ ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างบนแล้ว
Column Temp. -> ทดลองปรับดูว่า temp.ไหนแยกสารเราได้ดี ก็ใช้ temp.นั้น (ประมาณ 50C)
Flow -> ทดลองปรับดูว่า flow ไหนแยกสารเราได้ดี ก็ใช้ flow นั้น
ตรงนี้ยังขาดรายละเอียดการตั้งอุณหภูมิแบบ programmed temperature (คือให้อุณหภูมิคอลัมน์เปลี่ยนไปตามเวลา)
ตรงนี้มีประเด็นว่าทำไมจึงมีการตั้ง Flow ๒ ครั้ง (ผู้รับผิดชอบช่วยตอบด้วย) เพราะโดยปรกติถ้าเป็นพวก packed column แล้ว carrier gas ที่ไหลเข้าทาง injector port ก็จะไหลเข้าคอลัมน์ทั้งหมด (อัตราการไหลเดียวกัน) แต่ถ้าเป็นพวก capillary column จะมี carrier gas เพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ไหลเข้าคอลัมน์ carrier gas ส่วนใหญ่จะถูกระบายทิ้งไป แต่สำหรับเครื่องนี้ผมไม่เห็นมีตำแหน่งระบายแก๊สทิ้งว่าอยู่ตรงไหน
FPD Temp. -> ต้องไม่ต่ำกว่า 100C และไม่ควรต่ำกว่าอุณหภูมิสูงสุดที่ใช้ในการวิเคราะห์โดยปรกติมักจะตั้งไว้ที่ อุณหภูมิคอลัมน์ + 20C
- เมื่อตั้งค่า Condition เรียบร้อยแล้ว กด save method File
(ตรงนี้ต้องมีการตั้งชื่อไฟล์ด้วยหรือเปล่า ต้องมีรายละเอียดเพิ่ม และควรมีระบบการตั้งชื่อไฟล์ด้วย)
.๔ ส่งค่า Parameter ไปยังเครื่อง GC โดย
- เลือก "Acquisition" -> "Download Instrument Parameter"
.๕ สั่ง "System On" โดย
-เลือก Instrument -> System On
.๖ เปิดหน้าจอ GC System On โดย
- รอจนอุณหภูมิของ FPD ได้ระดับตามต้องการ (ต้องไม่ต่ำกว่า 100C)
- เปิดวาล์วที่หัวท่อไฮโดรเจน
- เปิด pressure regulator ที่หัวท่อแก๊สโดยตั้งความดันขาออกไว้ที่ ..... kg/cm2
- ปรับความดันไฮโดรเจนเข้าเครื่องโดยการหมุนปุ่มปรับ (อยู่บนผนังด้านบนด้านหลังของตัวเครื่อง) โดยตั้งความดันขาออกไว้ที่ ..... kPa (ดูรูปที่ ๓)
- เปิดวาล์วที่หัวท่ออากาศ
- เปิด pressure regulator ที่หัวท่อแก๊สโดยตั้งความดันขาออกไว้ที่ ..... kg/cm2
- ปรับความดันอากาศเข้าเครื่องโดยการหมุนปุ่มปรับ (อยู่บนผนังด้านบนด้านหลังของตัวเครื่อง)
โดยตั้งความดันขาออกไว้ที่ ..... kPa (ดูรูปที่ ๔)



รูปที่ ๔ เกจและวาล์วปรับความดันแก๊สไฮโดรเจนและอากาศสำหรับ FPD
ค่าความดันเหล่านี้จะระบุโดยแน่นอนอีกครั้งเมื่อมีปรับแต่งการทำงานเครื่อง GC (ให้บุศมาสทำหน้าที่นี้) โดยหลักแล้ว FPD จะใช้แก๊สไฮโดรเจนมากเกินพอ (เผาไหม้ไม่หมด) และความดันด้านขาออกจาก pressure regulator ที่หัวถังควรสูงกว่าความดันที่จะตั้งที่ตัวเครื่อง FPD อย่างน้อยประมาณ 0.5 bar ขึ้นไป
- สั่ง Detector On โดย กดปุ่ม "On" ของ Detector
- สั่งจุด Flame โดย กดปุ่ม "On" ของ Flame
ปรกติแล้วเพื่อให้การจุดไฟทำได้ง่าย เรามักจะใช้ไฮโดรเจนในปริมาณมากและอากาศในปริมาณน้อย เมื่อจุดไฟติดแล้วจึงค่อยลดปริมาณไฮโดรเจนและ/หรือเพิ่มปริมาณอากาศ เพื่อให้เปลวไฟมีสัดส่วนของแก๊สผสมดังต้องการ ดังนั้นในขั้นตอนนี้ควรมีการแทรกเพิ่มเติม (ต้องได้จากการทดลองทำ) ว่าเริ่มต้นนั้นควรเปิดแก๊สไฮโดรเจนและอากาศที่ความดันเท่าใดก่อน และเมื่อจุดเปลวไฟติดแล้วจึงค่อยปรับความดันแก๊สให้เหมาะสมต่อการวิเคราะห์
พึงระลึกว่าความว่องไวของ FPD ขึ้นอยู่กับสัดส่วนไฮโดรเจนต่ออากาศที่ใช้ในการเผาไหม้ด้วย
.๗ รอจน baseline นิ่งแล้วสั่ง Zero Adjust โดยคลิกปุ่ม Zero Adjust ซึ่งอยู่ด้านขวาของ signal display
.๘ สร้างหรือเลือก Folder เพื่อเก็บ data file โดย
-คลิก File -> Select project (Folder) -> เลือก folder ที่ต้องการ (หรือคลิก new folder เพื่อสร้าง folder ใหม่)
-> คลิก close

. การฉีดสารตัวอย่าง
เครื่องนี้ติดตั้งระบบ sampling loop สำหรับฉีดสารตัวอย่างที่เป็นแก๊ส (ขนาดปริมาตรของ loop คือ ... ml ขอให้สาวน้อยร้อยห้าสิบเซนติเมตรตรวจสอบด้วย) โดยออกแบบมาเพื่อต่อ on-line กับระบบเครื่องปฏิกรณ์ ด้านขาเข้าของคอลัมน์นั้นต่อเข้ากับวาล์วฉีดสารตัวอย่าง ไม่ได้ติดตั้งคอลัมน์ไว้สำหรับฉีดสารตัวอย่างที่เป็นของเหลว (ดูรูปที่ ๕ ประกอบ) ดังนั้นถ้าเปิด oven ดูจะเห็นว่าจาก Injector port สำหรับฉีดสารโดยใช้ syringe ที่อยู่ทางด้านบนของตัวเครื่อง GC นั้น ข้างล่างจะไม่มีคอลัมน์ต่ออยู่

รูปที่ ๕ ลักษณะการต่อคอลัมน์เข้ากับระบบฉีดสารตัวอย่าง
การฉีดสารตัวอย่างจะสั่งฉีดสารตัวอย่างผ่านหน้า Batch Table โดย
.๑ เลือก New Batch File ก่อน โดย "File" -> "New Batch File"
.๒ ระบุ Vial#, Sample name, Sample Amount ใน Batch Table ตามต้องการ แล้วลบแถวที่เกินออก
.๓ สั่ง Save Batch File โดยเลือกคำสั่ง "File" -> "Save Batch File"
.๔ สั่ง Start Batch โดยเลือกคำสั่ง "Batch" -> "Start"
.๕ รอจน GC Status ขึ้นว่า "Ready (Standby)" แล้วจึงฉีดสารตัวอย่าง พร้อมกับกดปุ่ม Start ที่เครื่อง GC
.๖ หากต้องการฉีดสารตัวอย่างอีกให้ทำขั้นตอนที่ ๔.๘ และ ๕.-.๕ ซ้ำ

. ขั้นตอนการปิดเครื่อง
ตรงนี้ยังขาดรายละเอียดว่าคำสั่งต่าง ๆ นั้นเป็นการสั่งการผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือแผงควบคุมบนตัวเครื่อง GC ซึ่งต้องมีการระบุให้ชัดเจน
.๑ สั่ง Detector OFF โดยคลิกปุ่ม "OFF" ของ Detector บน "Instrument monitor"
.๒ เปิด method "Cool Down" แล้วสั่ง Download
คำถามคือ method "Cool Down" นี้เป็นโปรแกรมที่ติดตั้งมากับตัวเครื่องและไม่สามารถปรับแต่งได้ หรือเป็นโปรแกรมที่ต้องเขียนขึ้นเอง หรือเป็นโปรแกรมที่มากับตัวเครื่องแต่สามารถปรับแต่งได้
.๓ รอจนอุณหภูมิของ FPD และ INJ ต่ำกว่า 80Cและอุณหภูมิของ Column ต่ำกว่า 40C
ควรบอกด้วยว่าให้สังเกตค่าอุณหภูมิจากที่ไหน
.๔ สั่ง System OFF โดยเลือกคำสั่ง Instrument -> System OFF
.๕ จะพบว่าไฟ LED indicator หน้าเครื่อง GC ของ Temp และ Flow ดับ จึงปิด Software "GC Real time"
.๖ ปิด Power Switch ของเครื่อง GC
๖.๗ ปิดวาล์วที่หัวท่อแก๊ส He, H2 และอากาศที่หัวท่อแก๊สทุกท่อให้ครบ รอจนความดันใน pressure regulator ที่หัวท่อแก๊สทุกท่อลดลงเป็นศูนย์ (ทั้งด้านความดันสูงและด้านความดันต่ำ) จากนั้นจึงปิด pressure regulator ทุกตัว

. การสำรองไฟล์ข้อมูลการวิเคราะห์
หลังการวิเคราะห์แต่ละครั้ง ควรมีการสำรองไฟล์ข้อมูลเอาไว้ ไม่ควรเก็บข้อมูลทั้งหมดไว้ในคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว

หมายเหตุ ข้างล่างนี้คือต้นฉบับวิธีการใช้เครื่องที่มีอยู่
ขั้นตอนการใช้เครื่อง GC-2014/FPD
1. เปิดถังแก๊ส He, H2, และ Air zero (H2 และ Air อาจเปิดเมื่อต้องการจุด flame เพื่อประหยัด)
2. กดปุ่ม Power ที่ตัวเครื่อง GC
3. เปิด Computer
4. เปิดโปรแกรม GC solution
- คลิก Instrument 1-> เลือก
5. สั่ง “System Check”
- คลิก Instrument->System Check->Run
6. เปิด Method File ที่ต้องการใช้งาน
-เลือก File-> Open method file (เลือก condition ที่ต้องการทำ ถ้าไม่มีก็ตั้งใหม่)
-การตั้ง condition ใหม่
INJ
Temp. -> ถ้าสารเป็น liq ควรตั้งให้สูงกว่าจุดเดือดของสาร
-> ถ้าสารเป็นแก็สอยู่แล้วก็ตั้งเท่าไหร่ก็ได้ (ประมาณ 50 C)
Flow -> ทดลองปรับดูว่า flow ไหนแยกสารเราได้ดี ก็ใช้ flow นั้น
Column
Temp. -> ทดลองปรับดูว่า temp.ไหนแยกสารเราได้ดี ก็ใช้ temp.นั้น (ประมาณ 50 C)
Flow -> ทดลองปรับดูว่า flow ไหนแยกสารเราได้ดี ก็ใช้ flow นั้น
FPD Temp. -> Temp. Column + 30 C
เมื่อตั้งค่า Condition เรียบร้อยแล้ว กด save method File
-เลือก “Acquisition” -> “Download Instrument Parameter” เพื่อส่งค่า Parameter ไปยังเครื่อง GC
7. สั่ง “System On”
-เลือก Instrument -> System On
8. เปิดหน้าจอ GC System On
-รอจน Temp. ของ FPD ได้ตามต้องการ
-สั่ง Detector On โดย กดปุ่ม “On” ของ Detector
-สั่งจุด Flame โดย กดปุ่ม “On” ของ Flame
9. รอจน baseline นิ่งแล้วสั่ง Zero Adjust โดยคลิกปุ่ม Zero Adjust ซึ่งอยู่ด้านขวาของ signal display

10.
สร้างหรือเลือก Folder เพื่อเก็บ data file
-คลิก File -> Select project (Folder) -> เลือก folder ที่ต้องการ (หรือคลิก new folder เพื่อสร้าง folder ใหม่) -> คลิก close
11. สั่งฉีดสารตัวอย่างผ่านหน้า Batch Table โดย
-เลือก New Batch File ก่อน โดย “File” -> “New Batch File”
-แล้วระบุ Vial#, Sample name, Sample Amount ใน Batch Table ตามต้องการ แล้วลบแถวที่เกินออก
-สั่ง Save Batch File โดยเลือกคำสั่ง “File” -> “Save Batch File”
-สั่ง Start Batch โดยเลือกคำสั่ง “Batch” -> “Start”
-รอจน GC Status ขึ้นว่า “Ready (Standby)” แล้วจึงฉีดสารตัวอย่าง พร้อมกับกดปุ่ม Start ที่เครื่อง GC
-หากต้องการฉีดสารตัวอย่างอีกให้ทำขั้นตอนที่ 10,11 ซ้ำ
12. ขั้นตอนการปิดเครื่อง
-สั่ง Detector OFF โดยคลิกปุ่ม “OFF” ของ Detector บน “Instrument monitor”
-เปิด method “Cool Down” แล้วสั่ง Download
-รอจนอุณหภูมิของ FPD&INJ ต่ำกว่า 80 Cและอุณหภูมิของ Column ต่ำกว่า 40 C
-สั่ง System OFF โดยเลือกคำสั่ง Instrument -> System OFF
-จะพบว่าไฟ LED indicator หน้าเครื่อง GC ของ Temp และ Flow ดับ จึงปิด Software “GC Real time”
-ปิด Power Switch ของเครื่อง GC
13. ปิดแก็ส He, H2 และ Air zero ที่หัวถังให้ครบ