เนื้อหาใน
Memoir
ฉบับนี้ยังคงเกี่ยวข้องโดยตรงกับกลุ่ม
DeNOx-SCR
โดยเป็นเนื้อหาต่อเนื่องกับฉบับก่อนหน้า
(ปีที่
๔ ฉบับที่ ๓๘๔ วันอาทิตย์ที่
๘ มกราคม ๒๕๕๕ เรื่อง
"แนวทางหัวข้อการทำวิทยานิพนธ์นิสิตรหัส
๕๓ (ตอนที่
๑๒)")
โดยยังคงเกี่ยวข้องกับ
draeger
tube
เมื่อวานจากการตรวจสอบ
draeger
tube ที่ได้รับมาจากบริษัท
พบว่ามีการส่ง tube
สำหรับวัด
NH3
ที่ความเข้มข้นต่ำมาให้
ที่ข้างกล่องเขียนว่า 0.2-20
ppm
คำแนะนำในการใช้งานของ
draeger
tube อันนี้มันยาวกว่าอันอื่น
เป็นกระดาษสีเหลืองพับไปมายาวกว่าหน้ากระดาษ
A4
แต่ละหน้าผมเลยต้องสแกนแยกเป็น
๒ ส่วนเพื่อที่จะบรรจุลงหน้ากระดาษ
A4
ได้พอดีดังแสดงในรูปที่
๑ และ ๒ (ผมลบสีเหลืองของกระดาษทิ้งไป
จะได้เห็นตัวอักษรได้ชัดเจนขึ้น)
แม้ที่ข้างกล่องจะเขียนว่าใช้วัดในช่วง
0.2-20
ppm แต่ในคู่มือการใช้งานนั้นบอกว่าในการใช้งานจริง
ๆ ต้องเลือกว่าเราจะวัดในช่วงไหน
เพราะจำนวนครั้งที่ต้องดูดแก๊สตัวอย่างและเวลาที่ต้องรอคอยนั้นแตกต่างกัน
ช่วงที่
๑ คือช่วง 1-20
ppm ซึ่งทำการดูดแก๊สตัวอย่างเพียงครั้งเดียว
(1
stroke) และรอเป็นเวลา
1
นาที
ช่วงที่
๒ คือช่วง 0.5-10
ppm ซึ่งต้องทำการดูดแก๊สตัวอย่างสองครั้ง
(2
strokes) และรอเป็นเวลา
2
นาที
ช่วงที่
๓ คือช่วง 0.2-4
ppm ซึ่งต้องทำการดูดแก๊สตัวอย่าง
5
ครั้ง
(5
strokes) และต้องรอเป็นเวลา
5
นาที
draeger
tube ตัวนี้ยังใช้สามารถวัดสารประกอบ
amine
ตัวอื่นได้
สเกลความเข้มข้นที่เขียนไว้ข้างหลอดนั้นเป็นสเกลความเข้มข้นสำหรับ
NH3
ถ้านำไปวัด
amine
ตัวอื่นต้องใช้การเทียบสเกลความเข้มข้นตามที่คู่มือให้มา
แต่ประเด็นที่อยากชี้ให้เห็นใน
Memoir
ฉบับนี้คือข้อ
4.
Interference และข้อ
5.
Chemical reaction in the detector tube
โดยขอให้ไปดูเปรียบเทียบกับกรณีของ
tube
ที่ใช้วัด
NH3
ความเข้มข้นสูงที่นำมาให้ดูใน
Memoir
ฉบับก่อนหน้า
(รูปที่
๓ข ในฉบับที่ ๓๘๔)
จะเห็นคู่มือบอกว่า
tube
ทั้งสองขนาดนั้นใช้ปฏิกิริยาในการทดสอบเดียวกัน
(ข้อ
5.)
ดังนั้นถ้าจะว่ากันตามนี้ถ้ามีสารใดสามารถรบกวนการวัดได้
ก็ควรจะรบกวนการวัดของ tube
ทั้งสองขนาดด้วย
ในคู่มือของ
tube
วัดความเข้มข้นสูง
(ข้อ
4.)
ระบุไว้เลยว่า
SO2
และ
Cl2
สามารถทำให้ค่าที่อ่านได้ต่ำกว่าความเป็นจริง
แต่ประโยคดังกล่าวกลับ
"ไม่ปรากฏ"
ในคู่มือการใช้ของ
tube
วัดความเข้มข้นต่ำที่นำมาแสดง
(กรอบสีแดงในรูปที่
๑)
ในความเห็นผมนั้น
SO2
และ
Cl2
ก็ควรส่งผลกระทบต่อการวัด
NH3
ของ
tube
สำหรับวัดที่ความเข้มข้นต่ำนี้ด้วย
(เพราะดูเหมือนว่ามันใช้ปฏิกิริยาเดียวกัน)
ส่วนที่ว่าทำไมทางผู้ผลิตจึงไม่ระบุไว้ในเอกสารกำกับการใช้งานนั้นผมก็ไม่รู้เหมือนกัน
รูปที่
๑ ด้านหน้าของคำแนะนำในการใช้งาน
draeger
tube สำหรับวัด
NH3
ที่ความเข้มข้นต่ำ
รูปที่
๑ (ต่อ)
ด้านหน้าของคำแนะนำในการใช้งาน
draeger
tube สำหรับวัด
NH3
ที่ความเข้มข้นต่ำ
รูปที่
๒ ด้านหลังของคำแนะนำในการใช้งาน
draeger
tube สำหรับวัด
NH3
ที่ความเข้มข้นต่ำ
รูปที่
๒ (ต่อ)
ด้านหลังของคำแนะนำในการใช้งาน
draeger
tube สำหรับวัด
NH3
ที่ความเข้มข้นต่ำ