เรื่องเดิม
ๆ เกิดขึ้นเป็นประจำ
อาจจะเป็นเพราะคิดแต่เพียงว่า
ทำอย่างไรจึงจะได้ผลออกมา
ไม่จำเป็นต้องนั่งเฝ้าเครื่องมือ
ถึงเวลาก็ค่อยมาเก็บผล
สิ่งที่พบเห็นในเช้าวันนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่
อันที่จริงก็พบเห็นอยู่เรื่อย
ๆ แต่ไม่ได้นำมาเขียนลง
blog
แต่วันนี้ที่นำมาลงก็เพราะต้องการบันทึกไว้ว่ามันเป็นสิ่งที่พบเห็นอยู่เป็นประจำ
ย้อนหลังไปตั้งแต่สมัยเมื่อออก
Memoir
ฉบับแรก
ๆ ในปีพ.ศ.
๒๕๕๑
หรือเมื่อเกือบ ๗ ปีที่แล้ว
และก็มีบันทึกเรื่องดังกล่าวไว้ใน
Memoir
ต่าง
ๆ ดังนี้
ปีที่
๑ ฉบับที่ ๓ วันศุกร์ที่ ๑๑
กรกฎาคม ๒๕๕๑ เรื่อง
"นานาสาระเรื่องไฟฟ้ากำลัง:วางเพลิงแลปไม่ใช่เรื่องยาก"
ปีที่
๒ ฉบับที่ ๑๒๖ วันศุกร์ที่
๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ เรื่อง
"ไม่รู้จะสอนยังไงแล้ว(Hotplate)"
ปีที่
๔ ฉบับที่ ๓๙๘ วันเสาร์ที่
๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ เรื่อง
"ไม่รู้จะสอนยังไงแล้ว(๔)"
ในหลาย
ๆ
วงการนั้นต่างก็มีกฎเกณฑ์และกติกาเกี่ยวกับความปลอดภัยที่พึงต้องปฏิบัติ
เช่นช่างซ่อมรถยนต์
เวลาที่ต้องเข้าไปทำงานใต้ท้องรถยนต์
เขาจะใช้แม่แรงยกรถให้ลอยสูงจากพื้น
และหาขาค้ำยันมาค้ำเอาไว้
เขาจะไม่ใช้แม่แรงเป็นตัวค้ำยันให้รถลอยอยู่ตลอดเวลา
เพราะถ้าหากแม่แรงคลายตัว
รถก็จะตกลงมากระแทกผู้ที่นอนทำงานอยู่ใต้ท้องรถได้
แต่ในบางกรณีถ้ามีความจำเป็น
(เช่นตอนถอดล้อออกเพื่อเปลี่ยน)
ก็จะนำเอาล้อรถมารองเอาไว้ใต้ท้องตรงจุดรับแรง
เผื่อเกิดอุบัติเหตุแม่แรงหมดแรงยกขึ้นมา
รถจะได้ไม่กระแทกพื้น
แต่กะทะล้อจะรองรับเอาไว้แทน
(ดู
Memoir
ปีที่
๕ ฉบับที่ ๕๑๒ วันจันทร์ที่
๑ ตุลาคม ๒๕๕๕ เรื่อง
"อย่าไว้ใจแม่แรง"
ในกรณีของ
magnetic
stirrer ที่ถ่ายรูปมาให้ดูในวันนี้ก็เช่นกัน
มันเป็นแบบให้ความร้อนได้ในตัว
แต่ถึงอย่างไรก็ตามแม้ว่าเราจะไม่เปิด
heater
ให้ความร้อนแก่สารละลายที่ทำการปั่นกวนก็ตาม
แต่ก็ไม่ควรให้มีสายไฟฟ้าหรือวัสดุใด
ๆ ที่ลุกติดไฟได้สัมผัสกับตัวแผ่น
plate
เรื่องนี้ต้องฝึกปฏิบัติให้เคยชิน
เพราะที่เคยประสบมานั้น
มีทั้งพบว่าวงจนในตัวเครื่องมีการต่อสายไฟสลับกัน
โดยเอาสายสำหรับควบคุมการปิด-เปิดขดลวดให้ความร้อนไปต่อเข้ากับสวิตช์ที่เป็นตัวเปิด-ปิดวงจรควบคุมการปั่นกวน
และเอาสายไฟสำหรับควบคุมการปั่นกวนไปต่อเข้ากับสวิตช์ที่บอกว่าเป็นตัวเปิด-ปิดวงจรขดลวดให้ความร้อน
(เครื่องส่งตรงมาจากโรงงาน
ตรวจพบระหว่างการตรวจสอบความเรียบร้อยของอุปกรณ์ในระหว่างการตรวจรับอุปกรณ์)
และก็เคยพบกรณีที่สวิตช์ควบคุมวงจรให้ความร้อนนั้นเสีย
คือมันเปิดค้างตลอดเวลา
หรือไม่ก็หลอดไฟที่แสดงว่าวงจรทำงานอยู่นั้นมันดับ
เรื่องแบบนี้ถ้าเป็นการกระทำของนิสิตที่ผมเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาเอา
เวลาเตือนเขา สอนเขา
เขาก็มักจะรับฟังด้วยดี
(ไม่รู้เป็นเพราะกลัวว่าจะไม่ได้สอบวิทยานิพนธ์หรือเปล่า)
แต่ถ้าเป็นนิสิตที่ผมไม่ได้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหรือกรรมการสอบ
เขาก็มักจะตอบกลับมาว่า
ก็ไม่เห็นจะเป็นไร
เพราะเขาไม่ได้เปิด Heater
ให้ความร้อนนี่นา
แล้วก็ทำสีหน้าไม่พอใจเดินจากไป
หรือถ้าเขานั่งอยู่ก็จะหันหลังให้
ทำเป็นไม่ได้ยินคำเตือน
ถ้าเป็นการทำการทดลองที่บ้านตัวเองหรือในสถานที่ที่คนอื่นจะไม่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุใด
ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้
มันก็เรื่องหนึ่ง
แต่นี่เป็นการทำการทดลองในห้องปฏิบัติการรวม
ที่มีใครต่อใครหลายคนใช้ห้องร่วมกัน
อุบัติเหตุที่เกิดจากความประมาท
สะเพร่า ฯลฯ ในการทำการทดลองของคนหนึ่ง
มันสามารถก่อความเสียหาย
(ได้ทั้งทรัพย์สินและร่างกาย)
ให้กับคนอื่นที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ได้
จึงไม่สามารถที่จะทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น