Memoir
ฉบับนี้เป็นบันทึกข้อมูลการทดลองฉีดแก๊ส
NO
เข้มข้น
10000
ppm ใน
N2
และ
N2O
เข้มข้น
10000
ppm ใน
N2
และตรวจวัดด้วย
ECD
ซึ่งเป็นผลงานของสาวน้อยร้อยห้าสิบเซนต์
(คนใหม่)
กับสาวน้อยหน้าบาน
(คนใหม่)
ในช่วงที่ผ่านมานั้นมีการตรวจพบปัญหาว่ามีพีคแปลกปลอมเกิดขึ้นเมื่อเปลี่ยนชนิดแก๊สที่ฉีด
สาเหตุอาจเป็นเพราะเดิมเราให้แก๊สตัวอย่างที่ต้องการฉีดนั้นไหลผ่านระบบ
DeNOx
reactor ซึ่งระบบดังกล่าวมีขนาดใหญ่และมี
dead
end ตรงข้อต่อที่เป็นจุดผสมแก๊สต่าง
ๆ เข้าด้วยกันหลายตำแหน่ง
ทำให้แก๊สต่างชนิดที่ตกค้างอยู่ในบริเวณนี้สามารถเข้ามาปนเปื้อนแก๊สตัวอย่างที่ต้องการฉีด
(รูปที่
๑)
รูปที่
๑ ตรงตำแหน่งข้อต่อสามทางที่ใช้ผสมแก๊สสองชนิดเข้าด้วยกัน
แม้ว่าเราจะปิดวาล์วไม่ให้แก๊ส
B
ไหลเข้ามา
แต่ก็จะมีแก๊ส B
ส่วนหนึ่งค้างอยู่ตรงข้อต่อ
(บริเวณสีเหลือง)
ซึ่งแก๊สตรงนี้จะแพร่เข้าไปปนเปื้อนแก๊ส
A
ได้เมื่อแก๊ส
A
ไหลผ่านตำแหน่งดังกล่าว
การแก้ไขทำโดยการต่อท่อแก๊สจากถังบรรจุแก๊สผสม
NO
ตรงเข้าไปยังจุดท่อทางเข้าวาล์วเก็บตัวอย่างของระบบ
ทั้งนี้เพื่อป้องกันปัญหาการปนเปื้อนของแก๊สตัวอื่นที่ค้างอยู่ตามตำแหน่งข้อต่อต่าง
ๆ ของระบบ DeNOx
reactor
ผลการฉีดแก๊สผสม
๓ ครั้ง (ในวันพุธที่
๖ มิถุนายนที่ผ่านมา)
ได้แสดงไว้ในรูปที่
๒ จะเห็นว่าเกิดพีคขึ้น ๒
ตำแหน่ง โดยคาดว่าหนึ่งในสองพีคนี้น่าจะเป็น
NO
ในวันนี้ได้ทำการฉีดแก๊สผสม
N2O
ใน
N2
เพื่อหาตำแหน่งพีค
N2O
ซึ่งได้แสดงไว้ในรูปที่
๓ ซึ่งแสดงว่าพีคหลังเป็นพีคของ
N2O
งานที่ได้ทำต่อในบ่ายวันนี้คือการหาตำแหน่งพีคออกซิเจนเพื่อที่จะตรวจสอบว่าคอลัมน์ที่ใช้อยู่นั้นสามารถแยกพีค
O2
และ
NO
ออกจากกันได้
จากการตรวจสอบเมื่อบ่ายวันนี้คาดว่าน่าจะมีความหวัง
ยังไงก็ต้องรอลุ้นกันต่อไป
รูปที่
๒ ผลการฉีดแก๊สผสม NO
10000 ppm ใน
N2
โดยตั้ง
APC1
= 160 kPa APC2 = 20 kPa และ
APC3
= 40 kPa
ที่เห็นเส้นสีดำกระโดดสูงกว่าเส้นอื่นนั้นอาจเป็นเพราะว่าเป็นการทดลองฉีดครั้งแรก
และไม่ได้ทำกการปรับความดันใน
sampling
loop จนเหลือเท่ากับความดันบรรยากาศ
รูปที่
๓ ผลการฉีดแก๊สผสม N2O
10000 ppm ใน
N2
โดยตั้ง
APC1
= 160 kPa APC2 = 20 kPa และ
APC3
= 40 kPa เทียบกับพีคการฉีด
NO
ผลที่ได้แสดงว่าพีคที่สองนั้นเป็นพีคของ
N2O
โดยแก๊ส
NO
10000 ppm นั้นมี
N2O
ผสมอยู่ประมาณ
500
ppm