ดูเหมือนว่าเย็นวันนี้สาวน้อยหน้าบานจะยิ้มได้สักที
หลังจากที่เมื่อวานบ่ายเขาแวะมาคุยผมเรื่องงานแล้วต้องหน้าเศร้ากลับไป
ผมบอกเขาเมื่อวานว่าอย่างเพิ่งสิ้นหวังซิ
เพราะเรายังมีทางเลือกอยู่ที่เรายังไม่ได้ทดลองทำ
และเมื่อยังไม่ได้ลงมือทดลองทำก็อย่าด่วนสรุปว่ามันไม่มีหวัง
และผมเองก็ไม่ได้คิดว่าทางเลือกที่เหลือนั้นจะใช้ไม่ได้ผล
(แต่ผมก็เตรียมเผื่อใจเอาไว้เหมือนกัน)
Memoir
ฉบับนี้อิงไปยังรูปที่
๒ แผนผังการไหลของแก๊สของเครื่อง
GC-2014
ECD & PDD ที่แสดงไว้ใน
Memoir
ปีที่
๓ ฉบับที่ ๒๗๙ วันพุธที่ ๓๐
มีนาคม ๒๕๕๔ เรื่อง "GC-2014
ECD & PDD ตอนที่
๑ แผนผังระบบเก็บแก๊สตัวอย่าง"
โดยจะขยายรายละเอียดเฉพาะส่วนที่รับแก๊สด้านขาออกจาก
reactor
เพื่อที่จะฉีดเข้า
ECD
วาล์วตัวที่
1
คือ
10-port
valve ที่รับแก๊สตัวอย่างมาด้านขาออกของ
reactor
และเป็นที่ติดตั้ง
sampling
loop สำหรับฉีดสารเข้า
ECD
ส่วนวาล์วตัวที่
2
คือ
6-port
valve ที่ทำหน้าที่ควบคุมให้แก๊สที่มาจากวาล์วตัวที่
1
ให้ไหลไปยัง
ECD
หรือระบายทิ้งออกไป
ก่อนที่เราจะใช้งานนั้น
เราต้องระบุให้ได้ก่อนว่าทางบริษัทตั้งวาล์วเอาไว้ให้ตำแหน่ง
"0"
(หรือตำแหน่ง
"OFF")
และตำแหน่ง
"1"
(หรือตำแหน่ง
"ON")
นั้น
เส้นทางการไหลของแก๊สเป็นอย่างไร
ในการระบุตำแหน่งวาล์วนั้นผมได้ให้แนวความคิดว่า
อัตราการไหลของ carrier
gas ที่ไหลผ่าน
detector
นั้นน่าจะส่งผลถึงสัญญาณของ
detector
เรื่องผลของอัตราการไหลของ
carrier
gas ที่มีผลต่อสัญญาณ
detector
นั้นเรามีประสบการณ์กับ
detector
ชนิด
TCD
(Thermal conductivity detector) PDD (Pulsed discharge detector) FID
(Flame ionisation detector) และ
FPD
(Flame photometric detector) ซึ่ง
detector
แต่ละชนิดก็ว่องไวต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราการไหลของ
carrier
gas ที่แตกต่างกันไป
บางชนิดก็ว่องไวมากในขณะที่บางชนิดก็ว่องไวเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
แต่ตัว ECD
(Electron capture detector) นั้นเรายังไม่มีประสบการณ์
เราเริ่มจากวาล์ว
2
ก่อน
โดยเริ่มต้นความดันแก๊ส
N2
ขาเข้า
APC-2
(ซึ่งใช้เป็น
carrier
gas) นั้นอยู่ที่
40
kPa โดยคาดหวังว่า
(ก)
ถ้าเราเปลี่ยนความดันนี้
(เช่นเพิ่มเป็น
80
kPa) จะทำให้อัตราการไหลของแก๊สผ่าน
APC-2
เปลี่ยนไป
และ
(ข)
ถ้าความแรงสัญญาณของ
ECD
ขึ้นกับอัตราการไหลของ
carrier
gas และ
(ค)
วาล์ว
2
อยู่ในตำแหน่งที่ทำให้แก๊สจาก
APC-2
ดังนั้นเราควรจะเห็นการเปลี่ยนแปลงความแรงของสัญญาณ
ECD
แต่ถ้าเราเปลี่ยนความดันขาเข้า
APC-2
แล้วไม่พบการเปลี่ยนแปลงความแรงสัญญาณ
ECD
นั่นอาจเป็นเพราะ
(ง)
วาล์ว
2
อยู่ในตำแหน่งที่ทำให้แก๊สจาก
APC-2
ไม่ไหลผ่าน
ECD
หรือ
(จ)
ความแรงของสัญญาณ
ECD
ไม่ขึ้นกับอัตราการไหลของ
carrier
gas
ซึ่งจะต้องทำการทดสอบด้วยการเปลี่ยนวาล์ว
2
ให้ไปอยู่ที่อีกตำแหน่งหนึ่ง
จากนั้นก็ทำการปรับความดันขาเข้า
APC-2
ซึ่งถ้าไม่พบการเปลี่ยนแปลงความแรงของสัญญาณ
ECD
ก็แสดงว่า
ECD
ไม่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราการไหลของ
carrier
gas แต่ถ้าพบการเปลี่ยนแปลงความแรงสัญญาณ
ECD
ก็แสดงว่าตำแหน่งใหม่นี้เป็นตำแหน่งที่ให้แก๊สจาก
APC-2
ไหลเข้า
ECD
จากการทดสอบกับวาล์ว
2
เราพบว่าเมื่อเราเพิ่มความดันแก๊ส
N2
ขาเข้า
APC-2
(จาก
40
kPa เป็น
80
kPa) ซึ่งจะทำให้แก๊ส
N2
ไหลผ่าน
ECD
เร็วขึ้น
ECD
จะส่งสัญญาณที่แรงขึ้น
และเมื่อลดความดันแก๊ส N2
ขาเข้า
APC-2
กลับคืนเดิม
(จาก
80
kPa เหลือ
40
kPa) สัญญาณก็กลับมาที่เดิม
ด้วยวิธีการนี้ทำให้เราสามารถระบุตำแหน่งวาล์ว
2
ได้ก่อน
จากนั้นจึงได้ทำการทดลองเพื่อระบุตำแหน่งวาล์ว
1
โดยตั้งวาล์ว
2
ให้อยู่ในตำแหน่งที่ให้แก๊สจากวาล์ว
1
ไหลตรงไปยัง
ECD
(ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ให้แก๊สจาก
APC-2
ไม่ไหลเข้า
ECD)
จากนั้นก็ได้ทดลองเปลี่ยนตำแหน่งวาล์ว
1
(ความดันแก๊ส
N2
ขาเข้า
APC-1
ตั้งไว้ที่
40
kPa) โดยได้พิจารณาจากผังการไหลแล้วได้ข้อสรุปว่า
(ฉ)
ถ้าเริ่มต้นวาล์ว
1
อยู่ที่ตำแหน่งเก็บตัวอย่าง
แก๊สที่ไหลเข้า ECD
ที่จะไหลในเส้นทางผ่าน
DC-1
เข้า
port
4 ของวาล์ว
1
(มีการวนเข้าตัววาล์วเพียงครั้งเดียว
และเนื่องจากรูที่ตัววาล์วมีขนาดเล็กมาก
ดังนั้นจะเกิดความต้านทานการไหลสูงมากที่ทางเข้าตัววาล์ว)
และเมื่อเปลี่ยนตำแหน่งวาล์ว
1
ให้ไปอยู่ในตำแหน่งฉีดตัวอย่างจาก
sampling
loop เข้าคอลัมน์
แก๊สที่ไหลไปยัง ECD
จะไหลในเส้นทางผ่าน
sampling
loop ซึ่งเป็นเส้นทางที่มีความต้านทานการไหลสูงกว่า
(มีการไหลเข้าวาล์วถึง
3
ครั้งคือที่ตำแหน่ง
7
1 และ
6
ตามลำดับ
ซึ่งเป็นเส้นทางที่มีความต้านทานการไหลที่สูงกว่า)
ดังนั้นอัตราการไหลจะลดลง
เราก็ควรจะเห็นความแรงสัญญาณ
ECD
ลดลง
(ช)
ในทางกลับกันถ้าเริ่มต้นวาล์ว
1
อยู่ที่ตำแหน่งฉีดตัวอย่างเข้าคอลัมน์
เมื่อเราเปลี่ยนตำแหน่งวาล์ว
1
จะทำให้อัตราการไหลของแก๊สไปยัง
ECD
เพิ่มขึ้น
เราก็จะเห็นความแรงของสัญญาณ
ECD
เพิ่มมากขึ้น
และด้วยความพยายามของกลุ่ม
สาว สาว สาว (สาวน้อยหน้าบาน
สาวน้อยร้อยแปดสิบเซนต์
และสาวน้อยผิวเข้ม)
จึงทำให้เราสามารถระบุตำแหน่งวาล์ว
1
และ
2
ได้ดังแสดงในรูปที่
๑-๔
ขั้นตอนต่อไปคือการระบุตำแหน่งพีค
NO
และ
N2O
ซึ่งจากการคุยโทรศัพท์กันคร่าว
ๆ เมื่อเย็นหวังนี้
หวังว่าพรุ่งนี้เช้าคงจะมีข่าวดี
รูปที่
๑ วาล์ว 1
เมื่ออยู่ในตำแหน่ง
sampling
loop รับแก๊สตัวอย่างจากด้านขาออกของ
reactor
รูปที่ ๒ วาล์ว 1 เมื่ออยู่ในตำแหน่งฉีดแก๊สตัวอย่างใน sampling loop เข้าคอลัมน์ GC