เนื้อหาในเอกสารฉบับนี้เป็นบันทึกโครมาโทแกรมที่ได้จากการปรับแต่งเครื่อง
GC
ด้วยการฉีดแก๊ส
CO2
100% ที่ปริมาตรต่าง
ๆ กัน ในระหว่างการทดสอบเครื่อง
Shimadzu
GC-8A ติดตั้งตัวตรวจวัดชนิด
TCD
(Thermal Conductivity Detector)
รูปที่
๒ ฉีดด้วยปริมาตร 40 ไมโครลิตร
ขณะนี้เราตั้งอัตราการไหลของ
He
ทั้งสองคอลัมน์ไว้ที่ประมาณ
30
ml/min (วัดที่อุณหภูมิห้อง
แต่ที่อุณหภูมิคอลัมน์สูงขึ้นอัตราการไหลจะตกลงเล็กน้อย)
อุณหภูมิของ
Injector/Detector
ตั้งไว้ที่
120ºC
ส่วนอุณหภูมิคอลัมน์ที่ตัวควบคุมตั้งไว้ที่
250ºC
แต่ที่อ่านจากมาตรวัดจะอยู่ที่ประมาณ
200-210ºC
Detector
current ที่ใช้ในขณะนี้คือ
100
mA โครมาโทแกรมที่แสดงตั้ง
attenuation
ไว้ที่
1
(คือไม่มีการลดทอนสัญญาณ)
ใช้เข็มฉีดแก๊สขนาด
100 ไมโครลิตร
ในการฉีดแก๊สตัวอย่าง
โครมาโทแกรมที่นำมาแสดงคือผลการวิเคราะห์ในช่วงเย็นวันวาน
(จันทร์
๑๔ กันยายน)
รูปที่
๑-๕
คือผลการวิเคราะห์ รูปที่
๖ เป็นกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรที่ฉีดกับพื้นที่พีค
และรูปที่ ๗ เป็นรูปของระบบท่อที่เราใช้ดึง
CO2
จากถังเก็บเพื่อเอามาฉีด
GC
รูปที่
๓ ฉีดด้วยปริมาตร 60 ไมโครลิตร
อนึ่งเมื่อบ่ายวันวานได้รับแจ้งว่า
GC
มีปัญหาคือปรับเส้น
base
line ไม่ได้
เมื่อไปตรวจสอบพบว่าสัญญาณไฟสีแดง
(ที่อยู่เหนือปุ่มเลื่อนเพื่อปรับค่า
detector
current) นั้นติดอยู่
แสดงว่ามีปัญหา current
overload เครื่องเลยตัดการทำงานของ
TCD
(ระบบป้องกันของเครื่อง)
สิ่งที่ได้ทำการแก้ไขคือ
"ปิด"
TCD ด้วยการลดกระแสลงเป็นศูนย์
และเปิดใหม่อีกครั้ง สัญญาณ
TCD
ก็กลับมาเหมือนเดิน
รูปที่
๖ Trend
line ที่ได้จากการนำเอาข้อมูลในรูปที่
๑-๕
มาเขียนกราฟ จะสังเกตเห็นว่าไม่ได้เข้าหาจุด
(0,0)
ดังนั้นจำเป็นต้องสร้าง
calibration
curve สำหรับการวัดที่ค่าความเข้มข้นต่ำให้ได้
(ในการทดสอบ
linearity
ของสัญญาณว่ามันครอบคลุมช่วงกว้างแค่ไหน
อย่าไปกำหนดให้เส้น trend
line ต้องผ่านจุด
(0,0)
นะ)
รูปที่
๗ ระบบท่อที่ใช้ในการดึงแก๊ส
CO2
จากถัง
ตำแหน่งดึง CO2
อยู่ในวงกลมสีแดง
ส่วนวาล์วข้างล่างมีไว้ไล่อากาศออกจากท่อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น