โดยความเห็นของผมนั้น
ถ้าจะศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของรถไฟไทย
ก็ควรที่จะต้องศึกษาประวัติศาสตร์ทางด้านการเมือง
การทหาร เศรษฐกิจ
และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในยุคสมัยนั้น
ควบคู่ไปด้วยกัน
จึงจะได้ภาพการตัดสินใจของบุคคลต่าง
ๆ ในช่วงที่แต่ละเหตุการณ์เกิดขึ้นนั้นได้อย่างถูกต้อง
การกำเนิดของรถไฟนำมาซึ่งสิ่งหนึ่งคือการย่นระยะเวลาการเดินทางทางบกให้หดสั้นลงมาก
จากเวลาที่ต้องใช้เป็นวันเหลือเพียงไม่กี่ชั่วโมง
และยังทำให้สามารถเคลื่อนย้ายสิ่งของและผู้คนจำนวนมากจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่งได้ง่าย
ดังนั้นเมื่อแรกเริ่มจะวางรางรถไฟนั้นจึงมีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณา
โดยอาจเริ่มจากการพิจารณาว่าจะสร้างเพื่อลำเลียงสิ่งใดเป็นหลัก
(คน
หรือสิ่งของ หรือกองทัพ)
จากนั้นจึงพิจารณาในส่วนของเส้นทางและขนาดของความกว้างของรางที่จะใช้
โดยหลักการแล้วรางที่มีขนาดความกว้างมากกว่าก็ยอมให้รถไฟวิ่งด้วยความเร็ว
"สูงสุด"
ที่สูงกว่ารางที่มีขนาดความกว้างน้อยกว่า
แต่การวางรางที่มีขนาดความกว้างที่มากก็มีข้อเสียเหมือนกัน
คือมีค่าใช้จ่ายที่มากกว่า
(อย่างน้อยก็ต้องใช้ไม้หมอนที่มีความยาวมากกว่า)
และยังต้องใช้วงเลี้ยวที่กว้างกว่ารางที่มีขนาดเล็กกว่า
ทำให้ในบางท้องที่
(เช่นบริเวณภูเขา)
ต้องอาจใช้วิธีการเจาะอุโมงแทนการวิ่งคดเคี้ยวไปตามไหล่เขา
เส้นทางรถไฟโดยเฉพาะในยุโรปนั้น
เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายกองทัพทั้งกองทัพ
โดยอาจเป็นการนำกำลังพลที่กระจายอยู่ตามเมืองต่าง
ๆ มารวมเป็นกองทัพใหญ่ได้ในเวลาอันสั้น
หรือเคลื่อนย้ายกองทัพทั้งกองทัพจากสถานที่แห่งหนึ่ง
ไปยังสถานที่อีกแห่งหนึ่ง
(สนามรบ)
โดยที่ฝ่ายข้าศึกยังไม่ทันได้ตั้งตัว
นายทหารผู้หนึ่งที่ใช้ความรู้เรื่องเส้นทางรถไฟนี้ในการเคลื่อนย้ายกำลังพลจนประสบความสำเร็จในการรบเห็นจะได้แก่
จอมพล Helmuth
von Moltke(๑)
เสนาธิการทหารแห่งกองทัพปรัสเซีย
ที่ทำให้กองทัพปรัสเซียมีชัยชนะเหนือกองทัพพันธมิตรออสเตรีย
ในสงครามระหว่างปรัสเชียกับออสเตรียในปีค.ศ.
๑๘๖๖
(พ.ศ.
๒๔๐๙)
และชนะฝรั่งเศสในสงครามระหว่างฝรั่งเศสกับปรัสเซียในปีค.ศ.
๑๘๗๐
(พ.ศ.
๒๔๑๓)
ในประเทศไทยเองก็มีประสบปัญหาในการเลือกขนาดความกว้างของรางที่จะใช้
และเส้นทางที่จะวาง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยรัชกาลที่
๕ ที่ยังเป็นยุคของการล่าอาณานิคมของประเทศในยุโรป
ผู้บริหารประเทศในยุคนั้นเล็งเห็นว่าการให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนสร้างทางรถไฟ
หรือยอมให้ใช้ประเทศไทยในการวางรางเพื่อเป็นทางผ่านไปยังประเทศอื่นนั้น
อาจทำให้รัฐบาลของประเทศนั้นมีข้ออ้างในการส่งทหารเข้ามาในประเทศไทยได้
โดยใช้ข้ออ้างที่ว่า
"เพื่อปกป้องผลประโยชน์"
ของประเทศตนเอง
ด้วยเหตุนี้จีงทำให้ทางรัฐบาลไทยในยุคนั้นต้องตัดสินใจสร้างทางรถไฟและควบคุมการทำงานด้วยตนเอง
เส้นทางรถไฟเส้นแรกของประเทศไทยคือกรุงเทพ-โคราชนั้นใช้รางขนาดกว้างที่เรียกว่า
"Standard
gauge" (กว้าง
1.435
เมตร)
แต่สำหรับรถไฟสายใต้
(ด้านฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา)
นั้นใช้รางขนาดกว้างที่เรียกว่า
"Metre
gauge" (กว้าง
1.000
เมตร)
ส่วนเหตุผลเรื่องการเลือกขนาดของรางนี้
ผมว่าแทนที่จะไปตั้งคำถามหรืออ่านตามหน้ากระดานสนทนาต่าง
ๆ ที่ผู้เข้ามาแสดงใช้แต่ความคิดเห็นส่วนตัวนั้น
ลองไปหาหนังสือเรื่อง "Rails
of the Kingdom : The History of Thai Railways"(๒)
ที่เขียนโดย
Ichiro
Kakizaki เพราะได้ใช้เอกสารทางประวัติศาสตร์อธิบายให้เห็นว่า
สภาพแวดล้อมทางการเมือง
ความมั่นคง เศรษฐกิจ
และสังคมของไทยในขณะนั้น
ส่งผลต่อการตัดสินใจอย่างไร
กับอีกเล่มคือ
"กำเนิดการรถไฟในประเทศไทย"(๓)
ที่แปลจากบันทึกประจำวันของนาย
ลูอิส ไวเลอร์
วิศวกรชาวเยอรมันที่มาควบคุมการสร้างทางรถไฟในสมัยนั้น
เพราะเป็นผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ในขณะนั้น
มาอ่านดีกว่า
ถ้าเรากลับไปดูเหตุการณ์ในยุคสมัยนั้น (หรือไล่ลงมาถึงยุคสงครามโลกครั้งที่สองในยุโรป) จะเห็นว่าเส้นทางรถไฟเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ แม้ว่ารถไฟจะทำให้สามารถเคลื่อนย้ายคนและสิ่งของจำนวนมากได้ในเวลาเป็นระทางไกลได้ในเวลาอันสั้นลง การที่แต่ละประเทศใช้รางขนาดกว้างเท่ากันก็จะทำให้การเดินทางข้ามประเทศทำได้ง่ายขึ้น แต่ในภาวะสงครามแล้วอาจก่อให้เกิดอันตรายได้เพราะถ้าข้าศึกยึดเส้นทางรถไฟได้ ก็สามารถใช้เส้นทางรถไฟนั้นลำเลียงทหารข้ามประเทศได้อย่างรวดเร็ว
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
ตอนเยอรมันบุกโปแลนด์นั้น
ขนาดรางรถไฟในโปแลนด์และเยอรมันเป็นขนาดเดียวกัน
เพราะช่วงที่มีการวางทางรถไฟนั้นเยอรมันเป็นผู้ปกครองโปแลนด์
และถนนหนทางในโปแลนด์ก็มีแพร่หลาย
แต่พอเยอรมันบุกรัสเซียกับเจอกับปัญหาใหญ่
เพราะถนนในรัสเซียนั้นใช้พอใช้การได้ในฤดูแล้ง
แถมมีน้อยอีก ต้องอาศัยเส้นทางรถไฟเป็นหลัก
แนวการบุกของเยอรมันจึงต้องเน้นไปที่การยึดเส้นทางรถไฟ
จากที่ได้อ่านประวัติศาสตร์แนวรบด้านตะวันออกนี้มาบ้างพบว่า
ถ้ามีแผนที่เส้นทางรถไฟในสมัยนั้นประกอบด้วย
จะเข้าใจได้ชัดเจนมากขึ้นว่าทำไมจึงต้องเลือกปฏิบัติการ
ณ ตำแหน่งเหล่านั้น
นอกจากนี้ขนาดความกว้างของรางในรัสเซียใหญ่กว่าของเยอรมันเล็กน้อย
ในช่วงแรกเยอรมันต้องใช้การขนถ่ายสิ่งของจากขบวนรถหนึ่งไปยังอีกขบวนหนึ่ง
แต่ในช่วงหลังต้องใช้การส่งคนงานเข้ามาปรับแก้ขนาดรางอีก
เพื่อให้รถไฟเยอรมันวิ่งส่งเสบียงเข้าใกล้แนวหน้าของกองทัพได้โดยตรง
ด้วยเหตุนี้ในยุคสมัยรัชกาลที่
๕ จึงได้มีการกำหนดให้เส้นทางรถไฟหลัก
(รวมทั้งเส้นแยกย่อยสำคัญออกจากเส้นหลัก)
นั้น
รัฐจะเป็นผู้ดำเนินการสร้างเอง
ส่วนเส้นทางย่อยที่เอกชนขอสร้างนั้น
จะให้ใช้รางที่มีขนาดแคบกว่ารางของเส้นทางหลักที่เส้นย่อยนั้นแยกออกหรือเข้ามาบรรจบ
จะมียกเว้นอยู่เส้นทางหนึ่งคือเส้นจากคลองสานไปสิ้นแม่น้ำท่าจีนที่มหาชัย
และเส้นจากสถานีบ้านแหลมริมแม่น้ำท่าจีนที่อยู่อีกฟากของแม่น้ำทางจีนไปยังสถานีแม่กลอง
ที่สองเส้นนี้ใช้รางขนาดกว้าง
1
เมตรเช่นเดียวกับเส้นทางรถไฟสายใต้
ผมแวะไปที่สถานีแม่กลองมาเมื่อปลายเดือนธันวาคมก่อนขึ้นปีใหม่
พาคุณพ่อคุณแม่ไปไหว้พระและพาภรรยายไปดูตลาด
"หุบร่ม"
(ร่มมันกางอยู่
พอรถไฟมาก็ต้องหุบร่ม
ดังนั้นผมว่าถ้าจะเรียกให้ถูกก็ควรต้องเรียกตลาด
"หุบร่ม"
มากกว่าที่จะเรียนตลาด
"ร่มหุบ")
ระหว่างที่รอรถไฟอยู่ที่สถานีก็ได้เดินถ่ายรูปเล่นแถว
ๆ นั้น
และได้พบว่าเหล็กรางรถไฟที่เขาเอาไปทำเป็นเสาโครงสร้างหลังคาให้กับตัวสถานีนั้น
บางเส้นมีอายุมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่
๕ หรือเมื่อเราเริ่มมีรถไฟ
(รัชกาลที่
๕ เปิดเส้นทางรถไฟในปีค.ศ.
๑๘๙๗
(พ.ศ.
๒๔๓๙))
รูปที่ ๒ สถานีแม่กลอง เมื่อมองจากด้านแม่น้ำแม่กลองมายังสถานี ด้านที่อยู่ไกลออกไปคือตลาดสด
รูปที่ ๒ สถานีแม่กลอง เมื่อมองจากด้านแม่น้ำแม่กลองมายังสถานี ด้านที่อยู่ไกลออกไปคือตลาดสด
รูปที่ ๓ ป้ายบอกที่ตั้งสถานี บอกว่าสถานีนี้อยู่ที่กิโลเมตรที่ 33 + 762.50 สถานีก่อนหน้าคือสถานีลาดใหญ่ อยู่ห่างออกไป 6,132.20 เมตร
รูปที่ ๔ (บน) เหล็กรางรถไฟตั้งแต่ปีค.ศ. ๑๙๐๘ หรือ พ.ศ. ๒๔๕๑ ตรงกับปลายสมัยรัชกาลที่ ๕ (กลาง) เหล็กรางรถไฟปีค.ศ. ๑๙๒๘ หรือ พ.ศ. ๒๔๗๑ ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๗ และ (ล่าง) เหล็กรางรถไฟปีค.ศ. ๑๙๓๘ หรือ พ.ศ. ๒๔๘๑ ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๘ หรือก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่สองไม่นาน รูปเหล่านี้เป็นเหล็กที่ใช้ทำเสาอาคารสถานีส่วนที่คร่อมทางรถไฟ (ภาพเดิมเป็นแนวตั้ง แต่จับเอามาพลิกนอน)
รูปที่ ๕ ตรงจุดรอยต่อของราง มีแผ่นเหล็กประกบและขันนอตยึดเอาไว้ หัวนอตประทับตราว่า RSR ย่อมาจาก "Royal State Railway" หรือ "กรมรถไฟหลวง" ซึ่งใช้ชื่อนี้มาจนกระทั่งสิ้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๔ จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น "การรถไฟแห่งประเทศไทย" หรือ "State Railway of Thailand - SRT"
ขนาดของเหล็กที่ใช้ทำรางก็เป็นตัวกำหนดน้ำหนักรถที่จะรับได้
และความเร็วสูงสุดที่รถจะวิ่งได้
ขนาดของเหล็กที่ใช้ทำรางนี้มักจะเรียกเป็นปอนด์
หมายถึงน้ำหนักที่มีหน่วยเป็นปอนด์ต่อความยาว
1
หลา
อย่างเช่นรางในยุคแรกที่วางนั้นใช้ขนาด
50
ปอนด์
ก็หมายความว่ารางนี้มีน้ำหนัก
50
ปอนด์ต่อความยาว
1
หลา
รางขนาด 50
ปอนด์นี้ปัจจุบันน่าจะยังพอมีหลงเหลืออยู่
แต่คงไม่มากแล้ว
คงเป็นในส่วนแยกย่อยและเส้นทางที่ไม่ได้ลำเลียงสินค้าหนักใด
ๆ เพราะปัจจุบันก็เห็นแต่ข่าวการปรับปรุงรางให้เป็นขนาด
100
ปอนด์
รางรถไฟก็ไม่ได้ใช้ทำเฉพาะรางให้รถไฟวิ่ง
เห็นใช้ทำทั้งเสาโทรเลขที่วางคู่ขนานไปกับเส้นทาง
รั้วกั้นตามสถานี
รวมไปถึงเสาโครงสร้างอาคารตามสถานีด้วย
อย่างเช่นสถานีแม่กลองที่ไปเยี่ยมมานั้น
ก็ใช้เหล็กรางรถไฟทำเป็นโครงสร้างเสาและหลังคา
ครอบคลุมบริเวณที่รถไฟจอด
บังเอิญไปสังเกตเห็นว่าเหล็กรางที่เขาเอาไปทำโครงสร้างอาคารนั้นบางท่อนก็มีสิ่งที่น่าสนใจบันทึกเอาไว้
นั่นคือผู้ผลิตและ ปีค.ศ.
ที่ทำการผลิต
เหล็กรางที่เอาไปทำเสาโครงสร้างนั้นพบว่าเส้นที่มีอายุมากที่สุดเป็นเส้นที่มีตราประทับปีค.ศ.
๑๙๐๘
หรือเมื่อ ๑๐๖ ปีที่แล้ว
ซึ่งตรงกับปลายสมัยรัชกาลที่
๕ (รูปที่
๔)
ซึ่งเห็นมีเพียงไม่กี่เส้น
นอกนั้นก็เป็นเส้นที่ประทับตราปีค.ศ.
๑๙๒๘
และ ๑๙๓๘ โดยมีการระบุเพิ่มเติมด้วยว่า
RSR
ที่ย่อมาจาก
Royal
State Railway หรือกรมรถไฟหลวง
นอกจากนี้ที่หัวนอตที่ใช้ยึดรางสองท่อนเข้าด้วยกันก็มีตราประทับว่า
RSR
(รูปที่
๕)
ด้วยเช่นกัน
แสดงว่าในสมัยนั้นเวลาที่เราสั่งผลิตภัณฑ์เหล็กจากต่างประเทศ
ทางประเทศผู้ผลิตก็จะทำให้เกิดตราประทับบนผลิตภัณฑ์นั้นเพื่อบ่งบอกให้รู้ว่าผลิตให้กับใคร
เส้นทางรถไฟสายนี้ในอดีตเคยมีการวางแผนที่จะเชื่อมเข้ากับเส้นทางรถไฟสายใต้บริเวณสถานีตลิ่งชัน
(ดู
Memoir
ฉบับที่
๔๙๙ วันพุธที่ ๒๙ สิงหาคม
พ.ศ.
๒๕๕๕
เรื่อง "ก่อนจะเลือนหายไปจากความทรงจำตอนที่ ๒๓ ทางรถไฟสายตลิ่งชัน-มหาชัย")
และเชื่อมต่อเส้นทางด้านแม่กลองเข้ากับทางรถไฟสายใต้ที่บริเวณอ.
ปากท่อ
จังหวัดราชบุรี
แต่แผนการณ์ดังกล่าวก็ถูกยกเลิกไป
(กลายเป็นถนนพระราม
๒ หรือที่แรก ๆ
นั้นเรียกกันว่าถนนธนบุรี-ปากท่อ)
สภาพเดิมของสถานีนี้ดูเหมือนว่าจะเป็นสถานีที่ให้จอดรถไฟได้ทีละ
๔ หรือ ๕ ขบวน
แต่ตอนนี้เหลือเพียงแค่ให้จอดได้เพียงขบวนเดียว
ส่วนรางที่เหลือนั้นก็โดยทับถมและปิดบังด้วยสิ่งก่อสร้างต่าง
ๆ ที่สร้างคร่อมทับเอาไว้
(รูปที่
๒)
ส่วนปลายทางของเส้นทางเส้นนี้ก็ไปสิ้นสุดที่แม่น้ำแม่กลอง
(ในอดีตคงเอาไว้ขนรถหัวรถจักรหรือตู้รถไฟขึ้นลงจากเรือ
เพราะสมัยนั้นเรายังไม่มีถนน
และไม่มีรถที่จะบรรทุกรถไฟทั้งตู้ได้)
ก่อนหน้าผมไปครั้งสุดท้ายไม่นาน
ป้ายบอกหลักกิโลสิ้นสุดเส้นทางคือ
33+855
ยังคงปักตั้งอยู่
แต่ที่ไปครั้งสุดท้ายนี้มันหักลงมากองกับพื้นแล้ว
ไม่รู้เหมือนกันว่าจะถูกขนเอาไปทิ้งเมื่อใด
การท่องเที่ยวโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อไปศึกษาประวัติศาสตร์จากสถานที่จริงนั้น
ดูเหมือนว่าบ้านเราไม่ค่อยนิยมกันสักเท่าใดนัก
จะเน้นแต่การไป ไหว้พระ
ซื้อของ และหาของฝากของกิน
เป็นหลักซะมากกว่า
โดยส่วนตัวแล้วเห็นว่าการท่องเที่ยวเพื่อศึกษาอดีตนั้นควรที่จะทำการศึกษาสถานที่จะไปก่อนที่จะเดินทางไป
บนเส้นทางการเดินทางเดียวกัน
คนที่ไม่เคยรู้จักอดีตของเส้นทางนั้นก็จะเห็นแต่ภาพปัจจุบัน
แต่สำหรับคนที่เคยผ่านเส้นทางนั้นในอดีตหรือศึกษาความเป็นมาของเส้นทางนั้นมาก่อน
จะมีอีกภาพที่แตกต่างกันออกไป
ท้ายสุดนี้ก็ต้องขอกล่าวต้อนรับสมาชิกใหม่ของกลุ่มที่จะมาเข้าร่วมในปีการศึกษาหน้าที่กำลังจะเริ่มขึ้น
Memoir
ฉบับนี้จะเป็นฉบับแรกที่ส่งทางอีเมล์ให้กับสมาชิกใหม่ของกลุ่ม
ที่จะส่งให้เรื่อย ๆ
จนกว่าจะได้รับพระราชทานปริญญาบัตร
ส่วนผู้ที่กำลังจะเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรในเช้าวันพรุ่งนี้นั้น
ฉบับถัดไปที่จะออกหลังงานพระราชทานปริญญาบัตรก็จะเป็นฉบับสุดท้ายที่ส่งให้ทางอีเมล์
เอกสารประกอบการเขียน
๑.
พลโท
อภิชาติ
ธีรธำรง,"ข้อคิดทางยุทธศาสตร์ของนักยุทธศาสตร์ระดับโลก",
จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ธรรมนิติ
จำกัด พ.ศ.
๒๕๓๙.
๒.
Ichiro Kakizaki, "Rails of the Kingdom : The History of Thai
Railways", White Lotus, 2012.
๓.
ลูอิส
ไวเลอร์,
"กำเนิดการรถไฟในประเทศไทย",
แปลโดย
ถนอมนวล โอเจริญ และวิลิตา
ศรีอุฬารพงศ์,
หนังสือในโครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ลำดับที่ ๑๔๙,
หนังสือนี้มีการพิมพ์ครั้งที่
๒ ในปีพ.ศ.
๒๕๕๖
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น